บทความของศูนย์อินเดียศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Websites ศูนย์อินเดียศึกษา
facebook page Indian Studies Center

ศูนย์อินเดียศึกษา

 สารจากอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ประเทศไทยกับประเทศอินเดียเริ่มสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกันในปี พ.ศ. ๒๔๙๐ แต่หากมองจากมิติศาสนา วัฒนธรรม ภาษา ฯลฯ แล้ว อาจกล่าวได้ว่า ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศนับย้อนกลับไปในอดีตกาลได้อย่างยาวนาน และคงไม่ผิดด้วยหากจะกล่าวว่า อัตลักษณ์ของไทยในหลายแง่ก็มีความเป็นอินเดียอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว

ในปัจจุบัน โดยเฉพาะหลังปี พ.ศ. ๒๕๓๔ เป็นต้นมา ความสัมพันธ์ระหว่างไทย/อาเซียน–อินเดียได้ดำเนินมาสู่ความใกล้ชิดมากขึ้น และยังได้ขยายขอบเขตครอบคลุมปริมณฑลด้านต่างๆ มากขึ้นด้วย รวมถึงด้านเศรษฐกิจ การศึกษา และความมั่นคง

ผมรู้สึกยินดีมากที่ศูนย์อินเดียศึกษา (ศอ.) ได้พยายามสุดความสามารถเพื่อทำให้จุฬาฯ เป็นแหล่งความรู้ด้านอินเดียศึกษาในแขนงวิทยาต่างๆ หลายกิจกรรมของ ศอ. ที่ผ่านมานั้น เปิดโอกาสให้ประชาคมทั้งในและนอกรั้วจุฬาฯ มีโอกาสเข้าถึงข้อมูลและความรู้เกี่ยวกับอินเดียนานัปการ

บัดนี้ ศอ. ได้สร้างเว็บไซต์ขึ้นมาเพื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรมของศูนย์ และเพื่อขยายขอบเขตการเรียนรู้เกี่ยวกับอินเดีย และความสัมพันธ์ไทย/อาเซียน–อินเดีย อันจะทำให้ ศอ. เป็นแหล่งข้อมูลและความรู้ของสาธารณชนสืบไป

ผมเชื่อมั่นว่า เว็บไซต์นี้จะมีประโยชน์แก่ทุกคน โดยเฉพาะผู้สนใจด้านอินเดียศึกษาและความสัมพันธ์ไทย/อาเซียน-อินเดีย และเชื่อด้วยว่า ผู้ใช้เว็บไซต์นี้จะมีบทบาทสำคัญช่วยพัฒนาเว็บไซต์นี้ให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยให้ข้อคิดและข้อเสนอแนะเพื่อเรียนรู้ไปด้วยกัน

ด้วยความเคารพ

ศาสตราจารย์ ดร. บัณฑิต เอื้ออาภรณ์

 สารจากผู้อำนวยการ ศอ.

หากมองเพียงระดับความสัมพันธ์ทางการทูต ความสัมพันธ์ไทยกับอินเดียที่เริ่มสถาปนาขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๐ ก็ต้องนับว่ามีอายุไม่นานนัก เมื่อเทียบกับอีกหลายประเทศที่ไทยเจริญความสัมพันธ์ด้วย ทว่าเราย่อมมิอาจละเว้นที่จะพิจารณาแง่มุมทางวัฒนธรรม ภาษา ปรัชญา ศาสนา ฯลฯ ของอินเดียที่หยั่งรากอยู่ในวิถีชีวิตไทยมายาวนาน และผสมกลมกลืนกับอัตลักษณ์ความเป็นไทยอย่างมิอาจแยกขาดจากกันได้ เช่น ศาสนาพุทธที่ชาวไทยส่วนใหญ่นับถือนั้น ถือกำเนิดในอนุทวีปอินเดีย อิทธิพลของศาสนาพราหมณ์และศาสนาฮินดูที่มีต้นตอจากอนุทวีปอินเดียยังปรากฏให้เห็นในวัฒนธรรมไทยอย่างชัดแจ้ง และแม้แต่คำศัพท์ในภาษาไทยที่ผมใช้เขียนสารนี้ ก็มีรากเหง้ามาจากภาษาบาลีสันสกฤตเสียเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้น คงไม่ผิดอีกเช่นกัน ถ้าจะกล่าวว่า อินเดียดังที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ยังเป็นแหล่งอารยธรรมบ่งบอกความเป็นไทยได้มากพอสมควร

