นักวิจัยศูนย์อินเดียศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Websites ศูนย์อินเดียศึกษา
facebook page Indian Studies Center

ศูนย์อินเดียศึกษา

 สารจากอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ประเทศไทยกับประเทศอินเดียเริ่มสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกันในปี พ.ศ. ๒๔๙๐ แต่หากมองจากมิติศาสนา วัฒนธรรม ภาษา ฯลฯ แล้ว อาจกล่าวได้ว่า ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศนับย้อนกลับไปในอดีตกาลได้อย่างยาวนาน และคงไม่ผิดด้วยหากจะกล่าวว่า อัตลักษณ์ของไทยในหลายแง่ก็มีความเป็นอินเดียอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว

ในปัจจุบัน โดยเฉพาะหลังปี พ.ศ. ๒๕๓๔ เป็นต้นมา ความสัมพันธ์ระหว่างไทย/อาเซียน–อินเดียได้ดำเนินมาสู่ความใกล้ชิดมากขึ้น และยังได้ขยายขอบเขตครอบคลุมปริมณฑลด้านต่างๆ มากขึ้นด้วย รวมถึงด้านเศรษฐกิจ การศึกษา และความมั่นคง

ผมรู้สึกยินดีมากที่ศูนย์อินเดียศึกษา (ศอ.) ได้พยายามสุดความสามารถเพื่อทำให้จุฬาฯ เป็นแหล่งความรู้ด้านอินเดียศึกษาในแขนงวิทยาต่างๆ หลายกิจกรรมของ ศอ. ที่ผ่านมานั้น เปิดโอกาสให้ประชาคมทั้งในและนอกรั้วจุฬาฯ มีโอกาสเข้าถึงข้อมูลและความรู้เกี่ยวกับอินเดียนานัปการ

บัดนี้ ศอ. ได้สร้างเว็บไซต์ขึ้นมาเพื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรมของศูนย์ และเพื่อขยายขอบเขตการเรียนรู้เกี่ยวกับอินเดีย และความสัมพันธ์ไทย/อาเซียน–อินเดีย อันจะทำให้ ศอ. เป็นแหล่งข้อมูลและความรู้ของสาธารณชนสืบไป

ผมเชื่อมั่นว่า เว็บไซต์นี้จะมีประโยชน์แก่ทุกคน โดยเฉพาะผู้สนใจด้านอินเดียศึกษาและความสัมพันธ์ไทย/อาเซียน-อินเดีย และเชื่อด้วยว่า ผู้ใช้เว็บไซต์นี้จะมีบทบาทสำคัญช่วยพัฒนาเว็บไซต์นี้ให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยให้ข้อคิดและข้อเสนอแนะเพื่อเรียนรู้ไปด้วยกัน

ด้วยความเคารพ

ศาสตราจารย์ ดร. บัณฑิต เอื้ออาภรณ์

 สารจากผู้อำนวยการ ศอ.

หากมองเพียงระดับความสัมพันธ์ทางการทูต ความสัมพันธ์ไทยกับอินเดียที่เริ่มสถาปนาขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๐ ก็ต้องนับว่ามีอายุไม่นานนัก เมื่อเทียบกับอีกหลายประเทศที่ไทยเจริญความสัมพันธ์ด้วย ทว่าเราย่อมมิอาจละเว้นที่จะพิจารณาแง่มุมทางวัฒนธรรม ภาษา ปรัชญา ศาสนา ฯลฯ ของอินเดียที่หยั่งรากอยู่ในวิถีชีวิตไทยมายาวนาน และผสมกลมกลืนกับอัตลักษณ์ความเป็นไทยอย่างมิอาจแยกขาดจากกันได้ เช่น ศาสนาพุทธที่ชาวไทยส่วนใหญ่นับถือนั้น ถือกำเนิดในอนุทวีปอินเดีย อิทธิพลของศาสนาพราหมณ์และศาสนาฮินดูที่มีต้นตอจากอนุทวีปอินเดียยังปรากฏให้เห็นในวัฒนธรรมไทยอย่างชัดแจ้ง และแม้แต่คำศัพท์ในภาษาไทยที่ผมใช้เขียนสารนี้ ก็มีรากเหง้ามาจากภาษาบาลีสันสกฤตเสียเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้น คงไม่ผิดอีกเช่นกัน ถ้าจะกล่าวว่า อินเดียดังที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ยังเป็นแหล่งอารยธรรมบ่งบอกความเป็นไทยได้มากพอสมควร

ช่างน่าเสียดายที่ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับอินเดียต้องชะงักงันเนื่องด้วยต่างประเทศเข้ามายึดครองอินเดียเป็นเวลานาน แม้อินเดียจะได้รับเอกราชจากอังกฤษในปี พ.ศ. ๒๔๙๐ แต่ด้วยเหตุผลทางการเมืองระดับโลกว่าด้วยสงครามเย็น จึงทำให้ทั้งสองมิอาจดำเนินความสัมพันธ์ได้อย่างแน่นแฟ้น ครั้นเมื่อสงครามเย็นยุติลงในปี พ.ศ. ๒๕๓๔ บริบทเศรษฐกิจการเมืองระหว่างประเทศก็เปลี่ยนไป ทำให้ทั้งสองประเทศหันมากระชับมิตรภาพระหว่างกันได้ในที่สุด

ปัจจุบัน โดยเฉพาะหลังปี พ.ศ. ๒๕๔๓ เป็นต้นมา สัมพันธภาพระหว่างทั้งสองประเทศได้เข้าสู่ระดับที่เรียกได้ว่าแน่นแฟ้นยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ และได้ขยายขอบเขตครอบคลุมปริมณฑลเศรษฐกิจ ความมั่นคง และการศึกษาด้วย ทว่า ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองจะมองในระดับทวิภาคีแต่ลำพังมิได้ เพราะข้อเท็จจริงในวันนี้บ่งชี้ด้วยว่า อินเดียกับอาเซียนให้ความสำคัญแก่กันมากเป็นพิเศษ

ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์อินเดียศึกษา (ศอ.) ผมมองเห็นปัญหาที่ว่า แม้สังคมไทยจะได้รับอิทธิพลจากอินเดียมาเนิ่นนาน ดังที่กล่าวไว้ข้างต้น แต่เรายังขาดความเข้าใจเกี่ยวกับอินเดียในหลายมิติ จึงเห็นว่า การมีเว็บไซต์ที่ดีนั้น นอกจากจะช่วยประชาสัมพันธ์กิจกรรมของ ศอ. แล้ว ยังจะช่วยให้สาธารณชนมีโอกาสเข้าถึงข้อมูลและความรู้เกี่ยวกับอินเดีย ทั้งอินเดียโบราณและอินเดียร่วมสมัยในมิติต่าง ๆ ได้อย่างลึกซึ้งเท่าที่จะทำได้ด้วย และผมยังเชื่อมั่นด้วยว่า ข้อมูลและความรู้เหล่านี้จะทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างอินเดีย–ไทย/อาเซียน พัฒนาไปอย่างยั่งยืน

ท้ายสุดนี้ ผมใคร่ขอให้ผู้ใช้เว็บไซต์นี้ช่วยติชม เพื่อพัฒนาเว็บไซต์นี้ให้เป็นแหล่งข้อมูลและความรู้ด้านอินเดียศึกษาที่ดีที่สุดในสังคมไทย

ด้วยประณาม

ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุรัตน์ โหราชัยกุล

 ประวัติความเป็นมาของ ศอ.

ศูนย์อินเดียศึกษา (ศอ.) จัดตั้งตามมติสภามหาวิทยาลัย ครั้งที่ ๗๓๒ เมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๔ เริ่มปฏิบัติงานเมื่อวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔ ในวันที่ ๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ทรงเจิมป้ายและเปิด ศอ. อย่างเป็นทางการ

ศอ. มีวัตถุประสงค์หลัก ๓ ประการ ได้แก่

  • เป็นแหล่งความรู้ทางวิชาการด้านอินเดียศึกษา
  • พัฒนาเครือข่ายทางวิชาการด้านอินเดียศึกษา
  • ส่งเสริมความสัมพันธ์อันยั่งยืนระหว่างประชาชนไทยกับอินเดีย

ศอ. มีภารกิจหลัก ๒ ประการ ได้แก่

  • จัดบรรยายสาธารณะและกิจกรรมทางวัฒนธรรม ตลอดจนผลิตสื่อเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการ
  • อำนวยความสะดวกในการศึกษา – วิจัย ของนักวิชาการและนิสิต

ในวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๖ ศอ. ได้ย้ายมาสังกัดสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


 

ชื่อและโลโก้ ศอ.

ชื่อ ศอ.

  • ชื่อเต็มภาษาไทย : ศูนย์อินเดียศึกษา
  • ชื่อย่อภาษาไทย :  ศอ.
  • ชื่อเต็มภาษาฮินดี : चूड़ालंकरण विश्वविद्यालय का भारतीय अध्ययन केंद्र
  • ชื่อย่อภาษาฮินดี :  चू.भा.कें.
  • ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ : Indian Studies Center
  • ชื่อย่อภาษาอังกฤษ : IS

โลโก้ ศอ.

  • ศอ. มีโลโก้ทั้งหมด ๓ แบบ แต่ละแบบประกอบด้วยตราสัญลักษณ์พระเกี้ยว และชื่อ ศอ. เป็นภาษาไทย ฮินดี และอังกฤษตามลำดับ ศอ. จะใช้โลโก้แบบที่ ๑ (ไม่มีกรอบ) แบบที่ ๒ (มีกรอบ) หรือแบบที่ ๓ (วงกลม) เท่านั้น
  • ศอ. นิยมใช้โลโก้แบบที่ ๑ และ ๒ ในป้ายประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ และใช้แบบที่ ๓ เป็นภาพ Profile เฟสบุ๊คของ ศอ. ซึ่งมีชื่อว่า Indian Studies Center

แบบที่ ๑

แบบที่ ๒

แบบที่ ๓


 

ชื่อและโลโก้ คนบ. จุฬาฯ

ชื่อของ คนบ. จุฬาฯ

  • ชื่อเต็มภาษาไทย : เครือข่ายคลังสมองนโยบายของบิมสเทค จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ชื่อย่อภาษาไทย : คนบ. จุฬาฯ
  • ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ : BIMSTEC Network of Policy Think Tanks, Chulalongkorn University
  • ชื่อย่อภาษาอังกฤษ :  BNPTT, CU

โลโก้ คนบ. จุฬาฯ


 

แหล่งข้อมูลเกี่ยวกับอินเดีย

สุรัตน์ โหราชัยกุล

ตำแหน่งปัจจุบัน

ผู้อำนวยการ ศอจ.

ความเชี่ยวชาญ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์

หมายเลขโทรศัพท์

อีเมล

surat.h@chula.ac.th

คุณวุฒิ
ชื่อสถานศึกษา

M.A. Politics and Contemporary History

London Guildhall University

M.Sc. Economics

London School of Economics and Political Science

ศศ.บ

มหาวิทยาลัยพายัพ

ที่ตั้งสถาบัน (ศูนย์อินเดียศึกษา)

ชั้น ๑๗ อาคารเฉลิมราชกุมารี ๖๐ พรรษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ ๑๐๓๓๐

๐ ๒๒๑๘ ๓๙๔๕

๐ ๒๒๑๘ ๓๙๔๖