บทความของศูนย์แม่โขงศึกษา

ศูนย์แม่โขงศึกษา

facebook page Mekong Chula | Facebook

แม่น้ำโขงเป็นหนึ่งในแม่น้ำสายสำคัญของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นทวีป โดยไหลผ่านดินแดนของประเทศต่างๆ  ถึง 6 ประเทศ ได้แก่ จีน (มณฑลยูนนาน) พม่า ลาว ไทย กัมพูชา และเวียดนาม แม่น้ำโขงจึงเป็นแหล่งรวมของความหลากหลายทางอารยธรรม ประวัติศาสตร์ สังคม วัฒนธรรม และกลุ่มชาติพันธุ์ ที่หล่อหลอมขึ้นเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของภูมิภาคนี้ วิถีชีวิตของประชาชนทั้ง 6ประเทศต่างผูกพันกับแม่น้ำที่มีความอุดมสมบูรณ์ทางนิเวศวิทยาสูงนี้ ซึ่งปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้เองที่ก่อให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้คนที่มีวิถีชีวิตเกี่ยวโยงกับแม่น้ำสายนี้

สถาบันเอเชียศึกษามีความสนใจเกี่ยวกับประเด็นต่างๆ ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงมาเป็นระยะเวลานาน ในเบื้องต้นนั้นได้มีการจัดตั้งโครงการเครือข่ายแม่น้ำโขง (Mekong Development Research Network) ขึ้นในปี พ.ศ.2536 เพื่อเป็นศูนย์บริหารและประสานงานกับหน่วยงานและประเทศที่เกี่ยวข้องกับการใช้ทรัพยากรจากแม่น้ำโขง โดยได้ให้การสนับสนุนการทำวิจัยระหว่างประเทศว่าด้วยการจัดการทรัพยากรลุ่มแม่น้ำโขง และจัดประชุมปรึกษาหารือร่วมกันในการใช้ทรัพยากรของแม่น้ำสายนี้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยมีผลงานอาทิ Maps of International Borders Between Mainland Southeast Asian Countries and Background Information concerning population Movements at these Borders (1998)           การที่แม่น้ำโขงตั้งอยู่ในจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญได้กระตุ้นให้เกิดความตื่นตัวในการศึกษาค้นคว้าประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวกับดินแดนบริเวณดังกล่าว ทั้งจากองค์กรของรัฐ สถาบันการศึกษา และภาคเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ และตั้งแต่ช่วงหลังสงครามเย็นเป็นต้นมาแม่น้ำโขงได้ทวีความสำคัญอย่างเป็นพลวัต อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อมระหว่างประเทศ ดังนั้น สถาบันเอเชียศึกษาจึงเห็นความจำเป็นในการศึกษาทำความเข้าใจแม่น้ำโขงในมิติต่างๆ และได้ขยายโครงสร้างของงานจากโครงการเครือข่ายแม่น้ำโขงมาเป็นศูนย์แม่โขงศึกษาเพื่อสานต่อและพัฒนาความรู้ในปี พ.ศ.2544 โดยเน้นถึงการศึกษาพลวัตของแม่น้ำโขงอันสัมพันธ์กับสถานการณ์ปัจจุบัน และยังได้ขยายความสนใจไปสู่ประเด็นฐานรากของแม่น้ำโขง อันได้แก่ ประวัติศาสตร์ ผู้คน และวัฒนธรรม โดยมองแม่น้ำโขงในฐานะที่เป็นสายน้ำที่มีชีวิต

