ศูนย์พหุวัฒนธรรมศึกษาและนวัตกรรมทางสังคม สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดการ ประชุมระดมสมอง : พลิกฟื้นภาพยนตร์ไทย ก้าวไกลสู่สากล” เมื่อวันศุกร์ที่ 21 สิงหาคม 2563 เวลา 13.00 – 16.00 น. ณ ห้อง 702 ชั้น 7 อาคารจามจุรี 10 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เนื่องด้วยปี พ.ศ. 2562 วงการภาพยนตร์ไทยยังคงเผชิญปัญหาด้านรายได้และเสียงตอบรับจากผู้ชม โอกาสในการผลิตรวมไปถึงอิสระในการสร้างสรรค์ชิ้นงานยังคงปรากฏอย่างจำกัด ขณะที่วงการภาพยนตร์เอเชียโดยเฉพาะเกาหลีใต้ประสบความสำเร็จทั้งในแง่ของรายได้และคำวิจารณ์ เป็นความสำเร็จที่ควรค่าแก่การถอดบทเรียนด้วยเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ แม้วงการภาพยนตร์ไทยยังตามหลังเกาหลีใต้ การพัฒนาภาพยนตร์ ไทยสู่ความ สำเร็จระดับใกล้เคียงกัน ไม่ใช่ภารกิจที่ยากจะเป็นไปได้ เนื่องจากศักยภาพพื้นฐานหลายประการของไทยเทียบ เคียงมหาอำนาจบันเทิงเฉกเช่นเกาหลีใต้ หรือ สหรัฐฯ เครื่องมือถ่ายทำบวกทักษะบุคลากรช่วยดึงดูดให้กองถ่ายต่างชาติเข้ามาใช้บริการถ่ายทำในประเทศ งานภาพยนตร์ หรือ ซีรีส์บางเรื่องได้รับความนิยมทั้งในและนอกพื้นที่ ดังนั้น เพื่อร่วมส่งเสริมอุตสาหกรรมการผลิตภาพยนตร์โดยอิงศักยภาพที่ปรากฏ
ศูนย์พหุวัฒนธรรมศึกษาและนวัตกรรมทางสังคม มีความมุ่งหมายที่จะจัดการประชุมระดมสมองภายใต้หัวข้อ พลิกฟื้นภาพยนตร์ไทย ก้าวไกลสู่สากล เพื่อร่วมผลักดันงานพัฒนา ชุดความคิดใหม่ๆ ร่วมกับให้แนวทางปรับตัวสำหรับงานพัฒนาในระยะต่อไป โดยสร้างพื้นที่แบ่งปันข้อมูล/มุมมองเกี่ยวกับวงการภาพยนตร์ไทย เกาหลีใต้ รวมทั้งองค์ความรู้สำคัญอื่น ๆ อันจะต่อยอดไปสู่แนวปฏิบัติ ผ่านนโยบาย หรือ ชุดความรู้สำหรับภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนเกิดการประชุมระดมสมองใช้หลักการประสานความร่วมมือระหว่างภาคส่วนหลัก ได้แก่ นักวิชาชีพ ฝ่ายวิชาการ ภาครัฐ ประชาชน อันจะฉายให้เห็นข้อมูลและมุมมองจากทุกมิติพร้อมกับเปิดทางไปสู่แนวร่วมการพัฒนาภาพยนตร์ไทยในลำดับถัดไป
สาระสำคัญจากงานครับ
ฐณยศ โล่ห์พัฒนานนท์
ประเทศไทยเป็นฮับในเรื่องของบริการกองถ่ายต่างประเทศ เมื่อปีที่แล้วราว 740 กองถ่าย มาใช้บริการในประเทศไทยแบ่งเป็นกองถ่ายโฆษณา ภาพยนตร์เรื่องยาว ภาพยนตร์เรื่องสั้น กองถ่ายรายการโทรทัศน์ ซีรีส์ เป็นต้น มูลค่าลงทุนรวมทั้งสิ้น 4,863.74 ล้านบาท ซึ่งถือว่าเยอะมากและกองส่วนใหญ่ที่มาก็จะว่าจ้างคนทำงานคนไทย บางครั้งมาแค่เจ้าของโปรเจคต์ แต่ว่าจ้างตั้งแต่ producer ไปจนถึง director และช่างเทคนิคต่างๆ นั่นแปลว่าไทยมีทักษะทางการผลิตสูง
ภาณุ อารี
แผนการพัฒนาของเกาหลีความสำเร็จมันไม่ได้เกิดจากภาคใดภาคหนึ่ง มันเกิดจากกระบวนการทั้งระบบและการศึกษาทั้งระบบ ซึ่งมันก็คงเป็นเรื่องที่ต่อไปในภาครัฐถ้าเกิดจะทำ ผมคิดว่าการศึกษาผลงานของภาครัฐเกาหลีเองอย่างเดียวมันไม่พอ มันก็ต้องศึกษาทั้งระบบด้วยว่า การสร้างวัฒนธรรมของเขามันเกิดขึ้นได้อย่างไร โดยเฉพาะวัฒนธรรมการดูหนังเขามันแข็งแรงมาก หลังจากนี้ เราค่อยมาคุยกันหลังจากที่ได้มีการพัฒนาร่วมกันต่อไป
พันธุ์ธัมม์ ทองสังข์
