นักวิจัยศูนย์วิจัยการย้ายถิ่นแห่งเอเชีย

ศูนย์วิจัยการย้ายถิ่นแห่งเอเชีย

ศูนย์วิจัยการย้ายถิ่นแห่งเอเชีย ได้รับการยอมรับทั้งในประเทศและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ให้เป็นศูนย์แห่งความเป็นเลิศทางวิชาการด้านสังคมศาสตร์ ในการดำเนินการวิจัยที่สนับสนุนให้เกิดแนวคิดเชิงนโยบายที่เชื่อมโยงกับสถานการณ์จริง โดยประสานกับหน่วยงานภาครัฐ องค์กรระหว่างประเทศ องค์กรภาคเอกชนที่ดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการย้ายถิ่น รวมทั้งจัดกิจกรรมทางวิชาการในลักษณะเครือข่ายความร่วมมือที่นำนักวิจัย นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญจากสหสาขาวิชาทั้งในประเทศและต่างประเทศ ร่วมมือกับองค์กร สถาบัน ผู้กำหนดนโยบายและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน เพื่อนำข้อค้นพบจากงานวิจัยอันเป็นประโยชน์ในการชี้นำเชิงนโยบาย และวางแนวทางปฏิบัติในการสร้างความเข้าใจเงื่อนไขและรูปแบบอันหลากหลายของผู้อพยพและผู้ลี้ภัย เพื่อป้องกันหรือหลีกเลี่ยงปัญหาผลกระทบที่เกิดขึ้นกับผู้อพยพย้ายถิ่น รวมทั้งการตระหนักถึงท่าทีขององค์กรระหว่างประเทศที่ให้ความสำคัญกับปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนและการคุ้มครองต่อผู้อพยพย้ายถิ่น

Websites About Us | mysite (wixsite.com)
facebook page https://www.facebook.com/ARCMChula

เป้าหมาย

  • เพื่อดำเนินงานศึกษาวิจัยและสร้างนวัตกรรม/องค์ความรู้ภายใต้ประเด็น “รูปแบบการย้ายถิ่นและงานในอนาคต” (Migration Patterns and Future Work) และร่วมผลักดันนโยบายสาธารณะในเรื่องการย้ายถิ่นในระดับชาติและระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
  • เพื่อสร้างภาคีเครือข่ายกับภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และภาควิชาการ ในการผลักดันนโยบายและการดำเนินงานเกี่ยวกับการย้ายถิ่นระหว่างประเทศ การย้ายถิ่นที่ปลอดภัย และการคุ้มครองแรงงานย้ายถิ่นตามแนวคิด Collaborative Democracy เพื่อการพัฒนาสังคมที่ยั่งยืนระดับชาติและระดับภูมิภาค ตลอดจนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals) ของสหประชาชาติ
  • เพื่อพัฒนานักวิจัยและนิสิตระดับบัณฑิตศึกษาให้เป็นผู้ชำนาญการในการค้นคว้าวิจัยและพัฒนาความรู้ ความเชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านการย้ายถิ่นระหว่างประเทศ สามารถเอื้อประโยชน์ต่อมหาวิทยาลัย วงวิชาการ และการพัฒนาสังคมอย่างสูงสุด

แผนที่นำทางของการดำเนินงาน (Road Map)

แผนการดำเนินงาน 5 ปีของศูนย์ฯ มุ่งเน้นการดำเนินโครงการวิจัยและเผยแพร่องค์ความรู้ในรูปแบบบทความวิชาการในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ รวมถึงการสร้างผลงานที่เป็นประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจ สังคม อุตสาหกรรม ต่อหน่วยงาน องค์กร และชุมชน ไปจนถึงระดับชาติ ภายใต้ประเด็น (theme) ที่เกี่ยวข้องกับการย้ายถิ่นและการพัฒนา 3 ประเด็น ประกอบด้วย