ขอบเขตการดำเนิน

ศูนย์แม่โขงศึกษา เป็นหน่วยงานภายใต้สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มุ่งศึกษาวิจัย ค้นคว้า และเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง  อันประกอบด้วย กัมพูชา ลาว เมียนมา เวียดนาม ไทย และจีนตอนใต้ โดยเน้นวิธี การศึกษาที่เรียกว่า อาณาบริเวณศึกษา ที่มุ่งอธิบายความเปลี่ยนแปลงจากมุ่งมองภายใน ของประเทศต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยให้สามารถเข้าใจความเปลี่ยนแปลงมุมมองภายในของประเทศ ต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยให้สามารถเข้าใจความเปลี่ยนแปลงได้อย่างรอบด้านและเป็นจริง นอกจากนี้ ยังมองการเปลี่ยนแปลงในเชิงของการเป็นอนุภูมิภาค (sub-region) เนื่องจากประเทศในอนุภูมิภาคฯ ล้วนมีความใกล้ชิดทางด้านภูมิศาสตร์ สังคมและวัฒนธรรม อีกทั้งยังมีประสบการณ์ร่วมในพัฒนาการของประเทศที่คล้ายคลึงกัน ตลอดจนการเชื่อมโยง ระหว่างกัน (Connectivity) ที่เพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน ทั้งทางกายภาพ ความเชื่อมโยงของ องค์กร ตลอดจนการเชื่อมโยงของประชาชน ที่เกิดขึ้นอย่างเข้มข้นในปัจจุบัน ล้วนแล้วแต่ สนับสนุนให้เกิดการยกระดับของการบูรณาการภายในอนุภูมิภาคฯ และก่อให้เกิดการ ประสานประโยชน์ร่วมกันที่มากขึ้น  องค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาเหล่านี้ ศูนย์ฯ ได้ผลักดันให้เกิดการนำไปใช้ประโยชน์ต่อยอดในทุกภาคส่วนของสังคม ผ่านการบริการด้านวิชาการ ทั้งการจัดสัมมนาทางวิชาการ การให้คำปรึกษาทั้งกับภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม โดยเฉพาะการเข้าไปมีส่วน ร่วมในการกำหนดนโยบายที่สำคัญของประเทศ เพื่อให้องค์ความรู้เหล่านี้สามารถก่อให้เกิด ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง

วัตถุประสงค์

1) เพื่อศึกษาค้นคว้าทางวิชาการใน เรื่องที่เกี่ยวกับอนุภูมิภาคลมุ่แม่น้ำ โขง ซึ่งกำลังพัฒนาเข้าสู่การเป็น ประชาคมอาเซียน

2) เพื่อเป็นแหล่งค้นคว้าอ้างอิง ให้ คำปรึกษา และเสริมสร้างความ เข้าใจ ทั้งในภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ในเรื่องที่ เกี่ยวกับอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง

3) เพื่อพัฒนาให้เกิดเครือข่ายความ ร่วมมือทางวิชาการ ทั้งใน ระดับชาติ และระดับนาชาติ

การให้บริการด้านวิชาการ

1) เป็นที่ปรึกษาให้กับหน่วยงานรัฐ และเอกชนในการศึกษาหรือทำ โครงการเกี่ยวกับประเทศเพื่อนบ้าน

2) จัดอบรมองค์ความรู้เกี่ยวกับ ประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง

3) บรรยายในหน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชน และการจัดการเรียน การสอน ตลอดจนการตีพิมพ์ บทความทางวิชาการ และเผยแพร่ ผ่านสื่อแขนงต่าง ๆ

4) การจัดสัมมนาวิชาการเผยแพร่ ประจำปีของศูนย์

เลือกตั้งเมียนมา ๒๕๖๓ หนังคนละม้วน

เมียนมากำลังจะจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ จากผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ๓๗ ล้านคน และพรรคการเมืองประมาณ ๙๗ พรรค ที่ยื่นจดทะเบียนต่อ UEC (Union Election Commission) แม้จะเป็นประเด็นเห็นต่างในหมู่พรรคการเมืองจากสถานการณ์การระบาดของ โควิด-๑๙ ซึ่งพรรคเล็กๆ มองว่า โรคระบาดจะทำให้มีผู้มาเลือกตั้งน้อย และการชุมนุมที่ถูกจำกัดไม่เกิน ๕ คน เพื่อควบคุมโรค อาจทำให้การเลือกตั้งไม่ยุติธรรม เพราะพรรคใหญ่ๆ เช่น NLD (National League for Democracy) ในฐานะรัฐบาลมีโอกาสเหนือพรรคเล็ก จากคะแนนเสียงในการช่วยเหลือชาวบ้านที่ได้รับพิษ โควิด-๑๙  ขณะที่พรรคอื่นทำไม่ได้ และการที่พรรคใหญ่มีทรัพยากรมากกว่าพรรคเล็ก ทำให้การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งผ่านโซเชียลมีเดียมีความได้เปรียบกว่า

