ขอเชิญผู้ที่สนใจร่วมงานเสวนาออนไลน์เรื่อง “สถานการณ์การเมือง และเศรษฐกิจในประเทศเพื่อนบ้าน, วงจรการค้ามนุษย์ในประเทศไทยอย่างไรแลแนวนโยบายบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติหลังเปิดประเทศไทยในสถานการณ์โควิด 19 ”
วันอังคารที่ 9 พฤศจิกายน 2564
เวลา 13.30 น. ถึง 16.00 น.
โดย ศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านการย้ายถิ่นแห่งเอเชีย สถาบันเอเชียศึกษาจุฬาฯ ร่วมกับ มูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน (LPN)
และ แนวร่วมต่อต้านการค้ามนุษย์และคุ้มครองเด็กประเทศไทย (TIP-ACT Coalition)
“ณ เวลานี้ข่าวที่ปรากฏทุกๆ วันคือ มีพี่น้องแรงงานข้ามชาติบางส่วนที่ลักลอบเข้ามาในประเทศไทย ถูกจับกุม ณ บริเวณชายแดนเกือบทุกวัน แม้ว่าประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านกำลังอยู่ในสถานการณ์ที่ได้รับผลดระทบจากโควิด 19 ความพยายามเปิดระเทศไทยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ขณะเดียวกัน ปัญหาความขาดแคลนแรงงานก็ยังคงเป็นปกติ แต่คนในประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะประเทศเมียนมาร์ การหลั่งไหลเข้ามาในเมื่องไทยโดยกระบวนการลักลอบขนคน นั่นเป็นปรากฏการณ์การเคลื่อนย้ายแบบไม่ปกติ อาจเนื่องมาจากสถานการณ์ร้อนๆ เรื่องการเมือง ส่งผลต่อความฝืดเคืองทางเศรษฐกิจ ความเป็นอยู่ยากลำบากมากขึ้น ทางเดียวที่ต้องเลือกคือ มาตายเอาดาบหน้า แม้ต้องเผชิญทุกข์นานา
แต่ทว่า ประเทศไทยจะจัดการปัญหาแรงงานข้ามชาติในไทย และการเคลื่อนย้ายถิ่นเข้ามาใหม่ได้อย่างไร ในห้วงการปรับเปลี่ยนนโยบายด้านแรงงานที่ต้องคำนึงถึงเศรษฐกิจที่ต้องขับเคลื่อน สังคมที่มองเห็นมิติด้านมนุษยธรรม ด้านความมั่นคงของมนุษย์ในอาเซียน และความมั่นคงของรัฐที่คำนึงผลประโยชน์ต่อทุกฝ่าย”
ตามคำกล่าวข้างต้น ได้เห็นภาพสถานการณ์แรงงานข้ามชาติจากประเทศเพื่อนบ้านหลั่งไหลเข้ามาหางานทำผ่านชายแดนพม่าและกัมพูชาและเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายทำให้รัฐต้องใช้กำลังคนในการแก้ไขปัญหาเพื่อจับกุมและผลักดันกลับประเทศต้นทาง ศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านการย้ายถิ่นแห่งเอเชียสถาบันเอเชียศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน ( LPN) และ แนวร่วมต่อต้านการค้ามนุษย์และคุ้มครองเด็กประเทศไทย (TIP-ACT Coalition) ได้หารือและมีความเห็นพ้องกันว่าควรจะได้มีการประชุมปรึกษาหารือออนไลน์เพื่อเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาในทางที่ก่อประโยชน์ให้กับประเทศไทยและภาคเศรษฐกิจไทยพร้อมกับคำนึงถึงความมั่นคงทางสุขภาพของคนไทยและตัวแรงงานต่างชาติ ตลอดจน ความมั่นคงของประเทศ โดยนำเสนอข้อเท็จจริงจากฝ่ายที่เกี่ยวข้องระดมความเห็นจากภาควิชาการ,ภาคเอกชนและภาคประชาสังคมเพื่อร่วมกันเสนอแนะแนวทางในการดำเนินการที่เหมาะสมและนำข้อเสนอแนะดังกล่าวเสนอต่อรัฐบาลโดยเร็วเพื่อให้มีการแก้ปัญหาอย่างฉับพลัน มีประสิทธิภาพและสุขุมรอบคอบ
