นักวิจัยศูนย์แม่โขงศึกษา

ศูนย์แม่โขงศึกษา

facebook page Mekong Chula | Facebook

แม่น้ำโขงเป็นหนึ่งในแม่น้ำสายสำคัญของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นทวีป โดยไหลผ่านดินแดนของประเทศต่างๆ  ถึง 6 ประเทศ ได้แก่ จีน (มณฑลยูนนาน) พม่า ลาว ไทย กัมพูชา และเวียดนาม แม่น้ำโขงจึงเป็นแหล่งรวมของความหลากหลายทางอารยธรรม ประวัติศาสตร์ สังคม วัฒนธรรม และกลุ่มชาติพันธุ์ ที่หล่อหลอมขึ้นเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของภูมิภาคนี้ วิถีชีวิตของประชาชนทั้ง 6ประเทศต่างผูกพันกับแม่น้ำที่มีความอุดมสมบูรณ์ทางนิเวศวิทยาสูงนี้ ซึ่งปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้เองที่ก่อให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้คนที่มีวิถีชีวิตเกี่ยวโยงกับแม่น้ำสายนี้

สถาบันเอเชียศึกษามีความสนใจเกี่ยวกับประเด็นต่างๆ ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงมาเป็นระยะเวลานาน ในเบื้องต้นนั้นได้มีการจัดตั้งโครงการเครือข่ายแม่น้ำโขง (Mekong Development Research Network) ขึ้นในปี พ.ศ.2536 เพื่อเป็นศูนย์บริหารและประสานงานกับหน่วยงานและประเทศที่เกี่ยวข้องกับการใช้ทรัพยากรจากแม่น้ำโขง โดยได้ให้การสนับสนุนการทำวิจัยระหว่างประเทศว่าด้วยการจัดการทรัพยากรลุ่มแม่น้ำโขง และจัดประชุมปรึกษาหารือร่วมกันในการใช้ทรัพยากรของแม่น้ำสายนี้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยมีผลงานอาทิ Maps of International Borders Between Mainland Southeast Asian Countries and Background Information concerning population Movements at these Borders (1998)           การที่แม่น้ำโขงตั้งอยู่ในจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญได้กระตุ้นให้เกิดความตื่นตัวในการศึกษาค้นคว้าประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวกับดินแดนบริเวณดังกล่าว ทั้งจากองค์กรของรัฐ สถาบันการศึกษา และภาคเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ และตั้งแต่ช่วงหลังสงครามเย็นเป็นต้นมาแม่น้ำโขงได้ทวีความสำคัญอย่างเป็นพลวัต อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อมระหว่างประเทศ ดังนั้น สถาบันเอเชียศึกษาจึงเห็นความจำเป็นในการศึกษาทำความเข้าใจแม่น้ำโขงในมิติต่างๆ และได้ขยายโครงสร้างของงานจากโครงการเครือข่ายแม่น้ำโขงมาเป็นศูนย์แม่โขงศึกษาเพื่อสานต่อและพัฒนาความรู้ในปี พ.ศ.2544 โดยเน้นถึงการศึกษาพลวัตของแม่น้ำโขงอันสัมพันธ์กับสถานการณ์ปัจจุบัน และยังได้ขยายความสนใจไปสู่ประเด็นฐานรากของแม่น้ำโขง อันได้แก่ ประวัติศาสตร์ ผู้คน และวัฒนธรรม โดยมองแม่น้ำโขงในฐานะที่เป็นสายน้ำที่มีชีวิต