นอกจากนี้ความขัดแย้งในพื้นที่รัฐยะไข่และรัฐชินที่กำลังสู้รบกันระหว่างกองทัพเมียนมากับกองทัพอาระกันทำให้เกรงว่าจะมีปัญหากับการเลือกตั้งนอกจากจะหยุดยิงเสียก่อน มิเช่นนั้นอาจเหมือนการเลือกตั้งใน พ.ศ. ๒๕๕๘ ที่หลายเขต ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ชาติพันธุ์ ถูกยกเลิกการเลือกตั้ง เพราะกองทัพและ UEC เห็นว่าไม่ปลอดภัย ซึ่งเป็นการจำกัดโอกาสของพรรคชาติพันธุ์

หลังชัยชนะอย่างถล่มทลายของ  NLD ในการเลือกตั้งพ.ศ. ๒๕๕๘ ด้วยการชูนโยบายปฏิรูปรัฐธรรมนูญ ยุติความขัดแย้งทางชาติพันธุ์ และพัฒนาเศรษฐกิจ แต่เกือบ ๕ ปี ที่รัฐบาลพลเรือนของอองซาน ซูจี “ดอว์  ซู” ในฐานะ “ที่ปรึกษาของรัฐ” และรัฐมนตรีต่างประเทศ  ต้องเผชิญปัญหาที่เป็นความท้าทายเชิงโครงสร้าง เฉพาะอย่างยิ่งการแก้ไขรัฐธรรมนูญ  พ.ศ. ๒๕๕๑ อันเป็นอุปสรรคต่อการการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตย ที่ให้อำนาจกองทัพแต่งตั้งรัฐมนตรีกระทรวงด้านความมั่นคง ได้แก่ กลาโหม,มหาดไทย และกิจการชายแดน โดยสงวนโควตา ๑ ใน ๔ ของที่นั่งในสภาให้กองทัพ เป็นผลให้กองทัพมีอำนาจยับยั้งการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทำให้กระบวนการปฏิรูปแทบเป็นไปไม่ได้ แม้จะมีการตั้งคณะกรรมการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะการแก้ไขต้องได้รับเสียงสนับสนุนเกิน ๓  ใน ๔ ของสภา

.           NLD ยังล้มเหลวในการสร้างสันติภาพ และแก้ไขความขัดแย้งทางชาติพันธุ์ ทั้งปัญหาในรัฐยะไข่, รัฐคะฉิ่น และพื้นที่ชาติพันธุ์อื่่นๆ แม้จะมีการประชุมสันติภาพปางโหลงแห่งศตวรรษที่ ๒๑ หลายครั้ง ก็ไม่มีผลต่อการหยุดความรุนแรงจากการสู้รบ หรือยุติความขัดแย้งทางชาติพันธุ์ได้ รวมถึงการหยุดชะงักของกระบวนการสร้างสันติภาพ แม้จะมีความหวังจากการเจรจาหยุดยิง แต่กองทัพกลับปฏิเสธข้อเรียกร้องให้มีการหยุดยิง กับกองทัพอาระกันระหว่างการระบาดของโควิด-๑๙ โดยให้เหตุผลว่า รัฐบาลเคยประกาศสงบศึกชั่วคราวก่อนหน้านี้ แต่ฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบไม่สนใจ ตลอดจนการตั้งชื่อสะพานอองซาน ในรัฐมอญ และการสร้างรูปปั้นอองซาน ในรัฐกะยา ซึ่งกลุ่มชาติพันธุ์มองว่าเป็นสัญลักษณ์การปกครองของคนเชื้อสายพม่า (Burmese) ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่าง NLD กับกลุ่มชาติพันธุ์ และพรรคชาติพันธุ์ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเลวร้ายลง และถือเป็นความผิดพลาดทางการเมืองครั้งใหญ่ที่อาจทำร้ายพรรคซูจี และสูญเสียการสนับสนุนจากกลุ่มชาติพันธ์ุ นอกจากนี้ ปัญหาโรฮิงญาที่อยู่ในการพิจารณาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice : ICJ)  กำลังถูกสหภาพยุโรปพิจารณาคว่ำบาตรทางการค้า อาจกระทบต่ออุตสาหกรรมสิ่งทอและแรงงานหลายแสนคนในร่างกุ้ง และมัณฑะเลย์ ซึ่งเป็นพื้นที่ฐานเสียงของ NLD ไม่นับรวมความล้มเหลวในการพัฒนาเศรษฐกิจโดยเฉพาะการลงทุนต่างประเทศ (FDI) ที่เติบโตต่ำสุดนับตั้งแต่เปิดประเทศ

