สถาบันเอเชียศึกษาร่วมกับสำนักบริหารศิลปวัฒนธรรม ขอเชิญชมนิทรรศการ“สุดขอบเอื้อม: ถอดรหัสชุดเอาตัวรอดของมนุษย์ในสถานการณ์วิกฤติ (Voices from the Edges: Human Survival Kits Exhibition)”.
ระยะเวลาที่จัดแสดง 14-29 พฤศจิกายน 2566.
พิธีเปิดนิทรรศการวันพฤหัสบดีที่ 16 พฤศจิกายน 2566
เวลา 10.30-10.50 น.
กล่าวเปิดงานโดย รศ.ดร.นวลน้อย ตรีรัตน์ หัวหน้าแผนงานอาเซียนในกระแสพลิกผัน
– 10.50-11.20 น.เดินชมนิทรรศการ
– 11.20-12.00 น.Opening Talk: โครงการแกะรอยชีวิตชายขอบ: ความเสี่ยงและการฟิ้นคืนภาวะปกติของกลุ่มคนนอกสายตารัฐในยุคเปลี่ยนย้ายหลังการระบาดของโควิด-19โดย รศ.ดร.ภาวิกา ศรีรัตนบัลล์หัวหน้าโครงการ และ ผู้อำนวยการสถาบันเอเชียศึกษา.

ห้องนิทรรศการ ชั้น 1
ห้องนิทรรศการหมุนเวียน อาคารพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย https://goo.gl/maps/PT273fhjt7eiyjdcA
ผลผลิตงานวิจัย โครงการ “แกะรอยชีวิตชายขอบ: ความเสี่ยงและการฟื้นคืนภาวะปกติของกลุ่มคนนอกสายตารัฐในยุคเปลี่ยนย้ายหลังการระบาดของโควิด-19” โดยสถาบันเอเชียศึกษา ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) งานวิจัยนี้เป็นการประมวลผลจากการ “ฟังเสียง” จากผู้คนที่มีพื้นเพอันหลากหลายภายใต้การศึกษาโดยใช้ “เรื่องเล่า” (Narratives) ซึ่งเป็นทั้งวิธีวิทยา (Narrative studies) และเป็นข้อมูลที่สามารถฉายภาพของความซับซ้อนบนเส้นทางชีวิตในยุคหลังโควิดของผู้คนกลุ่มต่าง ๆ ที่ถูกกระแสของวิกฤติพัดออกไปไกลจากศูนย์กลางของความช่วยเหลือออกมาได้แจ่มชัดมากขึ้น นอกเหนือไปจากรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ที่ได้ทำการส่งมอบให้กับทางสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) แล้วนั้น สถาบันเอเชียศึกษาฯ ร่วมกับสำนักบริหารศิลปวัฒนธรรม นำเสนอในรูปแบบนิทรรศการ ภายใต้ชื่อ “สุดขอบเอื้อม: ถอดรหัสชุดเอาตัวรอดของมนุษย์ในสถานการณ์วิกฤติ (Voices from the Edges: Human Survival Kits Exhibition)” ถือเป็นการสื่อสารงานวิจัยสู่สาธารณะที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นนิสิต นักศึกษา บุคคลทั่วไป ได้เรียนรู้ รับฟังเสียงจากเรื่องเล่าของกรณีศึกษาทั้ง 6 กลุ่มได้ในวงกว้างมากขึ้น
เปิดให้เข้าชมจันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 17.00น. ปิดให้บริการ เสาร์,อาทิตย์ และวันหยุดราชการ