ช่างน่าเสียดายที่ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับอินเดียต้องชะงักงันเนื่องด้วยต่างประเทศเข้ามายึดครองอินเดียเป็นเวลานาน แม้อินเดียจะได้รับเอกราชจากอังกฤษในปี พ.ศ. ๒๔๙๐ แต่ด้วยเหตุผลทางการเมืองระดับโลกว่าด้วยสงครามเย็น จึงทำให้ทั้งสองมิอาจดำเนินความสัมพันธ์ได้อย่างแน่นแฟ้น ครั้นเมื่อสงครามเย็นยุติลงในปี พ.ศ. ๒๕๓๔ บริบทเศรษฐกิจการเมืองระหว่างประเทศก็เปลี่ยนไป ทำให้ทั้งสองประเทศหันมากระชับมิตรภาพระหว่างกันได้ในที่สุด

ปัจจุบัน โดยเฉพาะหลังปี พ.ศ. ๒๕๔๓ เป็นต้นมา สัมพันธภาพระหว่างทั้งสองประเทศได้เข้าสู่ระดับที่เรียกได้ว่าแน่นแฟ้นยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ และได้ขยายขอบเขตครอบคลุมปริมณฑลเศรษฐกิจ ความมั่นคง และการศึกษาด้วย ทว่า ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองจะมองในระดับทวิภาคีแต่ลำพังมิได้ เพราะข้อเท็จจริงในวันนี้บ่งชี้ด้วยว่า อินเดียกับอาเซียนให้ความสำคัญแก่กันมากเป็นพิเศษ

ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์อินเดียศึกษา (ศอ.) ผมมองเห็นปัญหาที่ว่า แม้สังคมไทยจะได้รับอิทธิพลจากอินเดียมาเนิ่นนาน ดังที่กล่าวไว้ข้างต้น แต่เรายังขาดความเข้าใจเกี่ยวกับอินเดียในหลายมิติ จึงเห็นว่า การมีเว็บไซต์ที่ดีนั้น นอกจากจะช่วยประชาสัมพันธ์กิจกรรมของ ศอ. แล้ว ยังจะช่วยให้สาธารณชนมีโอกาสเข้าถึงข้อมูลและความรู้เกี่ยวกับอินเดีย ทั้งอินเดียโบราณและอินเดียร่วมสมัยในมิติต่าง ๆ ได้อย่างลึกซึ้งเท่าที่จะทำได้ด้วย และผมยังเชื่อมั่นด้วยว่า ข้อมูลและความรู้เหล่านี้จะทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างอินเดีย–ไทย/อาเซียน พัฒนาไปอย่างยั่งยืน

ท้ายสุดนี้ ผมใคร่ขอให้ผู้ใช้เว็บไซต์นี้ช่วยติชม เพื่อพัฒนาเว็บไซต์นี้ให้เป็นแหล่งข้อมูลและความรู้ด้านอินเดียศึกษาที่ดีที่สุดในสังคมไทย

ด้วยประณาม

ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุรัตน์ โหราชัยกุล

 ประวัติความเป็นมาของ ศอ.

ศูนย์อินเดียศึกษา (ศอ.) จัดตั้งตามมติสภามหาวิทยาลัย ครั้งที่ ๗๓๒ เมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๔ เริ่มปฏิบัติงานเมื่อวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔ ในวันที่ ๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ทรงเจิมป้ายและเปิด ศอ. อย่างเป็นทางการ

ศอ. มีวัตถุประสงค์หลัก ๓ ประการ ได้แก่

  • เป็นแหล่งความรู้ทางวิชาการด้านอินเดียศึกษา
  • พัฒนาเครือข่ายทางวิชาการด้านอินเดียศึกษา
  • ส่งเสริมความสัมพันธ์อันยั่งยืนระหว่างประชาชนไทยกับอินเดีย

ศอ. มีภารกิจหลัก ๒ ประการ ได้แก่

  • จัดบรรยายสาธารณะและกิจกรรมทางวัฒนธรรม ตลอดจนผลิตสื่อเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการ
  • อำนวยความสะดวกในการศึกษา – วิจัย ของนักวิชาการและนิสิต

ในวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๖ ศอ. ได้ย้ายมาสังกัดสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


 

ชื่อและโลโก้ ศอ.

