
เมื่อวันที่ 3-4 ตุลาคม 2565 ศูนย์ส่งเสริมการวิจัยในภูมิภาคเอเชียของมูลนิธิเกาหลีเพื่อการศึกษาขั้นสูง สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการเกาหลีศึกษา ประจำปี 2565 ณ ห้อง 105 และห้อง 103 อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ ร่วมกับ Korea Foundation สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเกาหลี ประจำประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และสาขาวิชาภาษาเกาหลี ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ในงานสัมมนาฯ ดังกล่าวมีการนำเสนอผลงานวิจัยจากนักวิจัยผู้ได้รับทุนสนับสนุนจากศูนย์ส่งเสริมการวิจัยในภูมิภาคเอเชียฯ ดังต่อไปนี้
- ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.สุภางค์ จันทวานิช และนายสมาน เหล่าดำรงชัย จากศูนย์วิจัยการย้ายถิ่นแห่งเอเชีย สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในหัวข้อ “การเสริมสร้างและพัฒนาความร่วมมือ และสร้างนวัตกรรมในการบริหารจัดการแรงงานไทยไปทำงานประเทศเกาหลีใต้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน”
- รองศาสตราจารย์ ดร.สุมนทิพย์ จิตสว่าง จากภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ดร.แสงโสม กออุดม จากสถาบันวิจัยและพัฒนารพีพัฒนศักดิ์ สำนักงานศาลยุติธรรม ในหัวข้อ “อาชญากรรมทางไซเบอร์: การวิเคราะห์รูปแบบและการขยายเครือข่ายองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติเกาหลีในบริบทของประเทศไทย”
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ จากภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในหัวข้อ “กระบวนการสร้างความปรองดองและสถาปนาประชาธิปไตยในเกาหลีใต้ หลังการลุกขึ้นสู้เพื่อประชาธิปไตยที่เมืองควังจู”
- ดร. ลักษณ์นัยน์ ทรงเสี่ยงไชย จากศูนย์เอเชียใต้ศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในหัวข้อ “การเปิดรับสื่อและทัศนคติของผู้พิการต่อการสื่อสารความพิการในภาพยนตร์เกาหลี”
- ดร.อำพา แก้วกำกง สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในหัวข้อ “ความช่วยเหลือด้านการศึกษาของเกาหลีใต้ต่อกัมพูชาในทศวรรษ 2010: วิเคราะห์คุณลักษณะและการดำเนินงาน”
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กรนภา บุญพิสุทธิ์ศิลป์ จากภาควิชาเกาหลีศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในหัวข้อ “ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาเกาหลีเพื่อแรงงานไทย”
- รองศาสตราจารย์ ดร. ยุทธพร อิสรชัย จากสาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ในหัวข้อ “ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมกับการพัฒนาประชาธิปไตยดิจิทัลของประเทศสาธารณรัฐเกาหลีเปรียบเทียบประเทศไทย”
- อาจารย์ ดร. สายน้ำผึ้ง ทองใส และ อาจารย์ ดร. วรรณารัตน์ ลีสุขสวัสดิ์ จากสาขาวิชามนุษยนิเวศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ในหัวข้อ “การศึกษาเปรียบเทียบวัฒนธรรมการบริโภคชาระหว่างคนไทยและคนเกาหลี”
ในปีนี้มีผู้เข้าร่วมงานสัมมนาดังกล่าวจำนวน 125 คน จาก 79 สถาบันการศึกษาทั่วประเทศไทย