ของเราทุกวันนี้สนับสนุนจะขายอะไรจะทำอะไรพอเป็นจุดลับของราชการจะลงมาสนับสนุนพันล้านต้องให้ฉันระดับ 1,500 ล้านนี่ Soft Power กันหรือเปล่า คุณเข้าใจคำว่า Soft Power ไหมคุณคิดคุณรู้ไหมว่าจะเอา Soft Power ไปขายยังไง ทุกวันนี้เด็กไทยอยากไปเที่ยวเกาหลี อยากกินไก่บอนชอน เพราะอะไรเพราะ Soft Power คุณมองเห็นอะไรสิ่งนี้ไหม ฉะนั้นกลับไปหัวใจหลักก็คือนายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นหัวหน้ารัฐบาลมีวิสัยทัศน์ด้านนี้โดยตรงหรือไม่ อยากสนับสนุนหนังไทยเพราะอยากโฆษณาประชาสัมพันธ์ตัวเองหรือคุณมองเห็นความสำคัญของ Soft Power ของคนทำหนัง ถ้าคุณอยากเป็นเกาหลีต้องเริ่มที่จุดนี้ ต้องมองเห็นความสำคัญของ Soft Power เบื้องต้น ต้องตั้งหน่วยงาน Single Gate Single Unit ซึ่งจะได้ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมภาพยนตร์ แล้วก็ต้องไม่เป็นหน่วยงานที่กำกับดูแลโดยรัฐบาลหรือราชการ เพราะมันจะถูกการเมืองเข้าไปแทรกแซง อันนี้เป็นภาพรวมของสถานการณ์ของภาพยนตร์ไทยและโอกาสในช่วงแรก
Watson Homsangpradit
คนไทยโชคดีมากครับ เราเกิดมาที่ฝรั่งรู้จักอาหารไทย รู้จักต้มยำกุ้ง รู้จักมวยไทย และไทยก็ไม่เคยทะเลาะกับใคร เกาหลียังทะเลาะกับญี่ปุ่น คนไทยยังไงก็ทั่วโลกรัก เป็น destination ของคนทั้งโลกอยู่แล้ว เพราะฉะนั้น Content เราโอกาสโตสูงมากโดยเฉพาะภูมิภาค โดยเฉพาะผมเดินทางไปทำหนังกับประเทศเพื่อนบ้านเยอะ ผมไปทำหลังกับพม่าสิ่งที่น่าแปลกประหลาดมากๆ คือเขามีกฎหรืออะไรบางอย่างที่เราคิดว่า ประเทศนี้ไม่มีสิ่งที่เรียกว่า ค่ายหนังใหญ่ มาก่อนเป็น international producer ทำเพื่อหวังเข้าโรงเองและก็แบ่งกับโรงเองอันนี้เป็นสิ่งที่ผมอยากให้เกิดขึ้น
Lee Tongkam
เราหรือสังคมไทยต้องการเนื้อหาที่ยังถ่ายทอดถึงเอกลักษณ์ของไทย แต่อาจจะไม่ได้ต้องการธีมที่เป็นไทยแบบเดิมๆ อาจจะต้องการมุมมองใหม่ๆ หรือเวอร์ชั่นใหม่ๆ ที่หลากหลายมากขึ้น ทั่วโลกรู้จักผัดไทยกันบ้างแล้ว แต่ทำไมเราไม่ทำผัดไทยในรูปแบบฟาสต์ฟูด หรือรูปแบบอื่น ทำให้เป็น International มากขึ้น นอกจากสิ่งเหล่านี้แล้ว เรายังต้องสร้างคอนเท็นให้มันมากขึ้นเพื่อให้เกิดสิ่งใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นในสังคมไทยและสร้างหนังไทยให้มากขึ้น
ศาสตราจารย์ ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์
อยากให้มีแพลตฟอร์มสำหรับคนที่เขาอยากจะทำภาพยนตร์มีทุนต่างๆ เพื่อให้เกิดการสร้างบรรยากาศให้คนรู้สึกว่าถ้าเขาอยากจะเข้ามาในพื้นที่นี้ก็จะไม่มีปัญหา นี่คือการสร้างทรัพยากรมนุษย์ให้เป็นกำลังสำคัญซึ่งต่อไปจะเป็นกลไกขับเคลื่อน เสร็จแล้วเราอาจจะต้องคิดถึงเรื่องของการให้ความรู้ให้การศึกษาของการสร้างคนที่จะมาตอบโจทย์ ผมคิดว่าถ้าเราสามารถที่จะซื้อเรือดำน้ำซื้ออะไรได้อย่างเยอะแยะมากมาย อาจจะลองตัดงบบางส่วนมาทำตรงนี้ และเมื่อได้เงินจากตรงนี้ก็เอาไปซื้อเรือดำน้ำคือมันไม่ได้ใช้ต้นทุนอะไรมากมายนัก แต่ว่าอานิสงส์ตรงนี้มันมหาศาลที่จะเกิดขึ้นแต่เราต้องถอยมาตั้งหลักและเริ่มคิดและมองทรัพยากรหรือต้นทุนให้สูงขึ้นอย่างมีวิสาหะอย่างมียุทธศาสตร์ และรู้ถึงพลังและคุณค่าของสิ่งที่เรียกว่า ภาพยนตร์