นักวิจัยศูนย์ญี่ปุ่น-อาเซียนศึกษา

facebook page JapanAsean Chula | Facebook

ศูนย์ญี่ปุ่น-อาเซียนศึกษา

ในปี 2018 โครงการญี่ปุ่นศึกษาได้รับการยกระดับขึ้นเป็นศูนย์ญี่ปุ่น-อาเซียนศึกษา เพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์ที่ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับญี่ปุ่นมีความเชื่อมโยงกับการเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน และสถานการณ์ที่ประเด็นปัญหาของสังคมมีความซับซ้อนมากขึ้น ทั้งในแง่ความซับซ้อนของปัญหา และความซับซ้อนของภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งระหว่างภาคีในประเทศและระหว่างประเทศ การรับมือกับประเด็นทางสังคมและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่มีมิติที่ซับซ้อนนี้ ต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจที่กว้างขวางกว่าความสัมพันธ์ระดับทวิภาคี   

ศูนย์ญี่ปุ่น-อาเซียนศึกษา มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาวิจัยในมิติต่างๆของความสัมพันธ์ระหว่างญี่ปุ่นกับอาเซียน สร้างเครือข่ายนักวิชาการและผู้สนใจทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ เผยแพร่ความรู้และผลงานวิจัยให้แก่สถาบันการศึกษา หน่วยงานราชการและเอกชน ในรูปแบบต่างๆ เช่น การสอน การจัดประชุม สัมมนา ผ่านทางสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อออนไลน์ เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีและเพื่อประโยชน์ของความร่วมมือกันต่อไป

ดร.สุภาค์พรรณ ตั้งตรงไพโรจน์

ตำแหน่งปัจจุบัน

นักวิจัย

ความเชี่ยวชาญ

อาเซียนศึกษา ความมั่นคงศึกษา สังคมพหุวัฒนธรรมในเอเชีย

หมายเลขโทรศัพท์

+66 2 218 7238

อีเมล

supaphan.t@alumni.chula.ac.th

คุณวุฒิ
ชื่อสถานศึกษา

ดุษฎีบัณฑิต สาขาพัฒนศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รัฐศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รัฐศาสตรบัณฑิต ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รายการ
ปี

อาเซียนกับภัยคุกคามด้านความมั่นคงรูปแบบใหม่: พัฒนาการและความท้าทาย

2559

การบริหารจัดการชายแดนหลังการรวมตัวเป็นประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนอย่างสมบูรณ์ : ศึกษากรณีกลุ่มจังหวัดนครชัยบุรินทร์ (นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ สุรินทร์)

2561

รายการ

“ปัจจัยแห่งความสำเร็จต่อภูมิปัญญาการทำขนมผูกรัก เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ของคนในชุมชนพหุวัฒนธรรมบ้านเจ๊ะบิลัง จังหวัดสตูล”, เอเชียปริทัศน์. มกราคม – มิถุนายน 2563. ปีที่ 41 (1) หน้าที่ -. (ผู้เขียนร่วม อัครกิตติ์ สินธุวงศ์ศรี)

“การเมืองกับนโยบายการศึกษา: กรณีแผนยุทธศาสตร์ปฏิรูปการศึกษาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อสร้างสันติสุข ปี พ.ศ. 2548 – 2551”, เอเชียปริทัศน์. กรกฏาคม - ธันวาคม 2561. ปีที่ 39 (2) หน้าที่ 135-163.

“ปัญหาของระบบการศึกษาไทยกับการพัฒนาประเทศ”. เอเชียปริทัศน์. กรกฏาคม - ธันวาคม 2559. ปีที่ 37 (2) หน้าที่ 137-158.

“อาเซียนกับภัยคุกคามด้านความมั่นคงรูปแบบใหม่ : พัฒนาการและความท้าทาย”. เอเชียปริทัศน์. กรกฏาคม – ธันวาคม 2558. ปีที่ 36 (2) หน้าที่ 95-121.

รายการ
ปี

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

2562

ที่ตั้งสถาบัน (ศูนย์ญี่ปุ่น-อาเชียนศึกษา)

สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Institute of Asian Studies Chulalongkorn University)

อาคารประชาธิปก-รำไพพรรณี ชั้น 7 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

02-218-7464

02-255-1124