ขอบเขตการดำเนิน

ศูนย์แม่โขงศึกษา เป็นหน่วยงานภายใต้สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มุ่งศึกษาวิจัย ค้นคว้า และเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง  อันประกอบด้วย กัมพูชา ลาว เมียนมา เวียดนาม ไทย และจีนตอนใต้ โดยเน้นวิธี การศึกษาที่เรียกว่า อาณาบริเวณศึกษา ที่มุ่งอธิบายความเปลี่ยนแปลงจากมุ่งมองภายใน ของประเทศต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยให้สามารถเข้าใจความเปลี่ยนแปลงมุมมองภายในของประเทศ ต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยให้สามารถเข้าใจความเปลี่ยนแปลงได้อย่างรอบด้านและเป็นจริง นอกจากนี้ ยังมองการเปลี่ยนแปลงในเชิงของการเป็นอนุภูมิภาค (sub-region) เนื่องจากประเทศในอนุภูมิภาคฯ ล้วนมีความใกล้ชิดทางด้านภูมิศาสตร์ สังคมและวัฒนธรรม อีกทั้งยังมีประสบการณ์ร่วมในพัฒนาการของประเทศที่คล้ายคลึงกัน ตลอดจนการเชื่อมโยง ระหว่างกัน (Connectivity) ที่เพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน ทั้งทางกายภาพ ความเชื่อมโยงของ องค์กร ตลอดจนการเชื่อมโยงของประชาชน ที่เกิดขึ้นอย่างเข้มข้นในปัจจุบัน ล้วนแล้วแต่ สนับสนุนให้เกิดการยกระดับของการบูรณาการภายในอนุภูมิภาคฯ และก่อให้เกิดการ ประสานประโยชน์ร่วมกันที่มากขึ้น  องค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาเหล่านี้ ศูนย์ฯ ได้ผลักดันให้เกิดการนำไปใช้ประโยชน์ต่อยอดในทุกภาคส่วนของสังคม ผ่านการบริการด้านวิชาการ ทั้งการจัดสัมมนาทางวิชาการ การให้คำปรึกษาทั้งกับภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม โดยเฉพาะการเข้าไปมีส่วน ร่วมในการกำหนดนโยบายที่สำคัญของประเทศ เพื่อให้องค์ความรู้เหล่านี้สามารถก่อให้เกิด ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง

วัตถุประสงค์

1) เพื่อศึกษาค้นคว้าทางวิชาการใน เรื่องที่เกี่ยวกับอนุภูมิภาคลมุ่แม่น้ำ โขง ซึ่งกำลังพัฒนาเข้าสู่การเป็น ประชาคมอาเซียน

2) เพื่อเป็นแหล่งค้นคว้าอ้างอิง ให้ คำปรึกษา และเสริมสร้างความ เข้าใจ ทั้งในภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ในเรื่องที่ เกี่ยวกับอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง

3) เพื่อพัฒนาให้เกิดเครือข่ายความ ร่วมมือทางวิชาการ ทั้งใน ระดับชาติ และระดับนาชาติ

การให้บริการด้านวิชาการ

1) เป็นที่ปรึกษาให้กับหน่วยงานรัฐ และเอกชนในการศึกษาหรือทำ โครงการเกี่ยวกับประเทศเพื่อนบ้าน

2) จัดอบรมองค์ความรู้เกี่ยวกับ ประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง

3) บรรยายในหน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชน และการจัดการเรียน การสอน ตลอดจนการตีพิมพ์ บทความทางวิชาการ และเผยแพร่ ผ่านสื่อแขนงต่าง ๆ

4) การจัดสัมมนาวิชาการเผยแพร่ ประจำปีของศูนย์

อรรคณัฐ วันทนะสมบัติ

ตำแหน่งปัจจุบัน

นักวิจัย

ความเชี่ยวชาญ

เศรษฐกิจการเมือง, เศรษฐกิจแพลตฟอร์ม, เศรษฐกิจสมานฉันท์, กิจการเพื่อสังคม, พม่าศึกษา, สิทธิแรงงานและการคุ้มครองแรงงาน

หมายเลขโทรศัพท์

089 - 0006667

อีเมล

akkanut.w@chula.ac.th

คุณวุฒิ
ชื่อสถานศึกษา

นิสิตปริญญาเอก คณะอักษรศาสตร์ สาขาไทยศึกษา (หลักสูตรนานาชาติ)

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา (หลักสูตรนานาชาติ)

