การประเมินการกักเก็บคาร์บอน (Carbon: C) และการผลิตออกซิเจน (Oxygen: O2) ของต้นไม้ใน
สวนสาธารณะของกรุงเทพมหานคร (กทม) เพื่อการพัฒนาเมืองที่ยั่งยืน และลดการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์
(Carbon dioxide: CO2) สู่ชั้นบรรยากาศ เป็นโครงการวิจัยเพื่อตอบเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable
development goals: SDGs) ของสหประชาชาติ (United Nations Thailand 2015) ภายใต้บริบทการวิจัยพื้นที่สี
เขียวเพื่อประโยชน์ของมนุษย์ในการพัฒนาเมืองและการด ารงอยู่ของมนุษย์ ตลอดจนทุกสรรพสิ่ง โดยตอบสนอง SDG
11 (Sustainable cities and communities: เมืองและถิ่นฐานมนุษย์ที่ยั่งยืน) และ SDG 13 (Climate action: การ
รับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ) เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชากรเมืองและบรรเทาปัญหาด้าน
สิ่งแวดล้อมของ กทม ที่มาพร้อมกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เพื่อให้ กทม เติบโตอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
(Green growth) เป็นมหานครที่ยั่งยืน (Sustainable metropolis) และเป็นสังคมคาร์บอนต่ า (Low carbon
society) ตลอดจนลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
การขยายตัวทางเศรษฐกิจและการเติบโตของ กทม จากอดีตถึงปัจจุบัน ส่งผลให้เมืองหลวงของประเทศไทย
เป็นหนึ่งในศูนย์กลางการพัฒนาของภูมิภาคอาเซียน (Ross et al. 2000, UN-HABITAT 2010) และเป็นเมืองที่มีการ
อุปโภค-บริโภคทรัพยากร พลังงาน สินค้า/บริการ ตลอดจนระบบสาธารณูปโภคสูง (Singkran 2017) พร้อมกับปัญหา
สิ่งแวดล้อมด้านต่างๆ ตามมา นอกจากปัญหาขยะ การจราจรติดขัด มลพิษทางอากาศ น้ า และเสียง (Ross et al.
2000, Li and Crawford-Brown 2011, Ali et al. 2018) อัตราส่วนพื้นที่สีเขียวของสวนฯ หลัก ต่อประชากร กทม
ในปี 2564 คือ 1.08 ตารางเมตรต่อคน (ตร.ม./คน) (BMA 2021) ยังต่ ากว่าค่ามาตรฐานพื้นที่สีเขียวเพื่อบริการต่อ
จ านวนประชากร ของประเทศไทย และขององค์การบริหารกรุงเทพมหานคร (Bangkok Metropolitan
Administration: BMA) ที่ก าหนดไว้ว่า ชุมชนขนาดใหญ่ กลาง และเล็ก ควรมีพื้นที่สีเขียวเพื่อบริการ 5, 4, และ 3
ตร.ม./คน ตามล าดับ (ONEP 2019)
รายละเอียด
รายชื่อนักวิจัย
รองศาสตราจารย์ ดร. นวลจันทร์ สิงห์คราญ
วันที่เผยแพร่
11 กรกฎาคม 2564
แหล่งทุนวิจัย
ศูนย์ส่งเสริมการวิจัยในภูมิภาคเอเชียของมูลนิธิเกาหลี เพื่อการศึกษาขั้นสูง ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย