บทความของศูนย์เอเชียใต้ศึกษา

Websites South Asia Insight
facebook page ศูนย์เอเชียใต้ศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | Facebook

ศูนย์เอเชียใต้ศึกษา

ศูนย์ศึกษาเอเชียใต้เป็นหน่วยงานวิจัยภายใต้สถาบันเอเชียศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก่อตั้งขึ้นในเดือนมิถุนายน 2560 โดยได้รับทุนสนับสนุนจากกองทุนรัชดาภิเษกสมโภชจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศูนย์วิจัยแห่งนี้ดำเนินงานด้านการวิจัยและเผยแพร่ความรู้ที่เกี่ยวกับภูมิภาคเอเชียใต้ ประกอบด้วย 8 ประเทศ คือ อินเดีย ศรีลังกา ปากีสถาน บังคลาเทศ เนปาล ภูฏาน อัฟกานิสถาน และมัลดีฟส์ ครอบคลุมประเด็นสำคัญทางสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และการเมือง วัตถุประสงค์หลักของศูนย์เอเชียใต้ คือ การส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการด้านเอเชียใต้สู่สาธารณชน สร้างนักวิจัยไทยที่มีคุณภาพและขยายเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ นอกจากนี้ศูนย์เอเชียใต้ยังทำหน้าที่เป็นตัวกลางเพื่อให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่ภาครัฐ เอกชน ประชาชนทั่วไป ในการวางแผนนโยบายและการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับประเทศในภูมิภาคเอเชียใต้อีกด้วย 

The White Tiger เสือขาวในกรงไก่

โดย ธันย์ชนก รื่นถวิล


The White Tiger (2021) เรื่องราวชีวิตของ  ‘พลราม ฮาลวัย’  หนุ่มจากวรรณะคนทำขนมหวาน หรือ วรรณะฮาลวัย จากเด็กชายที่มีความโดดเด่นที่สุดในห้องเรียน แต่ต้องหยุดเรียนเพื่อมาทำงานเป็นเด็กเสิร์ฟในร้านน้ำชา สู่คนขับรถเบอร์สอง ที่ไต่เต้า ถีบตัวเอง และคนอื่นขึ้นมาเป็นคนขับรถเบอร์หนึ่ง สู่ผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จในเมืองบังกาลอร์ในท้ายที่สุด กำกับโดย รามิน บรานี (Ramin Bahrani) ผู้กำกับฝีมือดี ลูกครึ่งอิหร่าน-อเมริกัน ดัดแปลงมาจากนวนิยายชื่อเดียวกัน (แปลฉบับภาษาไทยในชื่อ พยัคฆ์ขาวรำพัน) การันตีด้วยรางวัล Man Booker Prize ในค.ศ 2008  ของ อราวินด์ อดิกา (Aravind Adiga) นักเขียนเชื้อสายอินเดียคนที่ 4 ที่ได้รับรางวัลนี้ หลังจาก ซัลมาน รัชดี อรุณธตี รอย และ คิรัน ดีซาย (Kiran Desai)

The White Tiger สะท้อนให้เห็นภาพความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นในประเทศอินเดีย ประเทศที่ภาคภูมิใจกับการเป็น ‘ประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยที่ใหญ่ที่สุดในโลก’ ผู้คนโดยเฉพาะคนชั้นล่างต้องถูกกดขี่จากระบบเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และการเมือง

“อย่าเป็นคนจนในระบอบประชาธิปไตย”

ความเป็นประชาธิปไตยไม่ใช้แค่เกมทางการเมืองที่อยู่ในมือของนักการเมือง หรือ รัฐสภาเท่านั้น แต่การเมือง คือ เรื่องของพลเมืองทุกคน การเมือง คือ ความสัมพันธ์ วิถีชีวิต การต่อรองระหว่างกัน การเมือง คือ ความหวังจะสร้างโครงสร้างทางสังคมที่เป็นธรรม มีเสรีภาพที่ทุกคนเท่าเทียมกัน ทุกคนสามารถมีความฝันในแบบของตัวเอง โดยที่ไม่ถูกจำกัดด้วยชนชั้น วรรณะ (แม้กระทั่งถูกหัวเราะเยาะจากคนอื่น) ในอินเดียวรรณะเป็นสิ่งที่มีมาตั้งแต่เกิด แม้ว่าในรัฐธรรมนูญของอินเดียได้พยายามที่จะแก้ไขปัญหาดังกล่าว มีการระบุเรื่องการปฏิบัติต่อปัจเจกทุกคนอย่างเท่าเทียม โดยไม่คำนึงถึงฐานะ ชนชั้น วรรณะ แต่ก็ยังคงไม่ง่ายที่เราจะเห็นสังคมอินเดียที่ไร้วรรณะในเร็ววันนี้ เพราะระบบวรรณะได้กลายเป็นเนื้อเดียวกันกับวิถีชีวิตของคนส่วนหนึ่งไปแล้ว และอย่างน้อยๆ เราก็ไม่ควรลืมว่า อินเดียมีความหลากหลายเกินกว่าที่จะนำเรื่องวรรณะมาเหมารวมระบบโครงสร้างสังคมของอินเดียได้