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต สาขาวิศวกรรมเครื่องกล

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

รายการ
ปี

โครงการวิจัยที่กำลังดำเนินการ : การศึกษาระดับภูมิภาคเกี่ยวกับผลกระทบของการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ต่อกลุ่มบุคคลชายขอบและกลุ่มผู้ด้อยโอกาส” (หัวหน้าโครงการ)

2567

Strengthening Social and Solidarity Economy Knowledge Base ได้รับทุนจากองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ผู้วิจัยหลัก)

2566

การศึกษาระดับภูมิภาคเกี่ยวกับผลกระทบของการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ต่อกลุ่มบุคคลชายขอบและกลุ่มผู้ด้อยโอกาส” ได้รับทุนจากมูลนิธิเอเชีย (ผู้วิจัยหลัก)

2566

โครงการตามสั่ง-ตามส่ง: สหกรณ์แพลตฟอร์มชุมชน. ได้รับทุนจากทุนสนับสนุนการพัฒนารูปแบบ ธุรกิจของต้นแบบนวัตกรรมทางสังคม ภายใต้โครงการพัฒนา แพลตฟอร์มต่อยอดงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์และผลกระทบสูง กองทุนรัชดาภิเษกสมโภช ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (ครั้งที่ 1/2565) (ผู้วิจัยหลัก)

2565

Finding the gap on how to reduce single use plastic in food delivery platform in Phuket. Funded by Deutsche Gesellschaft für Internationale Zusammenarbeit (GIZ). (Project leader)

2565

โครงการอาเซียนในกระแสแห่งความพลิกผัน: เศรษฐกิจดิจิทัลและผลกระทบต่อการจ้างงานในอนาคต ปีที่ 2 การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลของภาคการเงินการธนาคาร. ได้รับทุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) (ผู้วิจัยร่วม)

2565

ชาญชาลา: เศรษฐกิจดิจิทัลเพื่อสุขภาวะประชากรสูงวัยและสังคมถ้วนถึง. ได้รับทุนจากสำนักงากองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (ผู้วิจัยหลัก)

2564

โครงการวิจัยเรื่อง ไรเดอร์-ฮีโร่-โซ่ตรวน สภาพการทำงานและหลักประกันทางสังคมของแรงงานส่งอาหาร บนเศรษฐกิจแพลตฟอร์มในสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด. ได้รับทุนจากกองทุนรัชดาภิเษกสมโภช (ผู้วิจัยร่วม)

2564

โครงการวิจัยประเด็นแรงงานในเศรษฐกิจดิจิทัล. ได้รับทุนสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) (ผู้วิจัยร่วม)

2564

โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย (มหาวิทยาลัย สู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ. ได้รับทุนจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) (ผู้วิจัยร่วม)

2564

โครงการแผนที่เศรษฐกิจชุมชนแบบดิจิทัลเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนและสร้างขีดความสามารถสำหรับ ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม. ได้รับทุนจากโครงการพัฒนาแพลตฟอร์มต่อยอดงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์และผลกระทบสูง กองทุนรัชดาภิเษกสมโภช ปีงบประมาณ 2564(ผู้วิจัยร่วม)

2564

โครงการตามสั่ง-ตามส่ง: นวัตกรรมทางสังคมเพื่อเศรษฐกิจสมานฉันท์. ได้รับทุนจากทุนการพัฒนา นวัตกรรมทางสังคมและการประเมินผลกระทบทางสังคม โครงการพัฒนาแพลตฟอร์มต่อยอด งานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์และผลกระทบสูง กองทุนรัชดาภิเษกสมโภช ปีงบประมาณ 2564 (ผู้วิจัยหลัก)

2564

โครงการนวัตกรรมเพื่อยกระดับความมั่นคงทางอาชีพและรายได้ให้กับแรงงานนอกระบบ ที่เป็นผู้สูงอายุ สำรองและสูงอายุโดยการส่งเสริมเศรษฐกิจสมานฉันท์ผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์ม. ได้รับทุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) (ผู้วิจัยร่วม)

