สื่อสิ่งพิมพ์

หน้าแรก / สื่อสิ่งพิมพ์

เวียดนาม ๑ ปี หลัง CPTPP เร็วไป เกินจะตัดสิน “ได้” หรือ “เสีย”

โดย ภาณุรักษ์ ต่างจิตร


หลัง CPTPP  มีผลบังคับใช้ (๑๔ มกราคม ๒๕๖๒) ยังยากที่จะแยกผลประโยชน์ของ CPTPP ออกจาก FTA อื่นๆ ที่เวียดนามเข้าร่วม แม้กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเวียดนามประเมินว่าจะช่วยขยายตลาด และเพิ่มการส่งออก แต่การส่งออกไปตลาด CPTPP ปี ๒๕๖๒ ยังเพิ่มขึ้นไม่มากนัก ยกเว้นเม็กซิโกและแคนาดา สินค้าที่พิจารณาว่าสามารถใช้ประโยชน์จาก CPTPP ยังมีมูลค่าส่งออกต่ำกว่าที่คาด จากปัญหากฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า ที่สำคัญ ธุรกิจเวียดนามไม่เกินร้อยละ ๓๐-๔๐ เท่านั้นที่ใช้ประโยชน์จาก FTA รวมทั้ง CPTPP และผู้ประกอบการยังให้ความสนใจกับตลาดใหม่ เช่น เปรู ไม่มาก ขณะที่การลงทุนต่างประเทศของประเทศสมาชิก CPTPP กลับลดลง 

การประเมินผลกระทบจาก CPTPP ของเวียดนามไม่ต่างกับไทยที่สนใจจะเข้าร่วมซึ่งเน้นถึงโอกาสและผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจด้านการค้า การลงทุน เป็นหลักและผลกระทบทางสังคมเพียงบางด้านยังไม่ครอบคลุมถึงผลกระทบของกฎระเบียบจากการที่ CPTPP เป็น FTA ยุคใหม่โดยมีขอบเขตกว้างกว่าเรื่องการค้าในประเด็นทางสังคมต่างๆ เช่น สิทธิมนุษยชน

การค้ากับตลาด CPTPP เพิ่มขึ้นเล็กน้อย

ปี ๒๕๖๒ การค้าระหว่างเวียดนามกับตลาด CPTPP มีมูลค่า ๗๗.๔ ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๓.๙ เมื่อเทียบกับปี ๒๕๖๑

การนำเข้าจากตลาด CPTPP ลดลงหรือเพิ่มขึ้นเล็กน้อย

การนำเข้าจากตลาด CPTPP ของเวียดนามในปี ๒๕๖๒ มีจำนวน ๓๐.๑ พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ ๑ ยกเว้นออสเตรเลีย เพิ่มขึ้นร้อยละ ๒๓.๒ ทำให้ดุลการค้าระหว่างเวียดนามกับตลาด CPTPP เกินดุลที่ ๑.๖ พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๖๑ จากช่วงเดียวกันของปี ๒๕๖๑ ซึ่งขาดดุลที่ ๐.๙ พันล้านเหรียญสหรัฐ

การส่งออกไปตลาด CPTPP เพิ่มขึ้นไม่มากนักขณะที่บางประเทศลดลง

CPTPP ถูกประเมินว่ามีผลกระทบเชิงบวกต่อการส่งออกไปยังตลาด CPTPP ของเวียดนาม ซึ่งมีมูลค่า ๓๙.๕ พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๗.๒ เมื่อเทียบกับปี ๒๕๖๑ แต่มีมูลค่าไม่มาก เช่น สิงคโปร์ ๓,๒๓๑ พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๑.๑ ขณะที่การส่งออกไปบางประเทศลดลง เช่น มาเลเซีย ๓,๓๗๖ พันล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ ๓ โดยเฉพาะออสเตรเลียที่ลดลงร้อยละ ๑๒ จากปี ๒๕๖๑ ที่เคยแตะระดับ ๓,๕๒๓ พันล้านเหรียญสหรัฐ เพราะการส่งออกน้ำมันดิบที่ลดลง

การเจาะตลาดใหม่ที่ไม่สามารถเข้าถึงได้ก่อนหน้านี้

เวียดนามสามารถเจาะตลาดแคนาดา, เม็กซิโก, ชิลี และเปรู หลัง CPTPP มีผลบังคับใช้ โดยส่งออกไปแคนาดา ๓.๘๖ พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๒๙.๙, เม็กซิโก ๒.๘๔ พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๒๗.๖, ชิลีเกือบ ๑ พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๒๐.๕ และเปรู ๓๕๐ ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๔๐