มายาคติว่าด้วยวรรณะดูเหมือนจะอ่อนกำลังลง กลายเป็นเรื่องล้าสมัยในสายตาของคนรุ่นใหม่ แต่ความจนที่เกิดจากระบบโครงสร้างทางสังคมที่ไม่เท่าเทียมกันกลับทรงพลังขึ้น จากสภาพสังคม ระบบเศรษฐกิจและการเมืองที่เปลี่ยนไป เดิมระบบวรรณะเป็นตัวการสำคัญที่กีดกันคนวรรณะล่างออกไปให้กลายเป็นคนชายขอบของสังคม ถูกเปลี่ยนผ่านสู่ระบบทุนนิยม ตัวอย่างจากภาพยนตร์ คือ การเติบโตขึ้นของเมืองบังกาลอร์ เมืองทางตอนใต้ที่ถูกขนานนามว่า ซิลิคอนแวลลีย์ของอินเดีย แหล่งรวมอุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยีที่สำคัญ นำมาซึ่งโอกาสใหม่ๆ สำหรับทุกคน แต่ในขณะเดียวกันก็ยิ่งสร้างช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนมากกว่าเดิม

.

..

.

เราจะเป็นเสือขาวได้อย่างไร ถ้าเราไม่รู้ว่าตัวเองกำลังอยู่ในกรงไก่หรือเปล่า

The White Tiger ถูกเล่าผ่านการเขียนอีเมล ถึง เหวินเจียเป่า นายกรัฐมนตรีของจีนที่กำลังจะเดินทางมาเยือนอินเดีย โดย ‘ผม’ ซึ่งก็คือ พลราม เล่าเส้นทางชีวิตของตนเองก่อนจะกลายเป็นผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จ เพื่อฉายให้เห็นภาพว่าอินเดียกำลังกลายเป็นประเทศแห่งโอกาส แม้ว่าโอกาสที่ว่านั้นจะแลกมาด้วยอะไรก็ตาม สิ่งที่เราไม่ควรมองข้ามไป คือ ระบบทุนขนาดใหญ่ที่เป็นเสมือนกรงทำให้คนจำนวนหนึ่งกลายเป็น ลูกไก่ในกำมือที่ถูกบีบก็ตายจะคลายก็รอด ต่อให้มือเพียงไม่กี่มือแต่สามารถบดขยี้ลูกไก่ที่มีอยู่ในสังคมอย่างมหาศาลได้อย่างง่ายดาย ผ่านการใช้โครงสร้างทางสังคมที่เอื้อผลประโยชน์ต่างตอบแทนให้กัน ทำให้เกิดวงจรแบบ ปลาใหญ่กินปลาเล็ก และสิ่งที่พลรามทำให้เราเห็น คือ สังคมยินดีที่จะให้เราขยับชนชั้นได้ หากเรามีเงินมากพอ โดยไม่สนใจว่าเงินจะมาจากไหน รวมทั้งภาพลักษณ์อันจอมปลอมของ นักสังคมนิยมผู้ยิ่งใหญ่ ในเรื่องผู้ไต่เต้าขึ้นมาจากชนชั้นล่าง ภายใต้ภาพฝันของคนชนชั้นล่างกลับเต็มไปด้วยความฉ้อฉลที่หาผลประโยชน์เข้าตัวไม่ต่างกัน

กรงไก่ที่ว่าเลยไม่ได้มีไว้สำคัญคนจนเพียงอย่างเดียว แต่เป็นกรงขังขนาดใหญ่ในโครงสร้างสังคมที่บิดเบี้ยว ที่บีบเค้นให้ไก่ในกรงจิกตีกันเอง ขวนขวายให้ตัวเองอยู่ดีมีสุขในกรง โดยไม่คิดสนใจว่านอกกรงมีอะไร เสมือนเราอยู่ในห้องที่ถูกทำให้เพดานต่ำลงทุกวัน โดยไม่ทันสังเกตหรือรู้ตัว เพราะถูกทำให้ชินว่า ‘นี่คือบ้านที่ดีที่สุดของเรา

.

