นักวิจัยศูนย์วิจัยการย้ายถิ่นแห่งเอเชีย

ศูนย์วิจัยการย้ายถิ่นแห่งเอเชีย

ศูนย์วิจัยการย้ายถิ่นแห่งเอเชีย ได้รับการยอมรับทั้งในประเทศและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ให้เป็นศูนย์แห่งความเป็นเลิศทางวิชาการด้านสังคมศาสตร์ ในการดำเนินการวิจัยที่สนับสนุนให้เกิดแนวคิดเชิงนโยบายที่เชื่อมโยงกับสถานการณ์จริง โดยประสานกับหน่วยงานภาครัฐ องค์กรระหว่างประเทศ องค์กรภาคเอกชนที่ดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการย้ายถิ่น รวมทั้งจัดกิจกรรมทางวิชาการในลักษณะเครือข่ายความร่วมมือที่นำนักวิจัย นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญจากสหสาขาวิชาทั้งในประเทศและต่างประเทศ ร่วมมือกับองค์กร สถาบัน ผู้กำหนดนโยบายและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน เพื่อนำข้อค้นพบจากงานวิจัยอันเป็นประโยชน์ในการชี้นำเชิงนโยบาย และวางแนวทางปฏิบัติในการสร้างความเข้าใจเงื่อนไขและรูปแบบอันหลากหลายของผู้อพยพและผู้ลี้ภัย เพื่อป้องกันหรือหลีกเลี่ยงปัญหาผลกระทบที่เกิดขึ้นกับผู้อพยพย้ายถิ่น รวมทั้งการตระหนักถึงท่าทีขององค์กรระหว่างประเทศที่ให้ความสำคัญกับปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนและการคุ้มครองต่อผู้อพยพย้ายถิ่น

Websites About Us | mysite (wixsite.com)
facebook page https://www.facebook.com/ARCMChula

เป้าหมาย

  • เพื่อดำเนินงานศึกษาวิจัยและสร้างนวัตกรรม/องค์ความรู้ภายใต้ประเด็น “รูปแบบการย้ายถิ่นและงานในอนาคต” (Migration Patterns and Future Work) และร่วมผลักดันนโยบายสาธารณะในเรื่องการย้ายถิ่นในระดับชาติและระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
  • เพื่อสร้างภาคีเครือข่ายกับภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และภาควิชาการ ในการผลักดันนโยบายและการดำเนินงานเกี่ยวกับการย้ายถิ่นระหว่างประเทศ การย้ายถิ่นที่ปลอดภัย และการคุ้มครองแรงงานย้ายถิ่นตามแนวคิด Collaborative Democracy เพื่อการพัฒนาสังคมที่ยั่งยืนระดับชาติและระดับภูมิภาค ตลอดจนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals) ของสหประชาชาติ
  • เพื่อพัฒนานักวิจัยและนิสิตระดับบัณฑิตศึกษาให้เป็นผู้ชำนาญการในการค้นคว้าวิจัยและพัฒนาความรู้ ความเชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านการย้ายถิ่นระหว่างประเทศ สามารถเอื้อประโยชน์ต่อมหาวิทยาลัย วงวิชาการ และการพัฒนาสังคมอย่างสูงสุด

แผนที่นำทางของการดำเนินงาน (Road Map)

แผนการดำเนินงาน 5 ปีของศูนย์ฯ มุ่งเน้นการดำเนินโครงการวิจัยและเผยแพร่องค์ความรู้ในรูปแบบบทความวิชาการในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ รวมถึงการสร้างผลงานที่เป็นประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจ สังคม อุตสาหกรรม ต่อหน่วยงาน องค์กร และชุมชน ไปจนถึงระดับชาติ ภายใต้ประเด็น (theme) ที่เกี่ยวข้องกับการย้ายถิ่นและการพัฒนา 3 ประเด็น ประกอบด้วย

