… เชิญผู้สนใจติดตามสถานการณ์การเมืองพม่า ร่วมเสวนารำลึกวาระครบรอบ 34 ปี เ เหตุการณ์ uprising ของขบวนการนักศึกษาพม่า เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1988 (หรือเหตุการณ์ 8888) และร่วม “รัฐพิธีศพ” ผ่านบทกวีแด่โก่ จิมมี่ (จ่อ มิน ยู) ผู้นำนักศึกษาในปี 1988 ผู้กลายเป็นนักโทษประหารคนแรกในการต่อต้านเผด็จการรอบใหม่ เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2022
สามารถลงทะเบียนผ่าน QR code
การเสวนาใช้ภาษาไทย โดยมีล่ามแปลเป็นภาษาพม่า และภาษาอังกฤษ
ร่วมสนทนาแลกเปลี่ยนกับ
– สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี
– ลลิตา หาญวงษ์
– ศิรดา เขมานิฏฐาไท
– นฤมล ทับจุมพล (ผู้ดำเนินรายการ)
อ่านบทกวี
ศิลปะการแสดงสด

” ၈၈၈၈ အရေးတော်ပုံတွင် ကျဆုံးခဲ့သော သူရဲကောင်းများကို ဂုဏ်ပြု အထိမ်းအမှတ်
“မြန်မာနိုင်ငံ တော်လှန်သမိုင်း ၈၈၈၈ အရေးတော်ပုံ (၃၄) နှစ်ပြည့် ဂုဏ်ပြု အထိမ်းအမှတ် စကားဝိုင်းတွင် ပါဝင်ဆွေးနွေးဖို့ SEM နှင့် အဖွဲ့အစည်းများမှ လေးစားစွာ ဖိတ်ခေါ်ပါတယ်ရှင်။
စကားဝိုင်းဆွေနွေးပွဲ အစီအစဉ်
• Supalak Ganjanakhundee
• Lalita Hanwong
• Sirada Khemanitthathai
• Naruemon Thabcumpol (Moderator)
ကဗျာရွတ်ဖတ်ခြင်း Performance Art Zoom မှတစ်ဆင့် ပါဝင်ရန် စာရင်းပေးနိုင်ပါတယ်ရှင်။ (ထိုင်း-မြန်မာ ဘာသာဖြင့်)
จัดรำลึก #เหตุการณ์8888 ต้าน #เผด็จการพม่า คึกคัก นักวิชาการจี้รัฐบาลไทยแสดงบทบาทมากกว่านี้…………………ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันที่ 8 สิงหาคม 2665 จะครบ 34 ปี เหตุการณ์ที่ประชาชนและพระสงฆ์ในประเทศพม่านับแสนคนลุกขึ้นประท้วงรัฐบาลทหารพม่า โดยมีนักศึกษาเป็นแกนนำ หรือที่รู้จักกันดีและเรียกสั้นๆว่าเหตุการณ์ 8888 (วันที่ 8 เดือน 8 คศ.1988) ซึ่งได้เกิดการนองเลือดและมีผู้เสียชีวิตนับพันคนจากการปราบปรามของทหารพม่า โดยในหลายพื้นที่ในประเทศไทยจะมีการจัดกิจกรรมรำลึกเหตุการณ์ดังกล่าว เช่น กลุ่มนักกิจกรรมในเชียงใหม่ได้จัดงานรำลึกประวัติศาสตร์ขึ้นที่ประตูท่าแพ จ.เชียงใหม่ เวลา 17.00-19.00 น. กลุ่มภาคีเพื่ออิสรภาพแห่งพม่าจัดเสวนาทางระบบซูม และถ่ายทอดสดทางเฟสบุค เพื่อสนับสนุนการต่อสู้ประชาธิปไตยในพม่า เวลา 20.00 น.