  • ประเด็นที่ 1: แรงงานย้ายถิ่น และผู้ย้ายถิ่น จำนวน 5 โครงการ
  • ประเด็นที่ 2: การค้ามนุษย์ จำนวน 2 โครงการ
  • ประเด็นที่ 3: ผู้ลี้ภัย/ผู้พลัดถิ่น จำนวน 2 โครงการ

ดร.รัชดา ไชยคุปต์

ตำแหน่งปัจจุบัน

ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยการย้ายถิ่นแห่งเอเชีย

ความเชี่ยวชาญ

เป็นอาจารย์และนักวิจัยอาวุโส แห่งศูนย์วิจัยการย้ายถิ่นแห่งเอเชีย สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และดำรงตำแหน่งผู้แทนไทยในคณะกรรมาธิการอาเซียนว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิสตรีและสิทธิเด็ก ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิสตรี มีความเชี่ยวชาญพิเศษในประเด็น การย้ายถิ่น ทั้งประเด็นการย้ายถิ่นแบบสมัครใจและถูกบังคับ ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับแรงงานสตรี แรงงานข้ามชาติ แรงงานบังคับ การลักลอบขนคนเข้าเมือง การค้ามนุษย์ ทาสในยุคปัจจุบัน บุคคลไร้รัฐ การส่งเสริมสตรีในการมีส่วนร่วมทางการเมืองและการตัดสินใจ รวมถึงการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิสตรีและเด็กหญิง

หมายเลขโทรศัพท์

+66 (02) 218 7231

อีเมล

ratchada.ja@chula.ac.th

คุณวุฒิ
ชื่อสถานศึกษา

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหาร การพัฒนา (ภาคนานาชาติ)

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ประเทศไทย

ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขา พัฒนานโยบายและรัฐ ประศาสนศาสตร์

มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน ณ เมือง แมดิสัน ประเทศสหรัฐอเมริกา

บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (การบริหาร)

เอ็ดวูด คอลเลจ เมืองแมดิสัน ประเทศ สหรัฐอเมริกา

รายการ

Supang Chantavanich and Ratchada Jayagupta. A Chapter on Immigration to Thailand;“Immigration to Thailand: The Case of Migrant Workers from Myanmar, Laos, and Cambodia” in Uma A. Segaal Doreen Elliott, and Nazneen S. Maydas (eds.) Immigration Worldwide: Policies, Practices, and Trends, Oxford University Press, 2010.

Jayagupta, Ratchada. 2009. The Thai Government’s Repatriation and Reintegration Programmes: Responding to Trafficked Female Commercial Sex Workers from the Greater Mekong Sub-region; published by Blackwell Publishing Ltd., Journal Compilation 2009. 3.2.3

With Professor Dr. Supang Chantavanich, a chapter on “Management Policy on foreign migrant worker in Thailand: นโยบายและการจัดการแรงงานต่างชาติใน ประเทศไทย” – Thai version, in “Promoting awareness on foreign migrant worker’s rights protection: การสร้างความตระหนักในการคุ้มครองสิทธิแรงงานต่าง ด้าว” in collaboration among Ministry of Labor, International Organization for Migration (IOM), The National Human Rights Commission, and Asian Research Center for Migration (ARCM) at the Institute of Asian Studies, Chulalongkorn University

รัชดา ไชยคุปต์. แนวปฏิบัติที่มีความละเอียดอ่อนเชิงเพศภาวะสำหรับการดูแลสตรีที่เป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์. (2019)

Member of the Research Team: Thai Team and Laos Team on “Cross Border Migration between Thailand and Lao PDR: A Qualitative Assessment of Lao Migration and Its Contribution to HIV vulnerability”: 2005. ISBN: 974- 9942-72-8.

ที่ตั้งสถาบัน (ศูนย์วิจัยการย้ายถิ่นแห่งเอเชีย)

สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Institute of Asian Studies Chulalongkorn University)

อาคารประชาธิปก-รำไพพรรณี ชั้น 7 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330