แม้  NLD จะมีผลงานก้าวหน้าในการต่อสู้กับคอรัปชั่น การปฏิรูปการศึกษา และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม แต่ผลการเลือกตั้งซ่อม พ.ศ.  ๒๕๖๑ ชี้ชะตาว่า  NLD  กำลังสูญเสียความนิยมในรัฐชาติพันธุ์  การที่ USDP (Union Solidarity and Development Party) ซึ่งมีความสัมพันธ์กับกองทัพ และพรรคชาติพันธุ์ได้เสียงสนับสนุนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญมาจากความผิดหวังใน NLD แม้ NLD  จะได้คะแนนนิยมจากตัว ซูจี ในพื้นทีเมือง บริเวณภาคกลาง และเขตร่างกุ้ง แต่จำนวนที่นั่งในพื้นที่ชาติพันธุ์ ซึ่งมีมากกว่า ๑ ใน ๔  ของสภาอาจเป็นอุปสรรคต่อการจัดตั้งรัฐบาลของ NLD และต้องไม่ลืมว่าที่นั่งของ NLD ในการเลือกตั้ง พ.ศ. ๒๕๕๘ กว่าร้อยละ ๘๐ มาจากพื้นที่ชาติพันธุ์

USDP  ซึ่งพ่ายการเลือกตั้งใน พ.ศ. ๒๕๕๘ แต่ยังคงเป็นพรรคที่ใหญ่เป็นอันดับสองในสภา และยังได้ที่นั่งเพิ่มหลายครั้งในการเลือกตั้งซ่อม           พ.ศ. ๒๕๖๐ และ ๒๕๖๑ การที่ USDP ชนะเลือกตั้งในพื้นที่ชาติพันธุ์ เพราะได้รับการสนับสนุนจากทหาร และครอบครัว รวมถึงกลุ่มนักธุรกิจ การชูนโยบายปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานเป็นอีกเหตุผลที่ทำให้กลุ่มชาติพันธุ์บางส่วนเลือกพรรคนี้ โดย USDP คาดหวังว่าจะได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง พ.ศ. ๒๕๖๓ จึงพยายามสร้างพันธมิตรกับกลุ่มชาติพันธุ์ แต่ภาพลักษณ์ที่สัมพันธ์ใกล้ชิดกับทัดมาดอว์ ทำให้ยากที่จะได้รับเลือกในหลายพื้นที่ แต่คาดว่า USDP จะได้ที่นั่งมากกว่าการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา

หลังความล้มเหลวของพรรคชาติพันธุ์ในการเลือกตั้งพ.ศ. ๒๕๕๘ และความผิดหวังต่อ NLD ทำให้พรรคชาติพันธุ์รวมตัวเป็นพันธมิตรการเมืองภายใต้ร่มธงเดียวกัน เช่น KSPP (Kachin State People’s Party) เป็นการรวมกันของ ๓ พรรค ในรัฐคะฉิ่น ที่ไม่ต้องการแข่งขันกันเอง  ซึ่งสร้างความท้าทายต่อ NLD และแนวคิดคล้ายๆกัน กำลังปรากฏในรัฐมอญ, รัฐกะเหรี่ยง และรัฐกะยา โดยเฉพาะรัฐฉาน และรัฐยะไข่ ที่กลุ่มชาติพันธุ์มีความแข็งแกร่งเช่นรัฐยะไข่ซึ่ง ANP (Arakan National Party ) เป็นพรรคชาติพันธุ์ที่ได้ที่นั่งมากที่สุดในการเลือกตั้งพ.ศ. ๒๕๕๘ และเป็นรัฐที่ NLD แพ้ แต่คนของ ANP กลับไม่ได้รับตำแหน่งบริหารในรัฐยะไข่ สร้างความไม่พอใจจากคนในพื้นที่ต่อ NLD ขณะที่ในพื้นที่อื่นๆนั้นกลุ่มชาติพันธุ์ยังมีอิทธิพลจำกัด