“อโศก บอกเมียของแกทีว่านี่ไม่ใช่เรื่องของหล่อน"

"พระเจ้าช่วย ฉันนั่งอยู่ตรงนี้ พูดกับฉันตรงๆ เลยก็ได้ ”

หากทุกคนทำได้เพียงอยู่ในตำแหน่งแห่งที่ควรจะอยู่ สภาพสังคมนั้นจะเป็นอย่างไร ผู้หญิงในสังคมอินเดียก็เช่นกัน ในทัศนคติของผู้เขียนมองว่า The White Tiger คือเครื่องยืนยันในทัศนคติชายเป็นใหญ่ที่มีต่อผู้หญิง ด้วยท่าทีที่ปกติที่สุดเรื่องหนึ่ง จะเป็นอย่างไรหากเรื่องราวในคืนนั้นเป็นอโศกที่เป็นคนขับรถชนเด็กเด็กคนนั้น หรือเป็นตัวละครพี่ชายของพลรามเองที่กุมอำนาจในการจัดการชีวิตของทุกคนในครอบครัว ผลลัพธ์ในตอนท้ายจะออกมาเหมือนกันหรือไม่ มันง่ายกว่าที่จะให้ตัวละครผู้หญิงในเรื่องทั้งหลายเป็นผู้ก่อให้เกิดหายนะอย่างนั้นหรือ คำตอบของผู้เขียน คือ ใช่

คำตอบที่ตอบว่า ใช่ ในมุมหนึ่งคือการที่ตัวละครหญิงในเรื่องเหล่านี้ศิโรราบต่อสังคมแบบปิตาธิปไตย แม้ว่าทุกตัวละครจะพยายามแสดงการต่อต้านขัดขืนในแบบของตัวเอง หรือไม่มีโอกาสได้ขัดขืนหรือโต้แย้ง เช่น ญาติพี่น้องผู้หญิงของพลราม ถูกพูดจาแทะโลมจากพนักงานคนขับรถคนอื่นด้วยท่าทีที่ขบขัน โดยเฉพาะตัวละคร พิงกี้ สุดท้ายความพยายามทั้งหมดของเธอ จบลงด้วยการสร้างหายะที่ต้องให้ผู้ชายในเรื่องทั้งหมดช่วยเหลือเธอ ส่วนตัวเองก็แค่หนีไป เมื่อมองย้อนกลับไปถึงรากเดิมตามแนวทางคติความเชื่อของวิถีฮินดูในยุคพระเวท (Rig Veda period) ผู้หญิงมีสถานะสูงส่ง กล่าวถึงพวกเธอในฐานะธรรมปัตนี (dharma Patni) ได้รับการศึกษา มีอิสระเสรี และมีบทบาทสนับสนุนชีวิตครอบครัว ผู้หญิงและผู้ชายจึงถือได้ว่ามีความเท่าเทียมกันในทุกด้าน[1] หากแต่อินเดียเป็นประเทศที่มีการเปลี่ยนผ่านทางประวัติศาสตร์ที่หลากหลาย จากการเปลี่ยนผ่านของกาลเวลา ทำให้ในยุคหลังผู้หญิงเริ่มถูกลดทอนความสำคัญลง เริ่มถูกจัดที่ทางให้เป็นสมบัติของพ่อ ที่จะถูกส่งต่อไปสู่มือสามี มันน่าเศร้าที่ความภาคภูมิใจในความเป็นประชาธิปไตยของอินเดีย ผู้หญิงไม่ได้ถูกนับรวมไปด้วย ผู้หญิงเองก็เป็นไก่ในกรง กรงที่ถูกสร้างขึ้นจากสังคมปิตาธิปไตย ตกอยู่ในมือของผู้ชายที่คิดว่าตัวเองเป็นเสือแต่จริงๆ แล้วก็เป็นไก่ตัวหนึ่งเหมือนกัน


.

[1] Rout, N. (2016). Role of Women in Ancient India. Odisha Review, 43-48.

