Vol. 40 No. 2 (2019) July – December
ชื่อวารสาร เอเชียปริทัศน์ ปีที่ 40/2 (2562) สังคมพหุลักษณ์และความหลากหลายในเอเชีย
ผู้แต่ง กนกพรรณ อยู่ชา
ปีที่พิมพ์ 2562
เอเชียปริทัศน์ ปีที่ 40/2 (2562) สังคมพหุลักษณ์และความหลากหลายในเอเชีย ปีที่ 40 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธัันวาคม 2562
บทบรรณาธิการ
แนวคิดสังคมพหุลักษณ์หรือพหุวัฒนธรรมได้แพร่หลายไปทั่วโลกมากขึ้น หลัก คิดสําคัญของแนวคิดนี้ คือ สิทธิและเสรีภาพของผู้คน ส่งเสริมการยอมรับในความ หลากหลายทางวัฒนธรรม เปิดพื้นที่ให้แต่ละวัฒนธรรมได้มีพื้นที่และส่งเสริมเข้าถึง สิทธิและอํานาจทางการเมืองอย่างเท่าเทียมกัน โลกในปัจจุบันมีความสลับซับซ้อน มากขึ้น หลายประเทศแนวคิดสังคมพหุลักษณ์กลายเป็นประเด็นร่วมและเผชิญกับ ปัญหาและความท้าทายมากมายจากหลายสาเหตุอาทิ ความท้าทายที่เกิดจากปัจจัย ทางการเมืองของการยอมรับซึ่งกันและกัน ปัจจัยทางวัฒนธรรม อัตลักษณ์และสิทธิ ของกลุ่มชาติพันธ์ ปัจจัยทางเศรษฐกิจ เป็นต้น เพื่อทําความเข้าใจบริบทสังคมที่มี ความหลากหลายในสถานการณ์ดังกล่าว เอเชีปริทัศน์ฉบับนี้ จึงนําเสนอบทความการ วิเคราะห์ที่สะท้อนมุมมองมโนทัศน์ ข้อถกเถียง และข้อท้าทาย ของสังคมพหุลักษณ์ ทางสังคมและวัฒนธรรม และพหุลักษณ์ทางการเมืองในเอเชีย และการจัดการความ รู้เกี่ยวกับภัยพิบัติใน ประเทศญี่ปุ่น
บทความแรกว่าด้วย “วัฒนธรรมการเมืองไทยกับหลักนิติธรรม” เป็นการ ศึกษาความสืบเนื่องและความเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมทางการเมืองของไทย เพื่อ ที่จะช่วยให้เข้าใจลักษณะสําคัญของ “วัฒนธรรมทางการเมือง” ซึ่งเป็นแบบแผนทาง ความคิดและพฤติกรรมทางการเมืองของคนกลุ่มต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปตามบริบท ทางสังคม ในขณะที่ “หลักนิติธรรม” เป็นการศึกษาการจัดความสัมพันธ์เชิงอํานาจใน ระบอบเสรีประชาธิปไตยที่ยึดหลักกฎหมาย ความชอบธรรม และความเสมอภาค และ เพื่อแสดงให้เห็นว่า “วัฒนธรรมการเมือง” มีทั้งส่วนที่เป็นอุปสรรคต่อการใช้ “หลัก นิติธรรม” ที่ควรจะได้รับการปฏิรูป และส่วนที่เอื้อต่อการยึดมั่นในหลักนิติธรรมที่ควร ได้รับการพัฒนาให้แข็งแกร่งมากขึ้น อาทิ การเกิดเครือข่ายที่มีลักษณะเสมอภาคเพื่อ สร้างอํานาจต่อรอง การเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง การเกิด “จิตสํานึกใหม่” ใน หมู่ประชาชน เป็นต้น และเสนอแนวทางในการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมทางการเมือง ไทยเพื่อให้หลักนิติธรรมมีความสําคัญในรัฐไทย
“ชนพื้นเมือง: มโนทัศน์และข้อถกเถียง” เป็นการนําเสนอที่มา การปรับ เปลี่ยน และข้อโต้แย้ง มโนทัศน์และปรากฏการณ์เกี่ยวกับ “ชนพื้นเมือง” (Indigenous People) มานิ (ซาไก) จากมุมมองผู้กําหนดนโยบายด้านสิทธิมนุษยธรรม และนักวิชาการด้านมานุษยวิทยาสังคม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยเรื่อง “การ จัดการทางวัฒนธรรมชนพื้นเมือง (มานิ) ของประเทศมาเลเซียและประเทศไทย ซึ่ง บทความนี้จะช่วยให้เข้าใจเรื่องสิทธิวัฒนธรรมของชนพื้นเมืองด้วยมุมมองที่แตก ต่างกัน ความเป็นตัวตน และการดํารงอยู่ของชนพื้นเมืองได้ชัดเจนขึ้นภายใต้รัฐชาติ ปัจจุบันที่ชนพื้นเมืองอาศัยอยู่
