นักวิจัยศูนย์วิจัยการย้ายถิ่นแห่งเอเชีย

ศูนย์วิจัยการย้ายถิ่นแห่งเอเชีย

ศูนย์วิจัยการย้ายถิ่นแห่งเอเชีย ได้รับการยอมรับทั้งในประเทศและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ให้เป็นศูนย์แห่งความเป็นเลิศทางวิชาการด้านสังคมศาสตร์ ในการดำเนินการวิจัยที่สนับสนุนให้เกิดแนวคิดเชิงนโยบายที่เชื่อมโยงกับสถานการณ์จริง โดยประสานกับหน่วยงานภาครัฐ องค์กรระหว่างประเทศ องค์กรภาคเอกชนที่ดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการย้ายถิ่น รวมทั้งจัดกิจกรรมทางวิชาการในลักษณะเครือข่ายความร่วมมือที่นำนักวิจัย นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญจากสหสาขาวิชาทั้งในประเทศและต่างประเทศ ร่วมมือกับองค์กร สถาบัน ผู้กำหนดนโยบายและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน เพื่อนำข้อค้นพบจากงานวิจัยอันเป็นประโยชน์ในการชี้นำเชิงนโยบาย และวางแนวทางปฏิบัติในการสร้างความเข้าใจเงื่อนไขและรูปแบบอันหลากหลายของผู้อพยพและผู้ลี้ภัย เพื่อป้องกันหรือหลีกเลี่ยงปัญหาผลกระทบที่เกิดขึ้นกับผู้อพยพย้ายถิ่น รวมทั้งการตระหนักถึงท่าทีขององค์กรระหว่างประเทศที่ให้ความสำคัญกับปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนและการคุ้มครองต่อผู้อพยพย้ายถิ่น

Websites About Us | mysite (wixsite.com)
facebook page https://www.facebook.com/ARCMChula

เป้าหมาย

  • เพื่อดำเนินงานศึกษาวิจัยและสร้างนวัตกรรม/องค์ความรู้ภายใต้ประเด็น “รูปแบบการย้ายถิ่นและงานในอนาคต” (Migration Patterns and Future Work) และร่วมผลักดันนโยบายสาธารณะในเรื่องการย้ายถิ่นในระดับชาติและระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
  • เพื่อสร้างภาคีเครือข่ายกับภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และภาควิชาการ ในการผลักดันนโยบายและการดำเนินงานเกี่ยวกับการย้ายถิ่นระหว่างประเทศ การย้ายถิ่นที่ปลอดภัย และการคุ้มครองแรงงานย้ายถิ่นตามแนวคิด Collaborative Democracy เพื่อการพัฒนาสังคมที่ยั่งยืนระดับชาติและระดับภูมิภาค ตลอดจนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals) ของสหประชาชาติ
  • เพื่อพัฒนานักวิจัยและนิสิตระดับบัณฑิตศึกษาให้เป็นผู้ชำนาญการในการค้นคว้าวิจัยและพัฒนาความรู้ ความเชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านการย้ายถิ่นระหว่างประเทศ สามารถเอื้อประโยชน์ต่อมหาวิทยาลัย วงวิชาการ และการพัฒนาสังคมอย่างสูงสุด

แผนที่นำทางของการดำเนินงาน (Road Map)

แผนการดำเนินงาน 5 ปีของศูนย์ฯ มุ่งเน้นการดำเนินโครงการวิจัยและเผยแพร่องค์ความรู้ในรูปแบบบทความวิชาการในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ รวมถึงการสร้างผลงานที่เป็นประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจ สังคม อุตสาหกรรม ต่อหน่วยงาน องค์กร และชุมชน ไปจนถึงระดับชาติ ภายใต้ประเด็น (theme) ที่เกี่ยวข้องกับการย้ายถิ่นและการพัฒนา 3 ประเด็น ประกอบด้วย

  • ประเด็นที่ 1: แรงงานย้ายถิ่น และผู้ย้ายถิ่น จำนวน 5 โครงการ
  • ประเด็นที่ 2: การค้ามนุษย์ จำนวน 2 โครงการ
  • ประเด็นที่ 3: ผู้ลี้ภัย/ผู้พลัดถิ่น จำนวน 2 โครงการ

ศ. ดร.สุภางค์ จันทวานิช

ตำแหน่งปัจจุบัน

นักวิจัยอาวุโส

ความเชี่ยวชาญ

ประเด็นที่น่าสนใจ / การย้ายถิ่นระหว่างประเทศ ผู้ลี้ภัยและผู้พลัดถิ่น IDP การคุ้มครองสิทธิแรงงานข้ามชาติ การค้ามนุษย์ และการลักลอบค้ามนุษย์

หมายเลขโทรศัพท์

+66 2 218 7462

อีเมล

supang.c@chula.ac.th

คุณวุฒิ
ชื่อสถานศึกษา

ปริญญาเอก Docteur ès Sociologie (Mention Très bien)

Université de Grenoble II ประเทศฝรั่งเศส

ปริญญาโท Maîtrise en Sociologie

Université de Grenoble II ประเทศฝรั่งเศส

ปริญญาตรี อักษรศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยม)

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รายการ

Chantavanich, S. 2020. "Thailand's Challenges in Implementing Anti-trafficking Legislation: The Case of the Rohingya". Palermo at 20: A Retrospective and Prospective. Special issue of the Journal of Human Trafficking.