ชื่อ ศอ.

  • ชื่อเต็มภาษาไทย : ศูนย์อินเดียศึกษา
  • ชื่อย่อภาษาไทย :  ศอ.
  • ชื่อเต็มภาษาฮินดี : चूड़ालंकरण विश्वविद्यालय का भारतीय अध्ययन केंद्र
  • ชื่อย่อภาษาฮินดี :  चू.भा.कें.
  • ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ : Indian Studies Center
  • ชื่อย่อภาษาอังกฤษ : IS

โลโก้ ศอ.

  • ศอ. มีโลโก้ทั้งหมด ๓ แบบ แต่ละแบบประกอบด้วยตราสัญลักษณ์พระเกี้ยว และชื่อ ศอ. เป็นภาษาไทย ฮินดี และอังกฤษตามลำดับ ศอ. จะใช้โลโก้แบบที่ ๑ (ไม่มีกรอบ) แบบที่ ๒ (มีกรอบ) หรือแบบที่ ๓ (วงกลม) เท่านั้น
  • ศอ. นิยมใช้โลโก้แบบที่ ๑ และ ๒ ในป้ายประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ และใช้แบบที่ ๓ เป็นภาพ Profile เฟสบุ๊คของ ศอ. ซึ่งมีชื่อว่า Indian Studies Center

แบบที่ ๑

แบบที่ ๒

แบบที่ ๓


 

ชื่อและโลโก้ คนบ. จุฬาฯ

ชื่อของ คนบ. จุฬาฯ

  • ชื่อเต็มภาษาไทย : เครือข่ายคลังสมองนโยบายของบิมสเทค จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ชื่อย่อภาษาไทย : คนบ. จุฬาฯ
  • ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ : BIMSTEC Network of Policy Think Tanks, Chulalongkorn University
  • ชื่อย่อภาษาอังกฤษ :  BNPTT, CU

โลโก้ คนบ. จุฬาฯ


 

แหล่งข้อมูลเกี่ยวกับอินเดีย

สัมพันธ์สยามในนามภารต : บทบาทของรพินทรนาถ ฐากูร สวามีสัตยานันทปุรี และสุภาส จันทร โบส ในสายสัมพันธ์ไทย–อินเดีย

ชื่อหนังสือ

สัมพันธ์สยามในนามภารต : บทบาทของรพินทรนาถ ฐากูร สวามีสัตยานันทปุรี และสุภาส จันทร โบส ในสายสัมพันธ์ไทย–อินเดีย

ชื่อผู้แต่ง

สาวิตรี เจริญพงศ์

รายละเอียดหนังสือ

กรุงเทพฯ: ศูนย์อินเดียศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๗

เนื้อหาโดยสังเขป

หนังสือในโครงการภารตประทีป เล่มที่ ๒ เป็นผลงานวิชาการที่ศึกษาเกี่ยวกับชีวประวัติและบทบาทของบุคคลสำคัญในอินเดีย ๓ ท่าน ได้แก่ รพินทรนาถ ฐากูร, สวามีสัตยานันทปุรี, และสุภาส จันทร โบส ที่มีต่อความสัมพันธ์ระหว่างไทยและอินเดีย ภายใต้บริบทการเมืองและสภาพสังคมไทยในช่วงปี พ.ศ. ๒๔๗๐ – ๒๔๘๘

ราคา

๒๙๕ บาท

หากท่านผู้ใดสนใจ สามารถติดต่อเพื่อสั่งซื้อสิ่งพิมพ์ของ ศอจ. ได้ที่
โทรศัพท์ : ๐ – ๒๒๑๘ – ๓๙๔๕
โทรสาร : ๐ – ๒๒๑๘ – ๓๙๔๖
E-Mail : isc@chula.ac.th


บทความล่าสุด

พุทธโคดม : บทวิเคราะห์เชิงรัฐศาสตร์ว่าด้วยพุทธประวัติ ในบริบททางเศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรมอินเดียสมัยพุทธกาล
พุทธโคดม : บทวิเคราะห์เชิงรัฐศาสตร์ว่าด้วยพุทธประวัติ ในบริบททางเศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรมอินเดียสมัยพุทธกาล

