กิจกรรมของศูนย์จีนศึกษา

ศูนย์จีนศึกษา

การศึกษาวิจัย และเผยแพร่ความรู้เรื่องจีน เริ่มที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ พร้อมกับกระแสการส่งเสริมเอเชียศึกษาทั่วโลก อันเป็นผลมาจากการที่จีนเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบบคอมมิวนิสต์ การเกิดสงครามเกาหลีและสงครามอินโดจีน ในปีพ.ศ.2510 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ได้ก่อตั้งสถาบันเอเชียศึกษาอย่างไม่เป็นทางการ โดยทำการสอน วิจัย และเผยแพร่เรื่องจีนเป็นกิจกรรมสำคัญ ภายหลังไทย-จีนได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกันแล้ว และสถาบันเอเชียศึกษาได้รับการสถาปนาอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2528 และกิจกรรมเรื่องจีนศึกษามีมากขึ้น ในปีพ.ศ.2538 ซึ่งเป็นวโรกาสที่ไทย-จีนสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตครบรอบ 20 ปี สถาบันเอเชียศึกษา จึงได้ก่อตั้งศูนย์จีนศึกษาขึ้น เพื่อการทำวิจัยในลักษณะที่เป็นสหสาขาวิชา คือ ครอบคลุมความรู้ในหลายด้านที่เกี่ยวกับจีน ได้แก่ การเมือง การปกครอง ความมั่นคง เศรษฐกิจ การค้า การลงทุน สังคม วัฒนธรรมและภาษา รวมทั้งความรู้ในส่วนที่เกี่ยวกับชาวจีนโพ้นทะเล โดยมุ่งหวังเพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างไทยกับจีน เพื่อสร้างฐานข้อมูลและองค์ความรู้เรื่องจีนศึกษาที่มีคุณภาพ เป็นบริการให้แก่หน่วยงานภาครัฐและเอกชนในการดำเนินความสัมพันธ์กับจีนในระดับต่างๆ และเพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนทางวิชาการเรื่องจีนศึกษากับนักวิชาการเรื่องจีนศึกษาทั่วโลก


Websites http://www.csc.ias.chula.ac.th 
facebook page ศูนย์จีนศึกษา จุฬาฯ Chinese Studies Center, CU | Facebook


ช่องทางการรับชมและติดตามผลงานของศูนย์จีนศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาฯ ซึ่งได้มีการรวบรวมไว้ในรูปแบบของ Podcast จีนศึกษา
soundcloud https://bit.ly/3vzdVkG
apple podcast https://apple.co/2P2KMxg
Spotify https://spoti.fi/38RJj43
youtube https://bit.ly/3rVKGGB

เสวนาวิชาการ

China Shock เศรษฐกิจการเมืองจีนในยุคผันผวน: ความท้าทายต่อไทยและโลก

วิกฤตเศรษฐกิจจีนเป็นเพียง ‘แผลถลอก’ ระยะสั้นตามวงจรเศรษฐกิจขึ้นลง หรือเป็น ‘แผลเป็น’ บาดลึกจากปัญหาเชิงโครงสร้างที่ทำเศรษฐกิจซึมยาว? โลกได้รับผลกระทบอย่างไรบ้าง? แล้วไทยควรก้าวอย่างไรบนความผันผวนนี้?.ศูนย์จีนศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับสำนักพิมพ์ Bookscape จัดงานเสวนาทางวิชาการ.

ในหัวข้อ “China Shock เศรษฐกิจการเมืองจีนในยุคผันผวน: ความท้าทายต่อไทยและโลก”

ร่วมสนทนาโดย
– อาชนัน เกาะไพบูลย์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
– ดุลยภาค ปรีชารัชช โครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
– ภัณฑิล จงจิตรตระกูล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพาณิชย์ พรรคเพื่อไทย
– ปารเมศ วิทยารักษ์สรรค์ ส.ส.กรุงเทพมหานคร พรรคก้าวไกล
– อาร์ม ตั้งนิรันดร คณะนิติศาสตร์และศูนย์จีนศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เขียนหนังสือ China Shock.ดำเนินรายการโดย ณัฏฐา โกมลวาทิน The Standard.

กล่าวเปิดงานโดย
– ภาวิกา ศรีรัตนบัลล์ ผู้อำนวยการสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาฯ
– ปารีณา ศรีวนิชย์ คณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ.


ที่ CU Social Innovation Hub (ระหว่างอาคารคณะรัฐศาสตร์กับอาคารประชาธิปก-รำไพพรรณี)
วันศุกร์ที่ 7 มิถุนายน 2567
เวลา 13.00-16.00 น.
(เปิดลงทะเบียน 13.00 น. เริ่มเสวนา 13.15 น.).

หรือรับชม LIVE ได้ทางเพจ Faculty of Law, Chulalongkorn University / ศูนย์จีนศึกษา จุฬาฯ Chinese Studies Center, CU / bookscape



รายละเอียด

วันที่

7 มิถุนายน 2567

เวลา

13:00 - 16:00

สถานที่

CU Social Innovation Hub

ที่ตั้งสถาบัน (ศูนย์จีนศึกษา)

สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Institute of Asian Studies Chulalongkorn University)

อาคารประชาธิปก-รำไพพรรณี ชั้น 7 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330