สินค้าส่งออกส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่เวียดนามมีศักยภาพ ได้แก่ โทรศัพท์และส่วนประกอบ เครื่องจักร อุปกรณ์เครื่องมือ และอะไหล่อื่น ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ สิ่งทอ และเสื้อผ้า

ข้อกำหนดแหล่งกำเนิดของสินค้า

สินค้าหลายประเภทที่พิจารณาว่า สามารถใช้ประโยชน์จาก CPTPP เช่น สิ่งทอ แต่ในปี ๒๕๖๒ กลับพบว่า การส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของเวียดนาม มีมูลค่าเพียง ๓๙ พันล้านเหรียญสหรัฐ ต่ำกว่าที่คาดไว้ ๒๑ พันล้านเหรียญสหรัฐ จากอุปสรรคซึ่งเป็น “คอขวด” ของอุตสาหกรรมเรื่องกฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า (Rules of Origin) ทำให้ต้องนำเข้าวัตถุดิบจากจีน เกาหลี และญี่ปุ่น เช่น ฝ้าย ถึงร้อยละ ๙๙ โดยปี ๒๕๖๒ อุตสาหกรรมสิ่งทอเวียดนามต้องนำเข้าฝ้ายมูลค่า ๒,๕๖๗ พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ ๘๕ เมื่อเทียบกับปี ๒๕๖๑

ผลของ CPTPP ทำให้ธนาคารโลกคาดว่าการส่งออกของเวียดนามจะเพิ่มขึ้นร้อยละ ๔.๒ และจะขยายตัวเพิ่มเป็นร้อยละ ๖.๙ ในปี ๒๕๗๓ CPTPP จะช่วยปรับโครงสร้างการนำเข้าและส่งออกของเวียดนามให้สมดุลมากขึ้นจากปัจจุบันที่พึ่งพาตลาดในเอเชียตะวันออก เช่น จีน และเกาหลีใต้ มากจนเกินไป

FDI จากประเทศสมาชิก CPTPP ลดลงอย่างมาก

ในปี ๒๕๖๒ การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ของประเทศสมาชิก CPTPP (ยกเว้นเปรู) ตรงข้ามกับที่ประมาณการไว้ ซึ่งเพิ่มขึ้นเพียง ๕.๙ พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือลดลงกว่าร้อยละ ๓๘.๘ เมื่อเทียบกับปี ๒๕๖๑ โดยญี่ปุ่นมีการลงทุนลดลงมากที่สุด จาก ๙ พันล้านเหรียญสหรัฐ เหลือ ๔ พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ ๕๓ เช่นเดียวกับออสเตรเลียและมาเลเซีย ซึ่งลดลงร้อยละ ๖๒ และ ๕๑ ตามลำดับหากเทียบกับปี ๒๕๖๑ ขณะที่มีการลงทุนจำนวนไม่มากนักของแคนาดาและเม็กซิโก ซึ่งไม่เคยมี FTA กับเวียดนามมาก่อน จากแคนาดาจำนวน ๑๗๘ ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๙๕ เมื่อเทียบกับปี ๒๕๖๑ และเม็กซิโกจำนวน ๑๒๐,๐๐๐ เหรียญสหรัฐ หรือเพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ ๑,๑๐๐

FTA ยุคใหม่

CPTPP ได้สร้างความท้าทายแก่เวียดนามจากการเป็น FTA ยุคใหม่ ที่มีขอบเขตกว้างขึ้นทั้งโดยตรงหรือโดยอ้อมในประเด็นทางสังคมต่างๆ เช่น การปกป้องสิทธิมนุษยช การส่งเสริมหลักความโปร่งใส (Transparency) ในการกำกับดูแลที่ดี (Corporate Governance) และหลักนิติธรรม การต่อต้านการทุจริต การจัดการกับผลกระทบของการติดสินบน และคอร์รัปชั่น ทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property) การปกป้องรักษาสิ่งแวดล้อมและจัดการทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งการพัฒนาอย่างยั่งยืน