ชื่อหนังสือ พุทธโคดม : บทวิเคราะห์เชิงรัฐศาสตร์ว่าด้วยพุทธประวัติ ในบริบททางเศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรมอินเดียสมัยพุทธกาล ชื่อผู้แต่ง วรศักดิ์ มหัทธโนบล รายละเอียดหนังสือ กรุงเทพฯ: โอเพ่นบุ๊กส์, ๒๕๕๕ เนื้อหาโดยสังเขป หนังสือในโครงการภารตประทีป เล่มที่ ๑ เป็นผลงา

วรศักดิ์ มหัทธโนบล
2561
-
สร้อยมณีแห่งปัญญา : ๒๔ เรื่องล้ำค่าสำหรับเด็กและเยาวชน
สร้อยมณีแห่งปัญญา : ๒๔ เรื่องล้ำค่าสำหรับเด็กและเยาวชน

ชื่อหนังสือ สร้อยมณีแห่งปัญญา : ๒๔ เรื่องล้ำค่าสำหรับเด็กและเยาวชน (แปลจากหนังสือ The Necklace of Diamonds) ชื่อผู้แต่ง ชัย ประกาศ ภารตี ชื่อผู้แปล สุรัตน์ โหราชัยกุล และ ณัฐ วัชรคิรินทร์ รายละเอียดหนังสือ กรุงเทพฯ: ศูนย์อินเดียศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๗

ชัย ประกาศ ภารตี
2561
-
ผืนดินไม่ใช่น้ำมัน : ชีวิต อาหาร สิ่งแวดล้อม หรือน้ำมัน?
ผืนดินไม่ใช่น้ำมัน : ชีวิต อาหาร สิ่งแวดล้อม หรือน้ำมัน?

ชื่อหนังสือ ผืนดินไม่ใช่น้ำมัน : ชีวิต อาหาร สิ่งแวดล้อม หรือน้ำมัน? (แปลจากหนังสือ Soil not Oil) ชื่อผู้แต่ง วันทนา ศิวะ (Vandana Shiva) ชื่อผู้แปล ดรุณี แซ่ลิ่ว รายละเอียดหนังสือ กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สวนเงินมีมา, ๒๕๕๕ เนื้อหาโดยสังเขป หนังสือในโครงการปาฐกถา

วันทนา ศิวะ (Vandana Shiva)
2561
-
อหิงสายาตรา : บนเส้นทางสู่อินเดียอื่น (แปลจากหนังสือ Journey to the Other India)
อหิงสายาตรา : บนเส้นทางสู่อินเดียอื่น (แปลจากหนังสือ Journey to the Other India)

ชื่อหนังสือ อหิงสายาตรา : บนเส้นทางสู่อินเดียอื่น (แปลจากหนังสือ Journey to the Other India) ชื่อผู้แต่ง ราชโคปาล พี. วี. (Rajagopal P. V.) ชื่อผู้แปล สายพิณ กุลกนกวรรณ ฮัมดานี รายละเอียดหนังสือ กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สวนเงินมีมา, ๒๕๕๗ เนื้อหาโดยสังเขป หนังสือใ

ราชโคปาล พี. วี. (Rajagopal P. V.)
2561
-
ช่วงเวลาแบบคานธี (แปลจากหนังสือ The Gandhian Moment)
ช่วงเวลาแบบคานธี (แปลจากหนังสือ The Gandhian Moment)

ชื่อหนังสือ ช่วงเวลาแบบคานธี (แปลจากหนังสือ The Gandhian Moment) ชื่อผู้แต่ง รามีน ญะฮานเบกลู ชื่อผู้แปล สุรัตน์ โหราชัยกุล รายละเอียดหนังสือ กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สวนเงินมีมา, ๒๕๕๘ เนื้อหาโดยสังเขป หนังสือในโครงการปาฐกถามหาตมาคานธีฯ เล่มที่ ๔ หนังสือเล่มนี้เป

รามีน ญะฮานเบกลู
2561
-

ที่ตั้งสถาบัน (ศูนย์อินเดียศึกษา)

ชั้น ๑๗ อาคารเฉลิมราชกุมารี ๖๐ พรรษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ ๑๐๓๓๐

๐ ๒๒๑๘ ๓๙๔๕

๐ ๒๒๑๘ ๓๙๔๖