สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จัดวงสนทนาเชิงนโยบาย “Research and Policy Dialogue: ความท้าทายของสถานการณ์ขอทานข้ามชาติในประเทศไทย” ขึ้น เพื่อนำเสนอข้อค้นพบจากงานวิจัย เรื่อง “การศึกษาตัวตน ความคิด และการค้ามนุษย์ของขอทานข้ามชาติในประเทศไทย” โดยมี อ อนรรฆ พิทักษ์ธานิน เป็นผู้วิจัย ภายใต้โครงการวิจัยเรื่อง แกะรอยชีวิตชายขอบ: ความเสี่ยงและการฟื้นคืนภาวะปกติของกลุ่มคนนอกสายตารัฐ ในยุคเปลี่ยนย้ายหลังการระบาดของโควิด-19 ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการวิจัยภายใต้แผนงานอาเซียนในกระแสแห่งความพลิกผัน ระยะที่ 2 โดยการสนับสนุนของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช)
การประชุมประกอบด้วยภาคีภาครัฐ ภาควิชาการ ภาควิจัย และภาคประชาสังคม ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช) สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง สำนักงานกฤษฎีกา มูลนิธิเอ-ทเว้นตี้วัน ฝ่ายเทศกิจกรุงเทพมหานคร กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการควบคุมการขอทาน มาร่วมกันทบทวนสถานการณ์การขอทานในปัจจุบัน เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงเพื่อการปรับปรุง พระราชบัญญัติควบคุมการขอทาน ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ต่อไป
อังคารที่ 31 ตุลาคม 2566 เ
วลา 09.30 น.
ณ ห้องราชดำเนิน โรงแรมรอยัลปริ้นเซส หลานหลวง