การเข้าร่วม CPTPP ยังถูกมองเป็นโอกาสสำหรับเวียดนามในการปฏิรูปสถาบันและปรับปรุงระบบกฎหมาย ทำให้เวียดนามต้องแก้ไขกฎหมายจำนวนมากที่สัมพันธ์กับการปกป้องสิทธิมนุษยชน เช่น การให้สิทธิและเสรีภาพในการสมาคม (Freedom of Association) และการต่อรองร่วม (Collective Bargaining) รวมถึงสิทธิการจัดตั้งสหภาพแรงงานในสถานประกอบการและเป็นเรื่องใหม่สำหรับเวียดนาม ซึ่งปัจจุบันกลไกของสหภาพแรงงานเวียดนามมีความสัมพันธ์กับระบบการเมืองภายใต้การควบคุมของ VGCL (Vietnam General Confederation of  Labor) รวมถึงการพิจารณาแก้ไขกฎหมายที่ดินอันอาจกระทบต่อสิทธิชนกลุ่มน้อยจากการลงทุนอันเป็นผลจาก CPTPP ซึ่งนำไปสู่การบังคับโยกย้ายถิ่นฐาน จนก่อให้เกิดความไม่มั่นคงทางสังคมขึ้นได้

ผลกระทบที่เวียดนามกังวลไม่ต่างจากไทยที่สนใจเข้าร่วม แม้ CPTPP จะยืนยันว่าสิทธิทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property) ไม่ควรขัดขวางการปกป้องสุขภาพของประชาชน (CPTPP Articles : ๑๘.๖) เฉพาะอย่างยิ่ง สิทธิในการเข้าถึงยาสำหรับประเทศกำลังพัฒนาที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบทางลบต่อบริการสุขภาพแก่ประชากรเวียดนามที่มีรายได้ต่อหัวต่ำ แต่ต้องซื้อยาในราคาสูงอย่างไม่มีทางเลี่ยงจากการผูกขาดสิทธิบัตรยา (Evergreening Patent)

อาจเร็วเกินไปสำหรับเวียดนาม เพราะเป็นปีแรกของการดำเนินการที่จะชี้ว่า CPTPP ดีหรือไม่ดี สำเร็จหรือล้มเหลวเมื่อเทียบกับ FTA อื่นๆ แต่ชัดเจนว่า การเข้าร่วม CPTPP ซึ่งเป็น ๑ ใน ๑๖  FTA ที่มีผลหรืออยู่ระหว่างการเจรจาของเวียดนาม ทำให้เวียดนามกลายเป็นศูนย์กลาง FTA ระดับโลก คิดเป็นร้อยละ ๕๙ ของประชากรโลก หรือร้อยละ ๖๘ ของการค้าโลก ซึ่งช่วยเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของเวียดนาม และการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก เพราะการระบาดของ COVID – ๑๙ แต่ขึ้นอยู่ว่าเวียดนามจะสามารถใช้ประโยชน์ และโอกาสจาก  FTA มากมายที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดได้อย่างไร ?


อ้างอิงจาก :
– ”Hiệp định CPTPP: Cơ hội và thách thức đối với ngành Công đoàn Việt Nam”,
Tạp chí Công Thương, February 5, 2020.
http://www.tapchicongthuong.vn/bai-viet/hiep-dinh-cptpp-co-hoi-va-thach-thuc-doi-voi-nganh-cong-doan-viet-nam-71229.htm
– “Việt Nam sau 1 năm vào CPTPP: Nhiều con số còn khiêm tốn”
VOV, February 20, 2020.
https://vov.vn/kinh-te/viet-nam-sau-1-nam-vao-cptpp-nhieu-con-so-con-khiem-ton-1012355.vov
-“Bức tranh thương mại sau 1 năm Hiệp định CPTPP có hiệu lực”,
Bộ Kế hoạch và Đầu tư, January 15, 2020.
http://www.mpi.gov.vn/Pages/tinbai.aspx?idTin=45100&idcm=49
– “Bước vào cuộc chơi 10 nghìn tỷ USD, 1 năm 2 tín hiệu trái chiều”,
VietNamNet, February 18, 2020.
https://vietnamnet.vn/vn/kinh-doanh/dau-tu/1-nam-thuc-hien-cptpp-xuat-khau-tang-kha-dau-tu-giam-manh-617150.html
– “CPTPP đem lại gì cho Việt Nam sau 1 năm?”
Báo Hải Quan, January 16, 2020.
https://haiquanonline.com.vn/cptpp-dem-lai-gi-cho-viet-nam-sau-1-nam-118408.html