  • ประเด็นที่ 1: แรงงานย้ายถิ่น และผู้ย้ายถิ่น จำนวน 5 โครงการ
  • ประเด็นที่ 2: การค้ามนุษย์ จำนวน 2 โครงการ
  • ประเด็นที่ 3: ผู้ลี้ภัย/ผู้พลัดถิ่น จำนวน 2 โครงการ

รศ. ดร.นฤมล ทับจุมพล

ตำแหน่งปัจจุบัน

นักวิจัยอาวุโส

ความเชี่ยวชาญ

การโยกย้ายข้ามแดน, ความปลอดภัยของมนุษย์ของผู้ลี้ภัยและผู้อพยพ, การบังคับโยกย้ายถิ่นฐานและการค้ามนุษย์ทั้งในภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมในการศึกษาการย้ายถิ่น

หมายเลขโทรศัพท์

+66 (02) 218 7463

อีเมล

naruemon.t@chula.ac.th

คุณวุฒิ
ชื่อสถานศึกษา

ปริญญาเอก

University of Leeds

ปริญญาโท (การเมืองการปกครอง)

University of Leeds

ปริญญาตรี รัฐศาสตรบัณฑิต (การเมืองการปกครอง)

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

รายการ

“Contending Political Networks: A Study of the “Yellow Shirts” and “Red Shirts” in Thailand’s Politics” in Southeast Asian Studies,Vol 5 NO 1, 2016 – In Kyoto, Japan

“Social Welfare of Burmese Refugees and Human Security” in Asian Review Vol. 25, page 51-75, 2012

Naruemon Thabchumpon. 2012. Social welfare of Burmese refugees and human security. Asian Review 25: 73-90.

Naruemon Thabchumpon, and Carl Middleton. 2012. Thai foreign direct investment and human security implications : A case study of the xayaburi dam in Lao PDR. Asian Review 25: 91-118.

Naruemon Thabchumpon, and Narumon Arunotai. 2017. "Living with against floods in Bangkok and Thailand's central plain.". In Living with floods in a mobile Southeast Asia: A political ecology of vulnerability, migration and environmental change, Carl Middleton, Rebecca Elmhirst, and Supang Chantavanich, eds. [89]-104. Oxford : Routledge. (ร 9 1632)

เที่ยวเมืองทวาย Wandering in Dawei, นฤมล ทับจุมพล. กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557

Naruemon Thabchumpon, Bea Moraras, and Jiraporn Laocharoenwong. 2014. Introduction. In Temporary Shelters and Surrounding Communities : Livelihood Opportunities, the Labour Market, Social Welfare and Social Security, Yongyuth Chalamwong, Naruemon Thabchumpon and Supang Chantavanich, eds. 1st ed. Cham : Springer

Naruemon Thabchumpon, Bea Moraras, and Jiraporn Laocharoenwong. 2014. Conceptual framework. In Temporary Shelters and Surrounding Communities : Livelihood Opportunities, the Labour Market, Social Welfare and Social Security, Yongyuth Chalamwong, Naruemon Thabchumpon and Supang Chantavanich, eds. 1st ed. Cham : Springer

Naruemon Thabchumpon. 2012. Critical connections :|bhuman rights, human development and human security. 1st ed. Bangkok : Chulalongkorn University.

Naruemon Thabchumpon. 2007. Notions of human rights in the Thai context : Rhetoric or substance on "Asian values", Asian values versus universal human rights revisited. New York : Palgrave Macmillan, Forthcoming.

Naruemon Thabchumpon. 2007. The political struggles of the student movement in Thai democratic process, Southeast Asian student movements. 1st ed. Manila : Ateneo de Manila University Press.

ที่ตั้งสถาบัน (ศูนย์วิจัยการย้ายถิ่นแห่งเอเชีย)

สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Institute of Asian Studies Chulalongkorn University)

อาคารประชาธิปก-รำไพพรรณี ชั้น 7 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330