ศูนย์แม่โขงศึกษา (CUMSC) และคลัสเตอร์เมียนมาศึกษา ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านแม่โขงศึกษา (CEMS) สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดให้มีเวทีสนทนา “แม่โขง คอนเวอร์เซชั่น” (Mekong Conversation) เรื่อง “เลือกตั้ง ๒๕๖๓ บททดสอบ ออง ซาน ซูจี และการเปลี่ยนผ่านทางการเมืองเมียนมา” ขึ้นเมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๓ ให้นักวิจัย และผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานรัฐและเอกชน ร่วมกันวิเคราะห์ แลกเปลี่ยนความเห็นต่อสถานการณ์การเลือกตั้งในเมียนมา ความท้าทายในการเปลี่ยนผ่านทางการเมืองสู่ความเป็นประชาธิปไตย และนัยสำคัญต่อไทยในฐานะประเทศเพื่อนบ้านโดยมีผู้บริหารระดับสูงและผู้แทนหน่วยงานรัฐและเอกชนเข้าร่วม เช่นกรมเอเชียตะวันออก กระทรวงการต่างประเทศ, สถาบันความมั่นคงศึกษา สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติสำนักงานข่าวกรองแห่งชาติ, ศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์ สถาบันวิชาการป้องกันประเทศศูนย์ประสานงานแม่น้ำโขงปลอดภัย, สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนและสภาธุรกิจไทย-เมียนมา เป็นต้น.
แม่โขง คอนเวอร์เซชั่น เป็นแทร็ก พัฒนาจากเวทีประชุมสนทนาซึ่งศูนย์แม่โขงศึกษา เคยจัดร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ ออกแบบสำหรับส่งเสริมการวิเคราะห์ และแลกเปลี่ยน“ความเห็นเชิงนโยบาย” (Policy lab )ในประเด็นเกี่ยวกับอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงรูปแบบ “เวทีสนทนาวงปิด” (Afternoon-half-day closed-door meeting)ระหว่างนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันการศึกษาหน่วยงานรัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง.แม่โขง คอนเวอร์เซชั่น ให้ความสำคัญกับ“การคิดเชิงกลยุทธ” (Strategic thinking)และการค้นหาแนวทางแก้ไขที่เป็นไปได้ต่อสถานการณ์ที่เป็นปัญหาเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นที่มักไม่ได้รับคำตอบหรือมีความละเอียดอ่อนด้วยการสร้างบทสนทนาเพื่อค้นหาคำตอบที่มีความเป็นไปได้จากความคิด ประสบการณ์และความเชี่ยวชาญของผู้เข้าร่วมเวทีสนทนา ซึ่งจะเพิ่มขีดความสามารถของประเทศในการคิด วิเคราะห์ และพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ๆค้นหาแนวทางที่เป็นไปได้ในการแก้ไขปัญหา คาดการณ์และป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้น
เวทีสนทนามีความเห็นว่าการเลือกตั้งครั้งนี้ ออง ซาน ซูจี ในฐานะผู้นำ NLD ต้องเผชิญแรงเสียดทานทั้งจากปัจจัยภายนอกและภายในที่ไม่สามารถแก้ไขความขัดแย้งระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ และกระบวนการสันติภาพที่หยุดชะงักลงรวมทั้งปัญหาโรฮิงญาทำให้คะแนนนิยมในกลุ่มชาติพันธุ์ลดลง ดังนั้น NLD อาจไม่สามารถครองเสียงพอจะจัดตั้งรัฐบาลเสียงข้างมากได้ ทำให้พรรคการเมืองเล็กๆ กลายเป็น “King’s Maker” ผู้ชี้ชะตาในการจัดตั้งรัฐบาลที่มีแนวโน้มเป็น “รัฐบาลผสม” !.ผลผลิตของ แม่โขง คอนเวอร์เซชั่น เช่น เรื่อง“เลือกตั้ง ๒๕๖๓ บททดสอบ ออง ซาน ซูจี และการเปลี่ยนผ่านทางการเมืองเมียนมา” ในครั้งนี้จะอยู่ในรูปของข้อเสนอเชิงนโยบาย (Policy brief)และคำแนะนำสำหรับปัญหาโดยการสื่อสารกับผู้กำหนดนโยบาย และสาธารณะเพื่อมุ่งสู่การนำไปปฏิบัติ.
กิจกรรมของ แม่โขง คอนเวอร์เซชั่นยังประกอบไปด้วยหนังสือ (E-book)บทความข้อคิดเห็น (Commentaries) จดหมายข่าวอิเล็กทรอนิกส์ (E-letter)
จัดส่งแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สื่อและผู้สนใจทุกเดือนโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย.ผู้สนใจสามารถติดต่อ :คุณกิตติกา ฦาชา
ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านแม่โขงศึกษาโทร. ๐๒-๒๑๘-๗๔๖๑โทรสาร ๐๒-๒๑๘-๗๔๕๙ Email : kittika_om@hotmail.com