ที่มาภาพ:
1. https://www.vulture.com/article/the-white-tiger-aravind-adiga-ramin-bahrani-interview.html
2. https://www.republicworld.com/entertainment-news/web-series/the-white-tiger-twitter-reviews-are-in-neitizens-are-clearly-loving-it.html
3. https://www.vanityfair.com/hollywood/2021/01/the-white-tiger-brings-a-celebrated-novel-to-vivid-life


บทความล่าสุด

คนไทยเชื้อสายเนปาล (ตอนที่ 2): จากหิมาลัยสู่ไทยแลนด์
คนไทยเชื้อสายเนปาล (ตอนที่ 2): จากหิมาลัยสู่ไทยแลนด์

โดย ดร.อับดุรเราะฮหมาน มูเก็ม ภาพที่ 1:  “การทำบุญฉลองอายุวัฒนมงคล 84 ปี” ณ สมาคมตรีนาถไทย-เนปาล สุขุมวิท 81 กรุงเทพฯ (5 กุมภาพันธ์ 2566) . “ความไม่รู้” สู่ “ความเป็นไปของชาวเนปาล” หากเพื่อน ๆ ได้อ่าน บทความก่อนหน้า “คนไทยเชื้อสายเนปาล (ตอนที่ 1): ดาวเรืองมิร่วงโรย” ในช่วงเดือ

ดร.อับดุรเราะฮหมาน มูเก็ม
2566
กระแสเอเชีย
Newton: เมื่อผู้จัดการหน่วยเลือกตั้งเอาจริง!
Newton: เมื่อผู้จัดการหน่วยเลือกตั้งเอาจริง!

โดย ดร.ลักษณ์นัยน์ ทรงเสี่ยงไชย . การเลือกตั้งถือเป็นกิจกรรมทางการเมืองที่สร้างกระแสร้อนแรงได้ในทุกสังคมประชาธิปไตย บทความนี้ชวนผู้อ่านพูดคุยเกี่ยวกับภาพยนตร์อินเดียที่น่าจะเข้ากับสถานการณ์การเลือกตั้งของไทยในตอนนี้ได้ไม่น้อย ภาพยนตร์เรื่องนี้มีชื่อว่า นิวตัน (Newton) กำกับโดย Amit V.

ดร.ลักษณ์นัยน์ ทรงเสี่ยงไชย
2566
กระแสเอเชีย
คนไทยเชื้อสายเนปาล (ตอนที่1): ดาวเรืองมิร่วงโรย
คนไทยเชื้อสายเนปาล (ตอนที่1): ดาวเรืองมิร่วงโรย

โดย ดร. อับดุรเราะฮหมาน มูเก็ม สมาคมตรีนาถไทย-เนปาล ณ สุขุมวิท 81 กรุงเทพฯ (ภาพโดยผู้เขียน 5 กุมภาพันธ์ 2566) เริ่มจาก “ความไม่รู้” ผมไม่มีความรู้เรื่อง “ชาวไทยเชื้อสายเนปาล” เลยแม้แต่น้อย ผมรู้เพียงว่า “ประวัติศาสตร์ ชาติพันธุ์ และเรื่องเล่า” เป็นสิ่งที่น่าสนใจเสมอ เพราะในเรื

ดร. อับดุรเราะฮหมาน มูเก็ม
2566
กระแสเอเชีย
Thailand-Nepal Ties: Time to Foster Relations through BIMSTEC
Thailand-Nepal Ties: Time to Foster Relations through BIMSTEC

Dr. Pramod Jaiswal Thailand and Nepal have been bound by culture and shared values historically, demonstrating support for each other in regional and international forums. Though relations have fostered in the last six decades, there can be a lot more done to deepen ties between the two

Dr. Pramod Jaiswal
2565
กระแสเอเชีย
The Library Bus: การเรียนรู้ที่ไม่เคยจบสิ้น
The Library Bus: การเรียนรู้ที่ไม่เคยจบสิ้น

โดย ดร. อับดุรเราะฮหมาน มูเก็ม เด็ก ๆ ในกรุงคาบูลกำลังนั่งอ่านหนังสือบนรถบัสเคลื่อนที่ ซึ่งเกิดจากการขับเคลื่อนของกลุ่มภาคประชาสังคม ที่ชื่อว่า Charmagz Team”(ที่มาภาพ: https://womenyoushouldknow.net/freshta-karim-mobile-library-reading-kabul) . “การศึกษา” กลายเป็นประเด็นสำคัญใ

ดร. อับดุรเราะฮหมาน มูเก็ม
2565
กระแสเอเชีย

ที่ตั้งสถาบัน (ศูนย์เอเชียใต้ศึกษา)

สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Institute of Asian Studies Chulalongkorn University)

อาคารประชาธิปก-รำไพพรรณี ชั้น 3 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330