การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การจัดทำแนวทางความรับผิดชอบร่วมกันในการจ้างงานที่ดีและการพัฒนาแรงงานข้ามชาติอย่างมีจริยธรรม”
เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2563 ที่ห้อง 701 อาคารเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ศูนย์วิจัยการย้ายถิ่นแห่งเอเชีย สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ด้วยการสนับสนุนจากองค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน ร่วมกับสำนักจัดหางาน กระทรวงแรงงาน ผู้ประกอบการ ภาคประชาสังคม และสำนักงานจัดหางานจังหวัด จึงเห็นควรให้มีการจัดทำ”แนวทางความรับผิดชอบร่วมกันในการจ้างงานที่ดีและการพัฒนาฝีมือแรงงานข้ามชาติอย่างมีจริยธรรม” ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูล และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องคือ ผู้ประกอบการ ผู้นำเข้าแรงงาน เจ้าหน้าที่จัดหางาน เจ้าหน้าที่สวัสดิการแรงงาน ประชาสังคม และแรงงานในการจ้างงานแรงงานข้ามชาติใน 3 สาขาคือ สาขาการก่อสร้าง ส่าขาบริการและการดูแล และสาขาอุตสาหกรรม การจัดประชุมจะมีขึ้นใน 6 จังหวัดคือกรุงเทพ สมุทรสาคร ชลบุรี ภูเก็ตเชียงใหม่ และนครราชสีมา
จากความจำเป็นที่ประเทศไทยมีความขาดแคลนแรงงาน และมีความจำเป็นต้องมีการจ้างแรงงานข้ามชาติ(ไร้ฝีมือ) ของการผลิตหลายสาขา ทำให้ปัจจุบันมีแรงงานข้ามชาติทำงานอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ในการจ้างงานยังมีปัญหาของกระบวนการนำเข้าแรงงาน มีความแตกต่างในการจัดการ การจ้างและการดูแลสวัสดิการแรงงานของผู้ประกอบการที่แตกต่างกัน ขอบเขตความรับผิดชอบของผู้จัดหาแรงงาน ความรับผิดชอบและการเตรียมแรงงานข้ามชาติในการทำงานตามสัญญาจ้าง ตลอดจนโอกาสในการพัฒนาฝีมือแรงงานข้ามชาติ ถึงการเอารัดเอาเปรียบแรงงาน
ประเด็นในการแลกเปลี่ยนคือ 1) การรับสมัครและการจัดหาแรงงาน 2) สัญญาการจ้างงาน 3) การเตรียมความพร้อมของแรงงานก่อนการเดินทาง 4) การเดินทาง การเข้าเมือง และการคุ้มครอง 5) การเริ่มทำงาน 6) การตรวจสอบแรงงาน 7) การต่อสัญญา-การเลิกสัญญา 8) การพัฒนาทักษะแรงงาน 9) การร้องทุกข์-บทลงโทษ 10) กรณีฉุกเฉิน: การหยุดงาน การถูกเลิกจ้าง การจัดทำแนวทางความรับผิดชอบดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ในการพบปะและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้อง ทำให้การจ้างแรงงานข้ามชาติของไทยมีมาตรฐาน มีการจัดหาแรงงานอย่างรับผิดชอบ มีการดำเนินการที่ดี มีจริยธรรม และเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ที่อื่นๆได้ต่อไป