ในภาพยนตร์ฉบับที่กำกับโดยอัสรุล
ซานี ฮามิดและไซนับถูกใช้ให้เป็นภาพตัวแทนของการเรียนร้องเสรีภาพในการเลือกใช้ชีวิตและในการแสดงออกของชาวอินโดนีเซีย
สำหรับอัสรุล ซานี หลักธรรมอิสลาม (ที่ไม่จำเป็นต้องเป็นศาสนาอิสลาม) ประเทศอินโดนีเชียและการเมืองเป็นสามสิ่งที่ไม่สามารถแยกออกจากกันได้
ด้วยเหตุนี้ เขาจึงให้ไซนับร้องตะโกนบทพูดที่ไม่มีอยู่ในนิยายในฉากหนึ่งของภาพยนตร์ว่า
“Mencintai negara Anda adalah setengah
dari agama Anda!” (ความรักต่อประเทศมีค่าเพียงครึ่งหนึ่งของความรักต่อศาสนา)
ในขณะที่ในอีกฉากหนึ่ง ผู้ชมก็จะได้เห็นครูสอนศาสนาถูกจับกุมโดยกลุ่มทหาร ขณะที่ครูสอนศาสนาคนนั้นกำลังอธิบายให้ที่ประชุมฟังว่าอะไรคือจิตวิญญาณของอินโดนีเซีย
ในปี
ค.ศ. 2011 อันเป็นปีที่
Di Bawah Lindungan Ka’bah ฉบับของ ฮานนี ซาปุตรากำกับออกฉาย อินโดนีเชียได้ก้าวเข้าสู่การปฏิรูปการเมืองการปกครอง
(Reformasi) มากว่า 10 ปีแล้ว นอกเหนือจากเสรีภาพทางการเมืองและการแสดงออก ก็คือการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจแบบทุนนิยมและอิทธิพลของอิสลามนิยม
(Islamist) ในการเมืองและสังคม ซึ่ง Di Bawah Lindungan Ka’bah ก็สะท้อนบริบทของสังคมดังกล่าว
สิ่งหนึ่งที่ผู้ชมจะรู้สึกได้ทันทีก็คือจำนวนของการวางตำแหน่งสินค้า (Product Placement) ในภาพยนตร์ ทั้งที่สินค้าตัวนั้นไม่ได้อยู่ในยุคสมัยเดียวกันกับเนื้อเรื่อง
ในขณะที่อัสรุล
ซานนี พยายามที่จะวาง Di
Bawah Lindungan Ka’bah ฉบับปี
ค.ศ. 1977 ในบริบททางประวัติศาสตร์ที่นวนิยายเรื่องนี้ถูกเขียนขึ้น
Di Bawah
Lindungan Ka’bah ฉบับปี ค.ศ. 2011 ของฮานนี ซาปุตราได้ใช้องค์ประกอบของนวนิยายเรื่องนี้อย่างหลวมๆ
พื่อกำลังสร้างสำนึกใหม่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์และปัจจุบันกาลของอินโดนีเซียหลังการปฏิรูป
ในมิติหนึ่งนั้น เราจะเห็นได้ถึงอิทธิพลของทุนที่เข้ามากำหนดการสร้างสรรค์ ในอีกมิติหนึ่งนั้น
เราก็อาจกล่าวได้ว่า ฮานนี ซาปุตรานั้นเป็นผลผลิตของโลกหลังสมัยใหม่ที่ไม่ใส่ใจต่อความถูกต้องทางประวัติศาสตร์
ในภาพยนตร์ Di Bawah Lindungan Ka’bah ฉบับปี ค.ศ. 2011 เรื่องราวการต่อสู้ดิ้นรนของตัวละครต่อข้อจำกัดทางประเพณีและทางการเมืองจึงถูกทำให้เหลือเพียงเรื่องราวการต่อสู้เพื่อความรักของวัยรุ่นในโลกอุดมคติแบบอิสลาม เช่นเดียวกันภาพสังคมและวัฒนธรรมของชุมชนมินังกะเบาที่เป็นพันธนาการของตัวละครตามท้องเรื่องก็ถูกทำให้เป็นภาพอดีตที่น่าถวิลหา (Nostalgia)
จึงไม่น่าแปลกใจ
ที่นักวิจารณ์ต่างก็ลงความเห็นเป็นเสียงเดียวกันว่า ตัวละครเอกใน Di Bawah Lindungan Ka’bah ฉบับปี ค.ศ. 2011 นี้ คือเมืองปะดัง (Padang) อดีตเมืองหลวงของชาวมินังกะเบาที่ถูกสร้างขึ้นใหม่ผ่านการนำเสนอของภาพยนตร์
รายการอ้างอิง
Hamka.
Di Bawah Lindungan Ka’bah
Rush,
James R. Hamka’s Great Story: A
Master Writer’s Vision of Islam for Modern Indonesia. The American
Historical Review, Volume 123, Issue 2, April 2018, Pages 566–567,https://doi.org/10.1093/ahr/123.2.566
Mubarak,
Makbul (28 August 2011). From Masterpiece to Teen Flick. The
Jakarta Post. Archived from the original on 21 May 2012.
Retrieved 21 August 2019.
Dr. Pramod Jaiswal
Thailand and Nepal have been bound by culture and shared values historically, demonstrating support for each other in regional and international forums. Though relations have fostered in the last six decades, there can be a lot more done to deepen ties between the two