บทความล่าสุด

น้องหมีเนย Butterbear กับแฟนด้อมชาวไทยและจีน
น้องหมีเนย Butterbear กับแฟนด้อมชาวไทยและจีน

กุลนรี นุกิจรังสรรค์ ศูนย์จีนศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาฯ หลายคนคงรู้จักน้อง “หมีเนย” หรือ “น้องเนย” มาสคอตหมีสีน้ำตาลอายุ 3 ขวบ หน้าตาน่ารักน่าเอ็นดูจากร้าน Butter Bear Cafe แบรนด์ขนมในเครือของร้าน Coffee Beans by Dao ที่ตั้งอยู่ในห้าง Emsphere ชั้น G ซึ่งได้รับความชื่นชอบและได้รับการตอบรับเป็

กุลนรี นุกิจรังสรรค์
2567
-
ข้อเสนอเชิงนโยบาย “รู้อดีต เข้าใจปัจจุบัน สู่อนาคต ACMECS”
ข้อเสนอเชิงนโยบาย “รู้อดีต เข้าใจปัจจุบัน สู่อนาคต ACMECS”

บทความนี้เป็นการสรุปสาระสำคัญและข้อเสนอเชิงนโยบาย (Policy Recommendation) จากงานสัมมนา ACMECS FORUM เรื่อง “รู้อดีต เข้าใจปัจจุบัน สู่อนาคต ACMECS” ณ ห้องประชุม Social Innovation Hub อาคารวิศิษฐ์ ประจวบเหมาะ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๖๖ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. จัดโดย สถาบันเอเชียศึกษา

ดร.มุกดา ประทีปวัฒนะวงศ์
2567
กระแสเอเชีย
เมื่อจีนและไทยฟรีวีซ่า : ประโยชน์ ข้อกังวลและความท้าทายต่อไทย (ตอนที่ 2)
เมื่อจีนและไทยฟรีวีซ่า : ประโยชน์ ข้อกังวลและความท้าทายต่อไทย (ตอนที่ 2)

โดย ดร.กุลนรี นุกิจรังสรรค์ (บทความนี้มีเนื้อหาต่อเนื่องกับตอนก่อนหน้า >> เมื่อจีนและไทยฟรีวีซ่า : ประโยชน์ ข้อกังวลและความท้าทายต่อไทย (ตอนที่ 1)) 3. ความกังวลและความท้าทายของไทยเมื่อฟรีวีซ่าให้นักท่องเที่ยวจีน           นับแต่ไทยประกา

ดร.กุลนรี นุกิจรังสรรค์
2567
กระแสเอเชีย
เมื่อจีนและไทยฟรีวีซ่า : ประโยชน์ ข้อกังวลและความท้าทายต่อไทย (ตอนที่ 1)
เมื่อจีนและไทยฟรีวีซ่า : ประโยชน์ ข้อกังวลและความท้าทายต่อไทย (ตอนที่ 1)

โดย ดร.กุลนรี นุกิจรังสรรค์ ทุกท่านคงทราบข่าวการเดินทางมาไทยของ หวังอี้ (Wang Yi) ผู้ดำรงตำแหน่งสมาชิกกรมการเมือง ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการกลางด้านกิจการต่างประเทศแห่งพรรคคอมมิวนิสต์จีน และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของจีนเมื่อปลายเดือนมกราคม 2567 ที่ผ่านมาแล้ว การเดินทางมาในครั้

ดร.กุลนรี นุกิจรังสรรค์
2567
กระแสเอเชีย
วัฒนธรรม (ที่ไม่ชัดเจน) ว่าด้วยเงินบริจาคของพรรคการเมืองญี่ปุ่น
วัฒนธรรม (ที่ไม่ชัดเจน) ว่าด้วยเงินบริจาคของพรรคการเมืองญี่ปุ่น

โดย ดร.ทรายแก้ว ทิพากร                                                                                         พรรคการเมืองของทุกประเทศมีความจำเป็นต้องมีเงินทุนเพื่อให้สามารถเล่นบทบาททางการเมืองของตน แต่บทบาทของเงินทุนทางการเมืองเป็นเรื่องที่สุ่มเสี่ยงและเป็นอันตรายต่อการเมืองมากที่สุด ทุ

ดร.ทรายแก้ว ทิพากร
2567
กระแสเอเชีย