แม้ประวัติศาสตร์การเมืองของเมียนมา พรรคใหญ่จะได้รับความนิยมมากกว่าพรรคเล็กและผู้สมัครอิสระ แต่ NLD อาจพบกับวิบากกรรมจากการที่สมาชิกพรรคที่มีคะแนนนิยมสูงบางคนอาจลงสมัครอิสระ รวมทั้งการตั้งพรรคใหม่ของนักการเมือง เช่น  UBP  (Union Betterment Party) โดย ฉ่วย มาน อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎรหรือ People’s Party โดย โก โก จีอดีตแกนนำคนรุ่น ๘๘ รวมทั้งการรวมตัวเป็นพันธมิตรของพรรคเล็กๆ เช่น United Political Parties Alliance (UPPA) เป็นกลุ่มที่ ๔ ของเมียนมา ต่อจาก UNA (United Nationalities Alliance ). NBF (Nationalities Brotherhood Federation) และ Federal Democracy Alliance (FDA) ซึ่งอาจทำให้ NLD เสียที่นั่งไปไม่น้อย และจะชนะมากพอจัดตั้งรัฐบาลหรือไม่ หากทำไม่ได้  NLD คงต้องเจรจาต่อรองกับพรรคอื่นๆเพื่อจัดตั้งรัฐบาลผสม

การเลือกตั้ง พ.ศ.๒๕๖๓ แตกต่างกับพ.ศ. ๒๕๓๓ และ ๒๕๕๘ เพราะทั้งสองครั้งเป็นการลงประชามติโดยพฤตินัยในการคัดค้านการปกครองของกองทัพหรือทัดมาดอว์ มากกว่าจะเป็นการแข่งขันในระบอบประชาธิปไตย โดยมี ซูจี และ NLD เป็นตัวแทนการเปลี่ยนแปลงและความหวังเพื่ออนาคตที่ดีกว่าแต่ไม่ใช่ความนิยมใน NLD ความไม่พอใจที่เพิ่มขึ้นต่อ NLD ในพื้นที่ชาติพันธุ์ ทำให้กลุ่มชาติพันธุ์เปลี่ยนไปสนับสนุนพรรคชาติพันธุ์ เป็นผลให้ NLD ต้องพ่ายแพ้การเลือกตั้งถึง ๔  ครั้ง ในพ. ศ. ๒๕๖๑ ขณะที่พื้นที่ชาติพันธุ์ได้กลายเป็นจุดชี้ขาดการเลือกตั้ง

การเลือกตั้ง พ.ศ. ๒๕๖๓ NLD อาจยังคงได้รับเสียงข้างมากถือเป็นโอกาสแก้ตัวสำหรับจัดการปัญหาการปฏิรูปรัฐธรรมนูญไปจนกระทั่งการจัดการความขัดแย้งทางชาติพันธุ์ แต่ชัยชนะอย่างถล่มทลายจะไม่เกิดขึ้นอีกการเลือกตั้งครั้งนี้จะก้าวข้ามไปสู่ประชาธิปไตยคุณภาพที่ตอบสนองความต้องการของคนกลุ่มต่างๆท่ามกลางความหลากหลายของพรรคการเมือง ทำให้การเลือกตั้งกลายเป็นการประนีประนอมในกระบวนการสร้างสันติภาพ แต่เหรียญอีกด้าน การเลือกตั้ง คือ การแข่งขันที่มีทั้ง ชัยชนะ และความพ่ายแพ้ขณะที่การเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยยังไม่มั่นคงสามารถย้อนกลับไปสู่การปกครองระบบเผด็จการทหารได้ทุกเวลา และรับประกันไม่ได้ว่าการรัฐประหารจะไม่เกิดขึ้นอีก


อ้างอิงจาก

  • နန့်ခိုင် “SNDP က ၂၀၂၀ ရွေးကောက်ပွဲတွင် လူငယ်နှင့်အမျိုးသမီး ၄၅ ရာခိုင်နှုန်း ဝင်ရောက်ယှဉ်ပြိုင်မည်”
    Mizzima, October 21, 2019.
    http://www.mizzimaburmese.com/article/61765
  • ဇူးဇူ “၂၀၂၀ ရွေးကောက်ပွဲ ပုံမှန်အချိန်တိုင်း ကျင်းပနိုင်မလား”The Irrawaddy, April 30, 2020.
    https://burma.irrawaddy.com/news/2020/04/30/221757.html
  • “သီဟလွင်,၂၀၂၀ ရွေးကောက်ပွဲတွင် မဲရုံများ ထပ်တိုးဖွင့်လှစ်မည်”The Irrawaddy, June 2 , 2020.
    https://burma.irrawaddy.com/news/2020/06/02/223774.html
  • “ရခိုင်မှာ ရွေးကောက်ပွဲကာလ လုံခြုံမှုရှိနိုင်မလား” RFA, June 4, 2020
    https://www.rfa.org/burmese/program_2/election-rakhine-06042020191619.html
  • “ကိုဗစ်ကာလဖြစ်သော်လည်း လာရောက်မဲပေးရန် ရွေးကောက်ပွဲကော်မရှင် တိုက်တွန်း” The Myanmar Times, June 7, 2020
    https://myanmar.mmtimes.com/news/139997.html
  • ၀ဏ္ဏအောင် “ပြင်ဆင်ဆောင်ရွက်နေကြောင်း DPNS ပြေ”
    7 day.news, June 8, 2020
    https://7day.news/detail?id=188309#Politics#Mekong Chula


