ติดต่อศูนย์ญี่ปุ่น-อาเซียนศึกษา

facebook page JapanAsean Chula | Facebook

ศูนย์ญี่ปุ่น-อาเซียนศึกษา

ในปี 2018 โครงการญี่ปุ่นศึกษาได้รับการยกระดับขึ้นเป็นศูนย์ญี่ปุ่น-อาเซียนศึกษา เพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์ที่ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับญี่ปุ่นมีความเชื่อมโยงกับการเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน และสถานการณ์ที่ประเด็นปัญหาของสังคมมีความซับซ้อนมากขึ้น ทั้งในแง่ความซับซ้อนของปัญหา และความซับซ้อนของภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งระหว่างภาคีในประเทศและระหว่างประเทศ การรับมือกับประเด็นทางสังคมและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่มีมิติที่ซับซ้อนนี้ ต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจที่กว้างขวางกว่าความสัมพันธ์ระดับทวิภาคี   

ศูนย์ญี่ปุ่น-อาเซียนศึกษา มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาวิจัยในมิติต่างๆของความสัมพันธ์ระหว่างญี่ปุ่นกับอาเซียน สร้างเครือข่ายนักวิชาการและผู้สนใจทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ เผยแพร่ความรู้และผลงานวิจัยให้แก่สถาบันการศึกษา หน่วยงานราชการและเอกชน ในรูปแบบต่างๆ เช่น การสอน การจัดประชุม สัมมนา ผ่านทางสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อออนไลน์ เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีและเพื่อประโยชน์ของความร่วมมือกันต่อไป

บทความของศูนย์วิจัย

เรียงโดย:

วัฒนธรรม (ที่ไม่ชัดเจน) ว่าด้วยเงินบริจาคของพรรคการเมืองญี่ปุ่น
วัฒนธรรม (ที่ไม่ชัดเจน) ว่าด้วยเงินบริจาคของพรรคการเมืองญี่ปุ่น

โดย ดร.ทรายแก้ว ทิพากร                                                                                         พรรคการเมืองของทุกประเทศมีความจำเป็นต้องมีเงินทุนเพื่อให้สามารถเล่นบทบาททางการเมืองของตน แต่บทบาทของเงินทุนทางการเมืองเป็นเรื่องที่สุ่มเสี่ยงและเป็นอันตรายต่อการเมืองมากที่สุด ทุ

ดร.ทรายแก้ว ทิพากร
2567
กระแสเอเชีย
ถอดบทเรียนจากแผ่นดินไหวใหญ่คันโต (ตอนที่ 2): บทเรียนที่ได้และมาตรการรับมือ
ถอดบทเรียนจากแผ่นดินไหวใหญ่คันโต (ตอนที่ 2): บทเรียนที่ได้และมาตรการรับมือ

บทความนี้เป็นบทแปลการบรรยายของ Prof. Dr. Suzuki Jun จาก Faculty of Letters University of Tokyo ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์สมัยใหม่และภัยพิบัติญี่ปุ่น ในงานสัมมนาแบบไฮบริด เรื่อง “การเมือง-วัฒนธรรมในภัยพิบัติ: 1 ศตวรรษแผ่นดินไหวใหญ่คันโต” ณ ห้องประชุม Social Innovation Hub อาคารวิศิษฐ์ - ประจวบเห

ดร.กฤตพล วิภาวีกุล
2567
กระแสเอเชีย
ถอดบทเรียนจากแผ่นดินไหวใหญ่คันโต (ตอนที่ 1): ภาพรวมความเสียหาย
ถอดบทเรียนจากแผ่นดินไหวใหญ่คันโต (ตอนที่ 1): ภาพรวมความเสียหาย

บทความนี้เป็นบทแปลการบรรยายของ Prof. Dr. Suzuki Jun จาก Faculty of Letters University of Tokyo ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์สมัยใหม่และภัยพิบัติญี่ปุ่น ในงานสัมมนาแบบไฮบริด เรื่อง “การเมือง-วัฒนธรรมในภัยพิบัติ: 1 ศตวรรษแผ่นดินไหวใหญ่คันโต” ณ ห้องประชุม Social Innovation Hub อาคารวิศิษฐ์ - ประจวบเหม

ดร.กฤตพล วิภาวีกุล
2566
กระแสเอเชีย
การเมืองวัฒนธรรมในภัยพิบัติ : หนึ่งศตวรรษแผ่นดินไหวใหญ่คันโต
การเมืองวัฒนธรรมในภัยพิบัติ : หนึ่งศตวรรษแผ่นดินไหวใหญ่คันโต

โดย ทรายแก้ว ทิพากร ภาพประกอบจากเว็บไซต์ https://tanken.com/shinsai.html . ประเทศญี่ปุ่นตั้งอยู่บนแผ่นเปลือกโลกที่ยังมีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา การเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลกทำให้เกิดปรากฏการณ์แผ่นดินไหว ซึ่งหากเกิดขึ้นในทะเลก็จะเป็นสาเหตุให้เกิดคลื่นยักษ์สึนามิ และหากแผ่นดินไหวม

ดร.ทรายแก้ว ทิพากร
2566
กระแสเอเชีย

กิจกรรมที่กำลังจะมาถึง




กิจกรรมที่ผ่านมา

เรียงโดย:

ที่ตั้งสถาบัน (ศูนย์ญี่ปุ่น-อาเชียนศึกษา)

สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Institute of Asian Studies Chulalongkorn University)

อาคารประชาธิปก-รำไพพรรณี ชั้น 7 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

02-218-7464

02-255-1124