นักวิจัยศูนย์วิจัยการย้ายถิ่นแห่งเอเชีย

ศูนย์วิจัยการย้ายถิ่นแห่งเอเชีย

ศูนย์วิจัยการย้ายถิ่นแห่งเอเชีย ได้รับการยอมรับทั้งในประเทศและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ให้เป็นศูนย์แห่งความเป็นเลิศทางวิชาการด้านสังคมศาสตร์ ในการดำเนินการวิจัยที่สนับสนุนให้เกิดแนวคิดเชิงนโยบายที่เชื่อมโยงกับสถานการณ์จริง โดยประสานกับหน่วยงานภาครัฐ องค์กรระหว่างประเทศ องค์กรภาคเอกชนที่ดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการย้ายถิ่น รวมทั้งจัดกิจกรรมทางวิชาการในลักษณะเครือข่ายความร่วมมือที่นำนักวิจัย นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญจากสหสาขาวิชาทั้งในประเทศและต่างประเทศ ร่วมมือกับองค์กร สถาบัน ผู้กำหนดนโยบายและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน เพื่อนำข้อค้นพบจากงานวิจัยอันเป็นประโยชน์ในการชี้นำเชิงนโยบาย และวางแนวทางปฏิบัติในการสร้างความเข้าใจเงื่อนไขและรูปแบบอันหลากหลายของผู้อพยพและผู้ลี้ภัย เพื่อป้องกันหรือหลีกเลี่ยงปัญหาผลกระทบที่เกิดขึ้นกับผู้อพยพย้ายถิ่น รวมทั้งการตระหนักถึงท่าทีขององค์กรระหว่างประเทศที่ให้ความสำคัญกับปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนและการคุ้มครองต่อผู้อพยพย้ายถิ่น

Websites About Us | mysite (wixsite.com)
facebook page https://www.facebook.com/ARCMChula

เป้าหมาย

  • เพื่อดำเนินงานศึกษาวิจัยและสร้างนวัตกรรม/องค์ความรู้ภายใต้ประเด็น “รูปแบบการย้ายถิ่นและงานในอนาคต” (Migration Patterns and Future Work) และร่วมผลักดันนโยบายสาธารณะในเรื่องการย้ายถิ่นในระดับชาติและระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
  • เพื่อสร้างภาคีเครือข่ายกับภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และภาควิชาการ ในการผลักดันนโยบายและการดำเนินงานเกี่ยวกับการย้ายถิ่นระหว่างประเทศ การย้ายถิ่นที่ปลอดภัย และการคุ้มครองแรงงานย้ายถิ่นตามแนวคิด Collaborative Democracy เพื่อการพัฒนาสังคมที่ยั่งยืนระดับชาติและระดับภูมิภาค ตลอดจนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals) ของสหประชาชาติ
  • เพื่อพัฒนานักวิจัยและนิสิตระดับบัณฑิตศึกษาให้เป็นผู้ชำนาญการในการค้นคว้าวิจัยและพัฒนาความรู้ ความเชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านการย้ายถิ่นระหว่างประเทศ สามารถเอื้อประโยชน์ต่อมหาวิทยาลัย วงวิชาการ และการพัฒนาสังคมอย่างสูงสุด

แผนที่นำทางของการดำเนินงาน (Road Map)

แผนการดำเนินงาน 5 ปีของศูนย์ฯ มุ่งเน้นการดำเนินโครงการวิจัยและเผยแพร่องค์ความรู้ในรูปแบบบทความวิชาการในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ รวมถึงการสร้างผลงานที่เป็นประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจ สังคม อุตสาหกรรม ต่อหน่วยงาน องค์กร และชุมชน ไปจนถึงระดับชาติ ภายใต้ประเด็น (theme) ที่เกี่ยวข้องกับการย้ายถิ่นและการพัฒนา 3 ประเด็น ประกอบด้วย

  • ประเด็นที่ 1: แรงงานย้ายถิ่น และผู้ย้ายถิ่น จำนวน 5 โครงการ
  • ประเด็นที่ 2: การค้ามนุษย์ จำนวน 2 โครงการ
  • ประเด็นที่ 3: ผู้ลี้ภัย/ผู้พลัดถิ่น จำนวน 2 โครงการ

ดร.อังคณา กมลเพ็ชร์

ตำแหน่งปัจจุบัน

นักวิจัยพันธมิตร

ความเชี่ยวชาญ

การย้ายถิ่นข้ามพรมแดน / แรงงานฝีมือ/ การบังคับโยกย้าย / ผู้ลี้ภัย / การค้ามนุษย์ / ห่วงโซ่อุปทาน

หมายเลขโทรศัพท์

+66 (02) 218 7233

อีเมล

aungkana.k@chula.ac.th

คุณวุฒิ
ชื่อสถานศึกษา

ลงทะเบียนเรียนรายวิชาในหลักสูตรปริญญาเอก

Center for Southeast Asian Studies, University of Hull, UK

ปริญญาเอก สาขาวิชาไทยศึกษานานาชาติ (International Thai Studies Programme)

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ปริญญาโท สาขาวิชาวรรณคดีเปรียบเทียบ

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ปริญญาตรี สาขาวิชา ภาษาอังกฤษ

มหาวิทยาลัยศิลปากร

รายการ

Article on ‘Prevailing Constraints in Durable Solutions for Refugees in Displacement Along Thai-Myanmar Border’, published in Rien Thai Journal of Thai Studies Center in 2016.

Vision of Bangkok: Safety City From Human Trafficking. 2016.

Article on ‘Issues in the Thai Government’s Policies on the Repatriation of Refugees’, published in Asian Review, vol. 28 no. 1, 2015.

Thai Immigration Policy in the Revision of the National Council for Peace and Order (NCPO). 2014

International Humanitarian Agencies’ Roles in Advocating Refugee Protection and Solutions: The Case of Displaced Persons from Myanmar in Thailand. 2014

Good Labour Practices for Migrant Workers: Preferential Condition to Thailand’s Seafood Industry

‘Refugee and Return: Displacement Along Thai-Myanmar Border’ Asian Research Center for Migration (ARCM), Institute of Asian Studies, Chulalongkorn University, 2016

Aungkana Kmonpetch et al., Good Labour Practices for Migrant Workers in Seafood Industry. (2012), published by Ministry of Foreign Affairs, Bangkok

Ben Harkin; Aungkana Kmonpetch, and Navita Direkwuta. 2013. Resettlement of Displaced Persons on the Thai-Myanmar Border. Edited by Ben Harkin and Supang Chantavanich. In SpringerBriefs in Environment, Security, Development and Peace, Vol. 18 Migration Studies Subseries. Published by Springers.

ที่ตั้งสถาบัน (ศูนย์วิจัยการย้ายถิ่นแห่งเอเชีย)

สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Institute of Asian Studies Chulalongkorn University)

อาคารประชาธิปก-รำไพพรรณี ชั้น 7 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330