บทความล่าสุด

ข้อเสนอเชิงนโยบาย “รู้อดีต เข้าใจปัจจุบัน สู่อนาคต ACMECS”
ข้อเสนอเชิงนโยบาย “รู้อดีต เข้าใจปัจจุบัน สู่อนาคต ACMECS”

บทความนี้เป็นการสรุปสาระสำคัญและข้อเสนอเชิงนโยบาย (Policy Recommendation) จากงานสัมมนา ACMECS FORUM เรื่อง “รู้อดีต เข้าใจปัจจุบัน สู่อนาคต ACMECS” ณ ห้องประชุม Social Innovation Hub อาคารวิศิษฐ์ ประจวบเหมาะ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๖๖ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. จัดโดย สถาบันเอเชียศึกษา

ดร.มุกดา ประทีปวัฒนะวงศ์
2567
กระแสเอเชีย
สถานการณ์อุตสาหกรรมการพนันในกัมพูชาและบทบาทของจีน
สถานการณ์อุตสาหกรรมการพนันในกัมพูชาและบทบาทของจีน

โดย ดร.กุลนรี นุกิจรังสรรค์ กัมพูชาอนุญาตให้มีการประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการพนันได้ตามที่กฎหมายกำหนด โดยอุตสาหกรรมการพนันสร้างรายได้ให้กับประเทศมหาศาลและทำให้กัมพูชากลายเป็นประเทศที่มีคาสิโนมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ตามมาด้วยเมียนมา ลาว และฟิลิปปินส์) ปัจจุบันคาสิโนมักกระจุกตัวอยู่บริเวณช

ดร.กุลนรี นุกิจรังสรรค์
2566
กระแสเอเชีย
เวียดนาม ๑ ปี หลัง CPTPP เร็วไป เกินจะตัดสิน “ได้” หรือ “เสีย”
เวียดนาม ๑ ปี หลัง CPTPP เร็วไป เกินจะตัดสิน “ได้” หรือ “เสีย”

โดย ภาณุรักษ์ ต่างจิตร หลัง CPTPP  มีผลบังคับใช้ (๑๔ มกราคม ๒๕๖๒) ยังยากที่จะแยกผลประโยชน์ของ CPTPP ออกจาก FTA อื่นๆ ที่เวียดนามเข้าร่วม แม้กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเวียดนามประเมินว่าจะช่วยขยายตลาด และเพิ่มการส่งออก แต่การส่งออกไปตลาด CPTPP ปี ๒๕๖๒ ยังเพิ่มขึ้นไม่มากนัก ยกเว้นเม็กซิโกแ

ภาณุรักษ์ ต่างจิตร
2563
กระแสเอเชีย
ความปกติใหม่ ใน ทะเลจีนใต้
ความปกติใหม่ ใน ทะเลจีนใต้

โดย ศูนย์แม่โขงศึกษา  สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขณะที่โลกเผชิญกับโรคระบาด ปักกิ่งกลับขยายอิทธิพลในทะเลจีนใต้อย่างก้าวร้าว จนถูกกล่าวหาว่า  “ฉวยโอกาส” จากวิกฤต เพื่อเปลี่ยนกฎของเกมตามต้องการหรือแท้จริงแล้วเป็นการดำเนินการตามเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ที่พญามังกรได้วางไว้แม้ โควิด-

ศูนย์แม่โขงศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2563
กระแสเอเชีย

ที่ตั้งสถาบัน (ศูนย์แม่โขงศึกษา)

สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Institute of Asian Studies Chulalongkorn University)

อาคารประชาธิปก-รำไพพรรณี ชั้น 3 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

02-218-7468

02-218-7459