ขอเชิญชวนสำรวจแนวทางใหม่ๆ ของดนตรีดั้งเดิมและอนาคตของอุตสาหกรรมดนตรีไทยในบริบทของการแปลงเป็นดิจิทัล ในงาน “Traditional Music and the Digital ร่วมกับ Kuljit Bhamra, Keda Music and the University of Exeter ร่วมด้วย Jerri Daboo, University of Exeter อาจารย์บุญรัตน์ ศิริรัตนพันธ อาจารย์ประจำวิทยาลัยดนตรี มหาวิทยาลัยรังสิต และ Pawarin Sonklin จาก SEATHENCITY
.
วันพุธที่ 26 เมษายน 2566
เวลา 13.00 – 16.00 น.
ณ ชั้น 1 พิพิธภัณฑ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
.
ลงทะเบียนได้ที่
https://forms.gle/peP7TarYXBAAXwGr6
CU Museum
02 218 3645
https://maps.app.goo.gl/7n5DkkXew6sHyd9E9?g_st=ic
กลิ่นอายของทำนองดนตรีแบบเอเชียใต้ยังปรากฏอยู่ให้เห็นบ้างในแวดวงการดนตรีแบบตะวันตก ตั้งแต่ The Beatles และหากยังจำฉากที่บรรดาคนงานชาว อูมปา-ลูมป้าส์ เต้นประกอบเสียงเพลง จากเรื่องชาร์ลี กับ โรงงานช็อกโกแลต (Charlie and the Chocolate Factory) นั่นคือหนึ่งในเสียงเครื่องดนตรีที่เรียกว่า กลองทาบลา หรือ Tabla
.
กลองทาบลา เครื่องดนตรีเก่าแก่ชิ้นหนึ่งของภูมิภาคเอเชียใต้ แรกเริ่มเดิมทีกลองบาทลาถูกสอนและถ่ายทอดกันผ่านเสียงของครูเท่านั้น ไม่ได้มีโน้ตอย่างดนตรีสากล ด้วยความลึกลับ ซับซ้อนเหล่านี้ทำให้การสืบทอดการเล่นเครื่องดนตรีชนิดนี้หยุดชะงักลงมายาวนานกว่า 50 ปี
นั่นจึงเป็นเหตุผลที่มาที่ทำให้ Kuljit Bhamra ผู้เคยทำงานร่วมกับภาพยนตร์ชื่อดัง อาทิ Indiana Jones และ Charlie and the Chocolate Factory คิดค้น “E-Tabla” ขึ้นมา เพื่อพัฒนาแนวทางใหม่ในการเข้าถึงและความรู้เกี่ยวกับดนตรีกลองทาบลาของอินเดียในสหราชอาณาจักร ทั้งการจดโน้ต หนังสือสอน และพัฒนากลองทาบลาอิเล็กทรอนิกส์ (หรือ e-tabla) ขึ้นมา เพื่อสืบทอดการเล่นเครื่องดนตรีชนิดนี้

