นักวิจัยศูนย์เกาหลีศึกษา

ศูนย์เกาหลีศึกษา

ด้วยสาธารณรัฐเกาหลีเป็นประเทศที่มีความสำคัญมายาวนาน ทั้งทางด้านความรู้วิทยาการ สังคมวัฒนธรรม เศรษฐกิจและการเมือง และในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาสาธารณรัฐเกาหลีได้ขยายอิทธิพลทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมไปทั่วทุกภูมิภาค และกำลังทวีความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การที่ประเทศไทยจะพัฒนาความร่วมมือใด ๆ กับสาธารณรัฐเกาหลี  จึงมีความจำเป็นที่จะต้องสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมของสาธารณรัฐเกาหลีอย่างลึกซึ้งและเป็นระบบ  

ศูนย์เกาหลีศึกษา (Korean Studies Center) ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีภารกิจด้านวิจัยและวิชาการ บุกเบิกและเผยแพร่องค์ความรู้ เชื่อมโยงความร่วมมือและสร้าง เครือข่ายวิจัยและวิชาการทั้งในระดับชาติและนานาชาติ มุ่งเป็นแหล่งข้อมูลเกาหลีศึกษาของประเทศไทย เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างสาธารณรัฐเกาหลีกับประเทศไทย รวมถึงกับประเทศอื่นในเอเชียและโลก

ที่ผ่านมาสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สนับสนุนการทำวิจัยด้านเกาหลีศึกษา และได้ดำเนินการบริหารเงินทุนสนับสนุนการวิจัยด้านเกาหลีศึกษาของศูนย์ส่งเสริมการวิจัยในภูมิภาคเอเชียเพื่อการศึกษาขั้นสูง (Asia Research Center) ได้แก่ ทุนวิจัยภายในประเทศ 1 ปี ทุนสนับสนุการตีพิมพ์ผลงานวิจัยการ ทุนวิจัยไปทำวิจัย ณ สาธารณรัฐ เกาหลี ระยะเวลา 6 เดือนหรือ 1 ปี ได้อย่างมีระบบก่อให้เกิดงานวิจัยด้านเกาหลีศึกษาในประเทศไทย ซึ่งเป็นรากฐานความมั่นคงในองค์ความรู้

อีกทั้ง ภายใต้การมุ่งเน้น ส่งเสริมและสนับสนุนทั้งงานวิจัยและงานวิชาการได้ในหลากหลายมิติของสถาบันเอเชียศึกษา ทำให้ขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการวิจัยและด้านวิชาการเกี่ยวกับเกาหลีศึกษาในประเทศไทยได้อย่างเป็นรูปธรรม อาทิ การจัดตั้งศูนย์เกาหลีศึกษาภายใต้สถาบันเอเชียศึกษา การร่วมพัฒนาและบริหารหลักสูตร ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเกาหลีศึกษา (หลักสูตรนานาชาติ/หลักสูตรสหสาขาวิชา) บัณฑิตวิทยาลัย และการต่อยอดความเชี่ยวชาญด้านเกาหลีศึกษาสู่สาธารณะ




พันธกิจ

ศูนย์เกาหลีศึกษา มีหน้าที่ในการวิจัยและวิชาการ บุกเบิกและเผยแพร่องค์ความรู้ เชื่อมโยงความร่วมมือและสร้างเครือข่ายวิจัยและวิชาการทั้งในระดับชาติและนานาชาติ  และเป็นแหล่งข้อมูลเกาหลีศึกษาของประเทศไทย เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างสาธารณรัฐเกาหลีกับประเทศไทย รวมถึงกับประเทศอื่นในเอเชียและโลก

ผศ.ดร.สุภาพร บุญรุ่ง ผู้อำนวยการศูนย์เกาหลีศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาฯ






ผศ. ดร.สุภาพร บุญรุ่ง

ตำแหน่งปัจจุบัน

ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมการวิจัยในภูมิภาคเอเชียของมูลนิธิเกาหลีเพื่อการศึกษาขั้นสูง

ความเชี่ยวชาญ

ไวยากรณ์ภาษาเกาหลี หลักภาษาเกาหลี วัจนกรรมในภาษาเกาหลี

หมายเลขโทรศัพท์

02-2184750

อีเมล

nid.supaporn@gmail.com

คุณวุฒิ
ชื่อสถานศึกษา

Ph.D. in Korean Studies (Teaching Korean as a Foreign Language)

มหาวิทยาลัยสตรีอีฮวา

M.A. in Korean Studies (Teaching Korean as a Foreign Language)

มหาวิทยาลัยสตรีอีฮวา

ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาเกาหลี (เกียรตินิยมอันดับสอง)

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รายการ
ปี

สุภาพร บุญรุ่งและอิสริยา พาที. 한국어 읽기 텍스트를 통한 한자어 교육 방안. หนังสือรวมบทความการประชุมวิชาการนานาชาติเกาหลีศึกษา-ไทยศึกษา.

2560

Supaporn Boonrung. “A Study on Grammatical Acquisition of Cause-Effect Connective Endings of Thai Learners of the Korean Language”. หนังสือรวมบทความการประชุมวิชาการนานาชาติเกาหลีศึกษา-ไทยศึกษา หัวข้อ “ไทย-เกาหลี พหุลักษณ์ทางวัฒนธรรมในบริบทสังคมดิจิทัล. 2562: 97-108.

2562

รายการ

Korean Education Center in Thailand. ภาษาเกาหลี 1. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น. 2560. (ผู้แต่งร่วม)

Korean Education Center in Thailand. ภาษาเกาหลี 2. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น. 2561. (ผู้แต่งร่วม)

Korean Education Center in Thailand. ภาษาเกาหลี 3. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น. 2561. (ผู้แต่งร่วม)

สุภาพร บุญรุ่ง และคณะ. ภาษาเกาหลี 1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2561.

Supaporn Boonrung. “สถานการณ์การเรียนการสอนภาษาเกาหลีและเกาหลีศึกษาในประเทศไทย (태국에서의 한국어와 한국학 교육 현황)”. หนังสือรวมบทความ International Conference on New Advancement in Korean Language and Culture Teaching in Vietnam. 2560.

สุภาพร บุญรุ่งและคณะ. 태국 중등 한국어교육의 현황 및 방향. The Society of Korean Language Education. 2561.

Supaporn Boonrung. “สถานการณ์การเรียนการสอนภาษาเกาหลีในประเทศไทย”. 17th The International Conference of Korean Educators Abroad. 2562

รายการ
ปี

พจนานุกรมภาษาเกาหลี-ไทย แบบออนไลน์. ผู้จัดทำร่วม. กรุงโซล: National Institute of Korean Language.

2558

พจนานุกรมเกาหลี-ไทย. ผู้แต่งร่วม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ภาษาและวัฒนธรรม

2558

ปทานุกรมคำกริยาไทย-เกาหลี. ผู้แต่งร่วม. กรุงโซล: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยฮันกุ๊กภาษาและกิจการต่างประเทศ

2559

พจนานุกรมคำกริยาเกาหลี-ไทย. ผู้แต่งร่วม. กรุงโซล: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยฮันกุ๊กภาษาและกิจการต่างประเทศ

2560

คู่มือครูภาษาเกาหลี 1. ผู้แต่งร่วม. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น. 2561. (ผู้แต่งร่วม)

2561

คู่มือครูภาษาเกาหลี 2. ผู้แต่งร่วม. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น. 2561. (ผู้แต่งร่วม)

2561

คู่มือครูภาษาเกาหลี 3. ผู้แต่งร่วม. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น. 2563. (ผู้แต่งร่วม)

2563

ที่ตั้งสถาบัน (ศูนย์เกาหลีศึกษา)

สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Institute of Asian Studies Chulalongkorn University)

อาคารเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา (อาคารจามจุรี 10) ชั้น 16 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กทม. 10330