กิจกรรมของศูนย์แม่โขงศึกษา

ศูนย์แม่โขงศึกษา

facebook page Mekong Chula | Facebook

แม่น้ำโขงเป็นหนึ่งในแม่น้ำสายสำคัญของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นทวีป โดยไหลผ่านดินแดนของประเทศต่างๆ  ถึง 6 ประเทศ ได้แก่ จีน (มณฑลยูนนาน) พม่า ลาว ไทย กัมพูชา และเวียดนาม แม่น้ำโขงจึงเป็นแหล่งรวมของความหลากหลายทางอารยธรรม ประวัติศาสตร์ สังคม วัฒนธรรม และกลุ่มชาติพันธุ์ ที่หล่อหลอมขึ้นเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของภูมิภาคนี้ วิถีชีวิตของประชาชนทั้ง 6ประเทศต่างผูกพันกับแม่น้ำที่มีความอุดมสมบูรณ์ทางนิเวศวิทยาสูงนี้ ซึ่งปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้เองที่ก่อให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้คนที่มีวิถีชีวิตเกี่ยวโยงกับแม่น้ำสายนี้

สถาบันเอเชียศึกษามีความสนใจเกี่ยวกับประเด็นต่างๆ ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงมาเป็นระยะเวลานาน ในเบื้องต้นนั้นได้มีการจัดตั้งโครงการเครือข่ายแม่น้ำโขง (Mekong Development Research Network) ขึ้นในปี พ.ศ.2536 เพื่อเป็นศูนย์บริหารและประสานงานกับหน่วยงานและประเทศที่เกี่ยวข้องกับการใช้ทรัพยากรจากแม่น้ำโขง โดยได้ให้การสนับสนุนการทำวิจัยระหว่างประเทศว่าด้วยการจัดการทรัพยากรลุ่มแม่น้ำโขง และจัดประชุมปรึกษาหารือร่วมกันในการใช้ทรัพยากรของแม่น้ำสายนี้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยมีผลงานอาทิ Maps of International Borders Between Mainland Southeast Asian Countries and Background Information concerning population Movements at these Borders (1998)           การที่แม่น้ำโขงตั้งอยู่ในจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญได้กระตุ้นให้เกิดความตื่นตัวในการศึกษาค้นคว้าประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวกับดินแดนบริเวณดังกล่าว ทั้งจากองค์กรของรัฐ สถาบันการศึกษา และภาคเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ และตั้งแต่ช่วงหลังสงครามเย็นเป็นต้นมาแม่น้ำโขงได้ทวีความสำคัญอย่างเป็นพลวัต อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อมระหว่างประเทศ ดังนั้น สถาบันเอเชียศึกษาจึงเห็นความจำเป็นในการศึกษาทำความเข้าใจแม่น้ำโขงในมิติต่างๆ และได้ขยายโครงสร้างของงานจากโครงการเครือข่ายแม่น้ำโขงมาเป็นศูนย์แม่โขงศึกษาเพื่อสานต่อและพัฒนาความรู้ในปี พ.ศ.2544 โดยเน้นถึงการศึกษาพลวัตของแม่น้ำโขงอันสัมพันธ์กับสถานการณ์ปัจจุบัน และยังได้ขยายความสนใจไปสู่ประเด็นฐานรากของแม่น้ำโขง อันได้แก่ ประวัติศาสตร์ ผู้คน และวัฒนธรรม โดยมองแม่น้ำโขงในฐานะที่เป็นสายน้ำที่มีชีวิต