– รศ.นฤมล ทับจุมพล อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ และรองผู้อำนวยการสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ในวันที่ 8 สิงหาคม สถาบันเอเชียศึกษาร่วมกับเสมสิขาลัย คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตยในพม่าและสำนักข่าวชายขอบ จัดเสวนาออนไลน์เพื่อรำลึกถึงผู้เสียสละที่ล่วงลับ 8888 ซึ่งการจัดงานในปีนี้มีความสำคัญเพราะมีนัยสำคัญเนื่องจากรัฐบาลทหารพม่าเพิ่งสั่งประหารแกนนำที่ออกมาคัดค้านการทำรัฐประหารในพม่า ซึ่งบางคนคืออดีตนักศึกษารุ่น 8888รศ.นฤมลกล่าวว่า ในส่วนของสังคมไทย ภาคประชาสังคมมักรับรู้สถานการณ์ในพม่าได้ดีกว่ารัฐบาล ขณะที่นานาชาติก็รู้สึกถึงเรื่องการแขวนคอประหารชีวิต ทำให้อาเซียนออกแถลงการณ์ที่ค่อนข้างแรง แต่กลับยังไม่มีท่าทีที่ชัดเจนจากรัฐบาลไทย อย่างไรก็ตามการประหารชีวิตผู้ที่ไม่เห็นด้วยครั้งนี้ได้สะท้อนให้เห็นว่าแม้แต่อาเซียนเองก็ยังไม่สามารถทำอะไรได้มาก เราหวัวว่ารัฐบาบไทยจะมีนโยบายที่ดีออกมา ที่สำคัญรัฐบาลไทยควรมีแถลงการณ์ถึงรัฐบาลบพม่าออกมาเช่นกัน“รัฐบาลต้องเตรียมรับมือให้ดี เพราะครั้งนี้มีผู้ที่เข้ามาในไทยจำนวนมาก ไม่แน่ใจว่าสภาความมั่นคงแห่งชาติได้จัดเตรียมแผนไว้หรือยัง ทั้งผู้หนีภัยการสู้รบ ผู้หนีภัยการเมือง แรงงานข้ามชาติ บางทีอาจต้องดูตัวอย่างจากผู้หนีภัยในยูเครนว่ารัฐบาลประเทศโดยรอบเขาจัดการกันอย่างไร คุณไม่ต้องเข้าไปแทรกแซงการเมืองก็ได้ แต่เรื่องมนุษยธรรมควรช่วยเหลืออย่างเต็มที่ ไม่ใช่แค่ให้อาหารแล้วรีบผลักดันเขากลับแล้วมาบอกว่าได้ให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแล้ว รัฐบาลไทยควรเปลี่ยนแปลงท่าทีในเรื่องนี้” รศ.นฤมล กล่าวด้านนายอองซอ (นามสมมุติ) อดีตนักศึกษา 8888 กล่าวว่า การจัดกิจกรรมเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ 8888 ในปีนี้มีความตื่นตัวกว่าปีก่อนๆ เนื่องจากสถานการณ์การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในพม่ามีความเข้มข้นมาก แตกต่างจากเมื่อ 34 ปีก่อน เพราะครั้งนั้นบริเวณชายแดนไม่ได้มีการสู้รบหรือการประหัตประหารจากเผด็จการทหารพม่า แต่ครั้งนี้ประชาชนทุกสาขาอาชีพในพม่าตั้งแต่ในกรุงย่างกุ้งจนถึงชายแดนต่างลุกขึ้นมาต่อสู้กับทหารพม่า“ตอนปี 1988 เผด็จการทหารพม่ายังคุมได้หมด แต่ครั้งนี้เขาคุมไม่ได้ แม้แต่ผู้สื่อข่าวก็ต้องหนีออกมานอกประเทศเพราะทหารพม่าคุมไม่ได้ เราอยากเรียกร้องให้นานาชาติช่วยกันสนับสนุนขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตยในพม่าครั้งนี้ และอยากให้ชาวพม่าทุกคนลุกขึ้นสู้จนกว่าจะได้ประชาธิปไตยและสันติภาพกลับคืนมา” นายอองซอ กล่าว https://transbordernews.in.th/home/?p=32143