กิจกรรมของศูนย์เอเชียใต้ศึกษา

Websites South Asia Insight
facebook page ศูนย์เอเชียใต้ศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | Facebook

ศูนย์เอเชียใต้ศึกษา

ศูนย์ศึกษาเอเชียใต้เป็นหน่วยงานวิจัยภายใต้สถาบันเอเชียศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก่อตั้งขึ้นในเดือนมิถุนายน 2560 โดยได้รับทุนสนับสนุนจากกองทุนรัชดาภิเษกสมโภชจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศูนย์วิจัยแห่งนี้ดำเนินงานด้านการวิจัยและเผยแพร่ความรู้ที่เกี่ยวกับภูมิภาคเอเชียใต้ ประกอบด้วย 8 ประเทศ คือ อินเดีย ศรีลังกา ปากีสถาน บังคลาเทศ เนปาล ภูฏาน อัฟกานิสถาน และมัลดีฟส์ ครอบคลุมประเด็นสำคัญทางสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และการเมือง วัตถุประสงค์หลักของศูนย์เอเชียใต้ คือ การส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการด้านเอเชียใต้สู่สาธารณชน สร้างนักวิจัยไทยที่มีคุณภาพและขยายเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ นอกจากนี้ศูนย์เอเชียใต้ยังทำหน้าที่เป็นตัวกลางเพื่อให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่ภาครัฐ เอกชน ประชาชนทั่วไป ในการวางแผนนโยบายและการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับประเทศในภูมิภาคเอเชียใต้อีกด้วย 

เสวนาวิชาการ

“คีตามันถนะ : ท่วงทำนองและจังหวะข้ามพรมแดน (Gita Manthana: Churning of Transnational Sounds and Tabla Beats)”

สำนักบริหารศิลปวัฒนธรรม ร่วมกับ ศูนย์เอเซียใต้ศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา และ ศูนย์อินเดียศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอเชิญทุกท่านเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการและชมการแสดงคอนเสิร์ต ในชื่อรายการ “คีตามันถนะ : ท่วงทำนองและจังหวะข้ามพรมแดน (Gita Manthana: Churning of Transnational Sounds and Tabla Beats)” ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากการสอดประสานของจังหวะและท่วงทำนองดนตรีที่เดินทางข้ามสมุทร จากอนุทวีปอินเดียสู่แอฟริกา ยุโรปและสยามประเทศ โดยมีกำหนดการดังนี้.
การอบรมเชิงปฏิบัติการ (Workshop & Masterclass) วิทยากรรับเชิญ Kuljit Bhamra
⦁ แนะนำดนตรีอินเดีย ความมหัศจรรย์ของจังหวะดนตรี และการใช้คีตปฏิภาณ(Introduction to Indian Music, Rhythms & Improvisation)
⦁ การบรรเลงตาบลาเบื้องต้น(Introduction to playing Tabla (beginners))
⦁ การผสมผสานของวัฒนธรรมดนตรี การประพันธ์ และผลิตงานดนตรี(Collaborating, Composing & Producing Music) .

วันจันทร์ที่ 24 และอังคารที่ 25 เมษายน 2566 เวลา 9.00-15.00 น.ณ จัตุรัสดนตรี อาคารจามจุรี 9 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไม่เสียค่าเข้าร่วมอบรม
ลงทะเบียนเข้าร่วมการอบรมได้ที่ https://forms.gle/8mX7U17CnPXqkwSd9.

การแสดงคอนเสิร์ตผลงานการประพันธ์ของ Kuljit Bhamra โดย วงดนตรีจุฬาฯ เชมเบอร์ (CU Chamber Ensemble)อำนวยเพลงโดย John Taskerนักร้องรับเชิญ Aruni Baggaผู้บรรเลงตาบลารับเชิญ Kuljit Bhamra.

วันเสาร์ที่ 29 เมษายน 2566 เวลา 19.00 น.ณ หอแสดงดนตรี อาคารศิลปวัฒนธรรม จุฬาฯ ไม่เสียค่าเข้าชม

ลงทะเบียนเข้าชมคอนเสิร์ตได้ที่ https://forms.gle/4oA4PpnjqSjk3x1e6LINE @cuartculture / https://lin.ee/XKKwxihโทร. 02-218-0584, 094-561-5295, 099-328-1616

ไม่มีถ่ายทอดสด – สามารถรับชมบันทึกการแสดงทาง Youtube: CU Art Culture ได้ในภายหลังค่ะ.
มาตรการสำหรับผู้เข้าชมการแสดง
1. ผู้เข้าชมต้องสวมหน้ากากอนามัยตลอดการเข้าชมการแสดง
2. หากมีอาการป่วย กรุณายกเลิกการเดินทางมาเข้าชมการแสดง


รายละเอียด

วันที่

24 เมษายน 2566 - 25 เมษายน 2566

เวลา

09:00 - 15:00

สถานที่

ณ หอแสดงดนตรี อาคารศิลปวัฒนธรรม จุฬาฯ

ที่ตั้งสถาบัน (ศูนย์เอเชียใต้ศึกษา)

สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Institute of Asian Studies Chulalongkorn University)

อาคารประชาธิปก-รำไพพรรณี ชั้น 3 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330