Ivanoff , Chantavanich and Boutry 2017 “Adaptations et Resiliences des Pratiques Esclavagistes en Thailande et en Birmanie” Anthropologie et Societes. No.41-1, Volume 41, No.1, 2017

Quet, Pordie, Bouchaton, Chantavanich, Kiatying-Augsuสe, Lamy and Vungsiripaisal.2017 “Regulation Multiple. Pharmaceutical Trajectories and Modes of Control in the ASEAN” Science, Technology and Society. Volume 22 issue 2, 2017

สุภางค์ จันทวานิช. 2018. วารสารไทยศึกษา เขียนเรื่อง รัชสมัยแห่งการสร้างทุนมนุษย์: พระราชกุศโลบายของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในการส่งพระราชโอรสไปศึกษาต่อยุโรป. 2561 (Page1-28)

Chantavanich, S. 2020. Thailand- Myanmar International Migration Corridor: from battlefield to marketplace. Routledge Handbook of Migration and Development, Tanja Bastia and Ron Skeldon (eds.) p.441-449.=

Supang Chantavanich. 2019. People Mobility and Accumulation on Prachuab-Myiek Corridor in the Context of ASEAN Connectivity. (Chapter 1 and Chapter 7)

สุภางค์ จันทวานิช. 2019. "แรงงานย้ายถิ่นข้ามชาติและทิศทางนโยบายของประเทศไทย, น.218-247" ในหนังสือ ประเทศไทยในความคิดของเมธีวิจัยอาวุโส (เล่ม 2)

Elmhirst, R., Middleton, C. and Chantavanich (2018). Migration and Floods in Southeast Asia: a mobile political ecology of vulnerability, capability, resilience and social justice. (pp 1-21)

Supang Chanthawanich and Angkana Kaewkoonkit. 2018. “Rohinghya in Thailand: Existing social protection in dynamic Circumstances” (Page5-24) (ASIAN REVIEW 2018 Vol.31, No.1,2018 Migration and the challenges of social inclusion and integration

Louis Lebel, Supang Chantavanich and Werasit Sittitrai “Floods and migrants: synthesis and implications for policy” in LIVING WITH FLOODS IN A MOBILE SOUTHEAST ASIA: A Political Ecology of Vulnerability, Migration and Environmental Change. 2018.

สุภางค์ จันทวานิช, ชาดา เตรียมวิทยา. 2020. ชุมชนชาวจีนในกรุงเทพฯ และปรากฏการณ์ย้ายถิ่น. ศูนย์วิจัยการย้ายถิ่นแห่งเอเชีย สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Middleton, C., Elmhirst, R., and Chantavanich, S. (eds) (2018)., Living with Floods in a Mobile Southeast Asia: A Political Ecology of Vulnerability, Migration and Environmental Change.

Chantavanich and Kamonpetch (eds) 2017 Refugee and Return: Displacement Along the Thai-Myanmar Border, Springer Briefs in Environment, Security, Development and Peace. Migration Studies Volume.28 Springer.

Supang Chantavanich, Pedermsak Jarayabhand, Charit Tingsabadh, Werasit Sittitrai, Podsakorn Yothinneeranath, Pajongruk Kuikaew, Pairin Makcharoen, Krongthum Neelapaichit. 2017. The Report of Policy Development on the Problems of Illegal, Unreported and Unregulated Fishing, Forced Labour and Human Trafficking in Sea Fisheries in 2016 (English and Thai)

สุภางค์ จันทวานิช, สมาน เหล่าดำรงชัย, วรัญญา จิตรผ่อง, พศกร โยธินนีรนาท, Benjamin Harkins, Max Tunon, Anna Olson. 2016. การศึกษาสภาพการจ้างงานและการทำงานในภาคการประมงทะเลของไทย “การกระทำไตรภาคีเพื่อปกป้องสิทธิของแรงงานข้ามชาติทั้งภายในและจากอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง(GMS โครงการสามเหลี่ยม)” ศุนย์วิจัยการย้ายถิ่นแห่งเอเชีย สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ที่ตั้งสถาบัน (ศูนย์วิจัยการย้ายถิ่นแห่งเอเชีย)

สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Institute of Asian Studies Chulalongkorn University)

อาคารประชาธิปก-รำไพพรรณี ชั้น 7 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330