2564

ตามสั่ง-ตามส่ง: ชุมชนสุขภาวะและเศรษฐกิจสมานฉันท์. ได้รับทุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (ผู้วิจัยหลัก)

2563

โครงการวิจัยเรื่อง "ทศวรรษแห่งการเปลี่ยนผ่านในเมียนมา นัยสำคัญต่อประเทศไทย". ได้รับทุนจากทุน รัชดาภิเษกสมโภช (ผู้วิจัยร่วม)

2563

ผลกระทบโควิด 19 กับแรงงานข้ามชาติในไทย. ได้รับทุนจากทุนรัชดาภิเษกสมโภช (ผู้วิจัยร่วม)

2563

ตามสั่ง-ตามส่ง: ชุมชนสุขภาวะแลเศรษฐกิจสมานฉันท์. ได้รับทุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้าง เสริมสุขภาพ (ผู้วิจัยหลัก)

2563

อาเซียนในกระแสแห่งความพลิกผัน: เศรษฐกิจดิจิทัลและงานแห่งอนาคต (ประเทศไทย). ได้รับทุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (ผู้ประสานโครงการ)

2563

โครงการอาเซียนในกระแสแห่งความพลิกผัน: เศรษฐกิจดิจิทัลและผลกระทบต่อการจ้างงานในอนาคต ปีที่ 1 การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลของการค้าปลีก กรณีศึกษาประเทศไทย. ได้รับทุนจากสำนักงาน การวิจัยแห่งชาติ (วช.) (ผู้วิจัยร่วม)

2563

พลวัตของการค้าชายแดนนอกระบบและเขตเศรษฐกิจพิเศษในบริเวณชายแดนไทย-เมียนมา. ได้รับทุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) (ผู้วิจัยหลัก)

2561

โครงการ แพลตฟอร์มอีโคโนมีและผลกระทบต่อแรงงานภาคบริการในประเทศไทย: กรณีศึกษาในประเทศไทย มูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท (FES) ประเทศไทย

2561

โครงการ พลวัตของการค้าชายแดนนอกระบบและเขตเศรษฐกิจพิเศษในบริเวณชายแดนไทย-เมียนมา สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย

2561

รายการ

อรรคณัฐ วันทนะสมบัติ. พลวัตทางการเมืองกับการค้าชายเดนไทย-เมียนมาที่แม่สอดจากยุคตลาดมืดถึงเขตเศรษฐกิจพิเศษ. วารสารทางวิชาการ การค้าชายแดนกับความมั่นคงของมนุษย์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปีที่ 30 ฉบับที่ 2 (2561)

อรรคณัฐ วันทนะสมบัติ. (2561). พลวัตของการค้าชายแดนนอกระบบและเขตเศรษฐกิจพิเศษในบริเวณชายแดนไทย-เมียนมา. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย เลขที่สัญญา RDG60170037 (2561)

อรรคณัฐ วันทนะสมบัติ. เศรษฐกิจแพลตฟอร์มและผลกระทบต่อแรงงานภาคบริการในประเทศไทย.มูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท (FES) ประเทศไทย.2561

A. Wantanasombut. The Ant Army: A Significant Mechanism of Thailand-Myanmar Illegal Trade 1988-2012, The Regional Journal of Southeast Asian Studies Vol. 2, Issue 1, January 2017 pp. 2-40. SEASREP, Philippines.

A. Wantanasombut. Non solo giada: la rilevanza geo-economica del traffico di rubini in Myanmar, Relazioni Internazionali e International political economy del Sud-Est asiatico, pp. 6-8, Torino World Affairs Institute, Turin, Italy, 2016.

How ‘Nationalism’ may help push sustainable development? Becoming Vol. 4, pp. 9-12, Center for ASEAN Studies, Chiang Mai University, Thailand, 2016.