ขอบเขตการดำเนิน

ศูนย์แม่โขงศึกษา เป็นหน่วยงานภายใต้สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มุ่งศึกษาวิจัย ค้นคว้า และเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง  อันประกอบด้วย กัมพูชา ลาว เมียนมา เวียดนาม ไทย และจีนตอนใต้ โดยเน้นวิธี การศึกษาที่เรียกว่า อาณาบริเวณศึกษา ที่มุ่งอธิบายความเปลี่ยนแปลงจากมุ่งมองภายใน ของประเทศต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยให้สามารถเข้าใจความเปลี่ยนแปลงมุมมองภายในของประเทศ ต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยให้สามารถเข้าใจความเปลี่ยนแปลงได้อย่างรอบด้านและเป็นจริง นอกจากนี้ ยังมองการเปลี่ยนแปลงในเชิงของการเป็นอนุภูมิภาค (sub-region) เนื่องจากประเทศในอนุภูมิภาคฯ ล้วนมีความใกล้ชิดทางด้านภูมิศาสตร์ สังคมและวัฒนธรรม อีกทั้งยังมีประสบการณ์ร่วมในพัฒนาการของประเทศที่คล้ายคลึงกัน ตลอดจนการเชื่อมโยง ระหว่างกัน (Connectivity) ที่เพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน ทั้งทางกายภาพ ความเชื่อมโยงของ องค์กร ตลอดจนการเชื่อมโยงของประชาชน ที่เกิดขึ้นอย่างเข้มข้นในปัจจุบัน ล้วนแล้วแต่ สนับสนุนให้เกิดการยกระดับของการบูรณาการภายในอนุภูมิภาคฯ และก่อให้เกิดการ ประสานประโยชน์ร่วมกันที่มากขึ้น  องค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาเหล่านี้ ศูนย์ฯ ได้ผลักดันให้เกิดการนำไปใช้ประโยชน์ต่อยอดในทุกภาคส่วนของสังคม ผ่านการบริการด้านวิชาการ ทั้งการจัดสัมมนาทางวิชาการ การให้คำปรึกษาทั้งกับภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม โดยเฉพาะการเข้าไปมีส่วน ร่วมในการกำหนดนโยบายที่สำคัญของประเทศ เพื่อให้องค์ความรู้เหล่านี้สามารถก่อให้เกิด ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง

วัตถุประสงค์

1) เพื่อศึกษาค้นคว้าทางวิชาการใน เรื่องที่เกี่ยวกับอนุภูมิภาคลมุ่แม่น้ำ โขง ซึ่งกำลังพัฒนาเข้าสู่การเป็น ประชาคมอาเซียน

2) เพื่อเป็นแหล่งค้นคว้าอ้างอิง ให้ คำปรึกษา และเสริมสร้างความ เข้าใจ ทั้งในภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ในเรื่องที่ เกี่ยวกับอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง

3) เพื่อพัฒนาให้เกิดเครือข่ายความ ร่วมมือทางวิชาการ ทั้งใน ระดับชาติ และระดับนาชาติ

การให้บริการด้านวิชาการ

1) เป็นที่ปรึกษาให้กับหน่วยงานรัฐ และเอกชนในการศึกษาหรือทำ โครงการเกี่ยวกับประเทศเพื่อนบ้าน

2) จัดอบรมองค์ความรู้เกี่ยวกับ ประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง

3) บรรยายในหน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชน และการจัดการเรียน การสอน ตลอดจนการตีพิมพ์ บทความทางวิชาการ และเผยแพร่ ผ่านสื่อแขนงต่าง ๆ

4) การจัดสัมมนาวิชาการเผยแพร่ ประจำปีของศูนย์

เสวนาวิชาการ

งานประชุมวิชาการ “แนวทางส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางวัฒนธรรมในกลุ่มเยาวชนด้วยสื่อภาพยนตร์กับกระบวนการด้าน Edutainment”

ศูนย์แม่โขงศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา ได้จัดงานประชุมวิชาการ “แนวทางส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางวัฒนธรรมในกลุ่มเยาวชนด้วยสื่อภาพยนตร์กับกระบวนการด้าน Edutainment”

เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม ณ ห้องประชุมสารนิเทศ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยศูนย์แม่โขงศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา ได้จัดงานประชุมวิชาการ “แนวทางส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางวัฒนธรรมในกลุ่มเยาวชนด้วยสื่อภาพยนตร์กับกระบวนการด้าน Edutainment” โดยงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัย “แนวทางส่งเสริมภาพยนตร์เพื่อความมั่นคงยุคหลังโควิด” ภายใต้การดูแลของ ดร.ฐณยศ โล่ห์พัฒนานนท์ นักวิจัยศูนย์แม่โขงศึกษา โดยมีผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดกรมส่งเสริมการเรียนรู้ (สกร.) จาก 6 จังหวัดมาร่วมเป็นวิทยากร พร้อมด้วยผู้ฟังจากภาคอุตสาหกรรมภาพยนตร์ วัฒนธรรม และการศึกษา

