กิจกรรมของศูนย์พหุวัฒนธรรมศึกษาและนวัตกรรมทางสังคม

ศูนย์พหุวัฒนธรรมศึกษาและนวัตกรรมทางสังคม

ศูนย์พหุวัฒนธรรมศึกษาและนวัตกรรมทางสังคม  สถาบันเอเชียศึกษา  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  เป็นหน่วยปฏิบัติการวิจัยที่เป็นศูนย์รวมองค์ความรู้ทางวิจัยและวิชาการด้านพหุวัฒนธรรมศึกษา รวมทั้งที่เกี่ยวกับประเด็นปัญหาและความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ของวัฒนธรรมต่าง ๆ ที่มีอยู่ร่วมกันในสังคมไทยและที่เชื่อมโยงกับภูมิภาคเอเชียทั้งในมิติการเมือง เศรษฐกิจ  ความมั่นคง ประวัติศาสตร์  และสังคม   และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การศึกษา ‘ทุนซ่อนเร้น’ ที่มีอยู่ในสังคมไทยมารังสรรค์สร้างอัตลักษณ์งานวิจัยด้านวัฒนธรรมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมุ่งเน้นการสร้างมูลค่าให้กับวัฒนธรรมไทย และคุณค่าที่ซ่อนเร้นในสังคมพหุวัฒนธรรม โดยนำมาสื่อสารผ่านสื่อและนวัตกรรมรูปแบบต่างๆ ที่สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภคข้อมูลข่าวสารในยุคปัจจุบัน  อีกทั้งยังเป็นศูนย์ภาคีเครือข่ายความร่วมมือด้านพหุวัฒนธรรมศึกษากับกลไกภาครัฐ ภาควิชาการ และภาคประชาสังคมในการประสานการทำงานร่วมกัน   ตลอดจนจะเป็นหน่วยงานที่นำองค์ความรู้ที่ได้ไปพัฒนาต่อยอดด้วยกระบวนการทางความคิดใหม่เพื่อให้เกิดผลผลิตอันทันสมัยที่จะส่งผลเฉพาะกลุ่มและในเชิงสาธารณะ และตอบโจทย์สำคัญของสังคมไทย

เสวนาวิชาการ

ฉายสารคดีเรื่อง “MUAYTHAI : POWER & SPIRIT”

ศูนย์พหุวัฒนธรรมศึกษาและนวัตกรรมทางสังคม สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดฉายสารคดีเรื่อง “MUAYTHAI : POWER & SPIRIT” ผลงานสร้างสรรค์จากงานวิจัย ผลักดันมวยไทย Soft power ของไทย

วันศุกร์ ที่ 26 กรกฎาคม 2567 ณ โรงภาพยนตร์ House 3 House Samyan ชั้น 5 สามย่านมิตรทาวน์ ศูนย์พหุวัฒนธรรมศึกษาและนวัตกรรมทางสังคม สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดฉายสารคดีเรื่อง “MUAYTHAI : POWER & SPIRIT” ซึ่งเป็นผลงานจากโครงการ “หมัดสั่ง : ฟื้นประวัติมวยไทยบนสังเวียนโลก” นำโดย ศาสตราจารย์ ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์ ผู้อำนวยการศูนย์พหุวัฒนธรรมศึกษาและนวัตกรรมทางสังคม และมีหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) เป็นหน่วยงานสนับสนุนหลัก พร้อมทั้งภาคีภาครัฐและภาคเอกชนร่วมดำเนินงาน ได้แก่ บริษัท ทีวีบูรพา จำกัด บริษัท บัญชาเมฆ จำกัด ศูนย์ส่งเสริมการวิจัยในภูมิภาคเอเชียของมูลนิธิเกาหลีเพื่อการศึกษาขั้นสูง กระทรวงวัฒนธรรม และกระทรวงการต่างประเทศ

ผลงานเรื่องนี้มีการแปลคำบรรยายเป็นภาษาต่างประเทศ เพื่อให้ภาคีได้นำไปเผยแพร่ได้อย่างกว้างขวางในระดับนานาชาติ รวมทั้งสิ้น 7 ภาษา ได้แก่ ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น ภาษาเกาหลี ภาษาสเปน ภาษารัสเซีย และภาษาอาหรับ นับเป็นการเปิดมิติใหม่ในการขับเคลื่อนการนำผลงานวิจัยเกี่ยวกับวัฒนธรรมไทยไปเผยแพร่สู่ระดับชาติและนานาชาติในรูปแบบสื่อบันเทิง ซึ่งจะยังประโยชน์ทั้งในเชิง ‘คุณค่าทางวัฒนธรรม’ และ ‘มูลค่าทางเศรษฐกิจ’ สู่สังคมไทย อีกทั้งยังสอดรับกับนโยบายของรัฐบาลในเรื่อง Soft Power ที่กำลังมุ่งเน้นให้ความสำคัญอยู่ในปัจจุบัน

การจัดงานในครั้งนี้ได้รับเกียรติจากภาคีร่วมดำเนินงานและหน่วยงานภาควิชาการ ภาครัฐ ภาคเอกชน องค์การระดับนานาชาติ ครูมวย และผู้ทรงคุณวุฒิ จากหลากหลายภาคส่วน ตลอดจนสื่อมวลชนทั้งไทยและต่างชาติ อาทิ นายวันนี นนท์ศิริ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม l นายแพทย์ สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองประธานกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟพาวเวอร์แห่งชาติ l ศาสตราจารย์ ดร.วิเลิศ ภูริวัชร ผู้รักษาการแทนอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย l รองศาสตราจารย์ ดร.ภาวิกา ศรีรัตนบัลล์ ผู้อำนวยการสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย l รองศาสตราจารย์ ดร.ชาลีดา บรมพิชัยชาติกุล รองผู้อำนวยการ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ตลอดจนผู้บริหาร บพข. แผนงาน l ร้อยโทสมบัติ บัญชาเมฆ (บัวขาว) l ว่าที่ร้อยโท ธีรวัฒน์ ยิ้วยิ้ม l ดร.ดลยา เทียนทอง รองผู้อำนวยการสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย l นายณัฐพล ณ สงขลา ผู้อำนวยการกองทูตวัฒนธรรม กรมสารนิเทศ ผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศ l นางสาวจริมา ทองสวัสดิ์ ผู้อำนวยการกองภาพยนตร์ และวีดิทัศน์ ผู้แทนกระทรวงวัฒนธรรม l ดร.ศักดิ์ชาย ทัพสุวรรณ ประธานสหพันธ์สมาคมมวยไทยนานาชาติ หรือ IFMA เป็นต้น


รายละเอียด

วันที่

26 กรกฎาคม 2567

เวลา

13:00 - 16:00

สถานที่

ณ โรงภาพยนตร์ House 3 House Samyan ชั้น 5 สามย่านมิตรทาวน์

ที่ตั้งสถาบัน ( ศูนย์พหุวัฒนธรรมศึกษาและนวัตกรรมทางสังคม)

สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Institute of Asian Studies Chulalongkorn University)

อาคารประชาธิปก-รำไพพรรณี ชั้น 3 ถ.พญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน 10330