A. Wantanasombut. Unheard Voices: The Youth’s Movement toward the Conflict in Thailand’s Southernmost Provinces in International Conference on Communication, Conflicts, and Peace Processes: Landscape of Knowledge from Asia and the Deep South of Thailand, pp. 187-204, Prince of Songkla University, Thailand, 2014.

A. Wantanasombut. The Rohingya from Burmese Perspective in Catching up Southeast Asia New Body: States, Markets, and Public Spheres, pp. 153-200, Institute of Asian Studies and Chula Global Network, Chulalongkorn University, Thailand, 2013.

A. Wantanasombut. Thailand-Myanmar Border Trade, PSAKU International Journal of Interdisciplinary Research, Vol. 1, Issue 1, pp. 124-143, Political Science Association of Kasetsart University, Thailand, 2012

รายการ
ปี

ประวัติการสอน : วิชา 2900401 เศรษฐกิจใหม่และการคุ้มครองทางสังคม

คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2563 – 2564

ประวัติการสอน : วิชา AS125 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับอาเซียน

โครงการวิเทศคดีศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2563 -2564

ประวัติการสอน : วิชา IAC340 พัฒนาเศรษฐกิจและการเมืองอาเซียน

โครงการวิเทศคดีศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2563 -2564

ประวัติการสอน : วิชา ทศ344 พหุนิยมทางชาติพันธุ์และศาสนาในสังคมไทย

วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2564

การเสนอผลงานในระดับนานาชาติ : Governing the Gig-Economy in the Global South: Examining Southeast Asia in Comparative Perspective, the Saw Swee Hock Southeast Asia Centre, 18 October 2022.

2022

การเสนอผลงานในระดับนานาชาติ : Strategies to Organise Platform Workers: Reflections from the ground, RightsCon summit 2022, 6 - 10 June 2022

2022

การเสนอผลงานในระดับนานาชาติ : The Transformation of Digital Retailing in Thailand, EuroSEAs 2022, 28 June 2022 – 1 July 2022.

2022

การเสนอผลงานในระดับนานาชาติ : Tamsang-Tamsong: The social solidarity platform economy model In (P46) Platform Economy in Southeast Asia: Progress, Prospects and the COVID-19 Pandemic, EuroSEAs 2021. 07–10 September 2021.

2021

การเสนอผลงานในระดับนานาชาติ : Durian and the COVID-19 Pandemic in Thailand, AAS Annual Conference 2021, 21 – 26 March 2021.

2021

ผลงานตีพิมพ์ภาษาไทย : อรรคณัฐ วันทนะสมบัติ และ อนรรฆ พิทักษ์ธานิน. (2564). ไรเดอร์-ฮีโร่-โซ่ตรวน สภาพการทำงานและ หลักประกันทางสังคมของแรงงานส่งอาหารบนเศรษฐกิจแพลตฟอร์มในสถานการณ์แพร่ระบาด โควิด-19. ศูนย์ประสานงานเพื่อการวิจัยแรงงานแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

2564

ผลงานตีพิมพ์ภาษาไทย : อรรคณัฐ วันทนะสมบัติ (2561). พลวัตทางการเมืองกับการค้าชายแดนไทย – เมียนมาที่แม่สอด จากยุคตลาดมืดถึงเขตเศรษฐกิจพิเศษ. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 30/2, 15 – 51.

2561

ผลงานตีพิมพ์ภาษาไทย :อรรคณัฐ วันทนะสมบัติ และ เกรียงศักดิ์ ธีระโกวิทขจร. (2561). แพลตฟอร์มอีโคโนมีและผลกระทบต่อ แรงงานในภาคบริการ: กรณีศึกษาในประเทศไทย. มูลนิธิ ฟรีดริค เอแบร์ท (FES). กรุงเทพฯ

2561

ที่ตั้งสถาบัน (ศูนย์แม่โขงศึกษา)

สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Institute of Asian Studies Chulalongkorn University)

อาคารประชาธิปก-รำไพพรรณี ชั้น 3 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

02-218-7468

02-218-7459