ผลการวิจัยของ ดร.ฐณยศ ชี้ว่า ปัญหาใหญ่ของการใช้สื่อบันเทิงส่งเสริมวัฒนธรรมในเยาวชนแบ่งเป็นปัญหาเชิงปริมาณและคุณภาพ จำนวนสื่อบันเทิงที่ช่วยเชื่อมโยงเยาวชนกับความเป็นไทยยังมีจำนวนไม่มากพอเมื่อเทียบกับสื่อบันเทิงชาติอื่น ในเวลาเดียวกันสื่อบันเทิงที่เยาวชนเข้าถึงได้กลับมีปัญหาด้านการสื่อสารความสนุก แต่สื่อที่มีศักยภาพกลับขาดพื้นที่เผยแพร่ กระบวนการผลิตและบริโภคสื่อที่มีประสิทธิภาพจึงควรได้รับการส่งเสริมคุ้มครอง

ผู้บริหาร สกร. 6 จังหวัดร่วมนำเสนอเกี่ยวกับการเรียนการสอนวัฒนธรรมท้องถิ่น มีการทดลองในจังหวัดภูเก็ตด้วยหลักสูตรลูกเสือทดลอง ใช้มาตรการผ่อนคลายเรื่องเครื่องแบบและระเบียบ แล้วให้ผู้เรียนทำกิจกรรมเที่ยวชม พูดคุยในท้องที่ ผลชี้ว่า ความสนุกสนานที่ถูกเติมลงไปทำให้ผู้เรียนสนใจและเข้าใจท้องถิ่นอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน
ขณะที่ผู้แทนฝ่ายต่างๆ ร่วมให้ความเห็น ดร.อาภาพร วรรณสุนธยา ผู้อำนวยการโรงเรียนพรตพิทยพยัต กล่าวว่า เยาวชนรุ่นใหม่มีความตื่นตัวเรื่องสื่อสูง ควรมีพื้นที่ให้เยาวชนได้แสดงออก นางสาวจริมา ทองสวัสดิ์ ผู้อำนวยการกองภาพยนตร์และวีดิทัศน์ เปิดเผยว่า กองภาพยนตร์และวีดิทัศน์มีความสนใจเรื่องนี้ และมีมาตรการรองรับการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมสำหรับเด็กและเยาวชน ผู้แทนภาคอุตสาหกรรม เช่น นายวิโรจน์ ศรีสิทธิ์เสรีอมร นายกาญจนพันธุ์ มีสุวรรณ นายเจตษ์ บุณโยประการ นายวัฒนชัย ดุลยโกวิทย์ เห็นพ้องว่า การใช้ความบันเทิงเช่นภาพยนตร์เป็นทางเลือกที่ดี กระบวนการผลิตและฉายยังคงเต็มไปด้วยอุปสรรคด้านเงินทุน การโฆษณา และอีกมากมาย แต่ทุกคนพร้อมช่วยกันผลักดันให้เกิดผลสัมฤทธิ์ เพราะความบันเทิงเป็นอาหารทางใจสำหรับเยาวชน

ผลการประชุมจบลงด้วยข้อเสนอของดร.ฐณยศ เรื่องการสานแนวร่วมก่อนจะนำไปสู่การต่อยอดในขั้นถัดไปโดยให้เป็นการทำงานร่วมระหว่างฝ่ายอุตสาหกรรม วัฒนธรรม และการศึกษา ในการนี้ศูนย์แม่โขงศึกษาจะเป็นเจ้าภาพดำเนินการ


รายละเอียด

วันที่

11 กรกฎาคม 2567

เวลา

13:00 - 16:00

สถานที่

ณ ห้องประชุมสารนิเทศ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ที่ตั้งสถาบัน (ศูนย์แม่โขงศึกษา)

สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Institute of Asian Studies Chulalongkorn University)

อาคารประชาธิปก-รำไพพรรณี ชั้น 3 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

02-218-7468

02-218-7459