“การเลือกตั้งอินเดีย 2019 : สมรภูมิการเมืองยังเป็นเรื่องท้าทาย” เป็นการ นําเสนอเกี่ยวกับการเลือกตั้งทั่วไปของประเทศอินเดียในปี 2019 ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ และสะท้อนให้เห็นปรากฏการณ์ทางการเมือง และการต่อสู้ของพรรคการเมืองต่างๆ ในการช่วงชิงฐานเสียงทางการเมือง โดยการเปรียบเทียบผลการเลือกตั้งทั่วไปในปี 2014 และ 2019 บทเรียนทางการเมืองเพื่อสะท้อนจุดอ่อนและจุดแข็งของแต่ละ พรรคการเมือง รวมทั้งปัจจัยแวดล้อมและผลการเลือกตั้งระดับรัฐเพื่อมองอนาคตของ การเมืองอินเดียว่าจะเป็นไปในทิศทางใด อย่างไร และการดําเนินนโยบายแบบไหน อีก ทั้งยังสะท้อนให้เห็นกลยุทธ์ทางการเมืองของ แต่ละพรรคในการแย่งชิงพื้นที่ทางการ เมือง โดยเฉพาะระหว่างพรรคภาร์ตติยะซะนะ ตะ(BIP) และพรรคคองเกรสแห่งชาติ
“บ้านและมัสยิดในหมู่บ้านน้ํา(กัมปงไอร์) : ภาพสะท้อน วัฒนธรรมมลายู มุสลิม ในประเทศบรูไนดารุสซาลาม” การศึกษาบ้านและมัสยิดในหมู่บ้านน้ํา หรือ คนท้องถิ่น เรียกว่า “กัมปงไอร์” ในประเทศบรูไน ดารุสซาลาม ที่สะท้อนวิถีการ ดําเนินชีวิตและวัฒนธรรมตามแบบมลายู แม้แต่สถาปัตยกรรมโครงสร้าง บ้าน การ จัดสรรพื้นที่ใช้สอยในบ้าน การจัดแต่งบ้าน ก็สะท้อนค่านิยม และจารีตวัฒนธรรม มุสลิมบางสิ่งดูเข้มแข็งขณะที่บางสิ่งก็ผ่อนปรนเปลี่ยนแปลงตามการสรรค์สร้างสิ่ง แวดล้อมและโลกสมัยใหม่ ที่แสดงออกทั้งในแบบรูปธรรมและนามธรรมเป็นสิ่งสะท้อ นนการรับรู้พื้นที่ในทางกายภาพ ทางสังคม และทางจิตใจ นอกจากนี้ ยังมีสัญลักษณ์
ที่สะท้อนถึงปรัชญาการปกครองประเทศ 3 ประการ อันเป็นแนวความคิดพื้นฐาน ของบรูไน ที่เรียกว่า MIB: Malayu Islam Beraja หรือ ความเป็นมาลายู (Melayu) ความศรัทธาในศาสนาอิสลาม(Islam) และ การเทิดทูนต่อสถาบันกษัตริย์ (Beraja)
“โบซะอิเคียวอิก”: การให้ความรู้เกี่ยวกับภัยพิบัติใน ประเทศญี่ปุ่น บทความ “โบซะอิเคียวอิก” เป็นการนําเสนอภาพรวมเกี่ยวกับแนวทางการเสริม สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภัยพิบัติในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นที่รู้จักภายใต้คําว่า “โบชะอิเคียวอิก” เป็นเสมือนกุญแจสําคัญประการหนึ่งที่นํามาสู่ความสําเร็จในการ รับมือกับภัยพิบัติของประเทศญี่ปุ่น และโบซะอิเคียวอิกเป็นทั้งการศึกษาเพื่อการ พัฒนาที่ยั่งยืน และการศึกษาตลอดชีพ เนื่องจากเป็นการเสริมสร้างความรู้ให้เกิดขึ้น ทั้งในเด็ก เยาวชน และผู้ใหญ่ ในรูปแบบของการให้การศึกษาแบบองค์รวม ภายใต้ แนวความคิด “เด็กรู้ผู้ใหญ่ทํา” เพื่อก่อให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืน ปัจจุบันญี่ปุ่นเป็น ประเทศหนึ่งที่ให้ความสําคัญกับการศึกษาและการสร้างองค์ความรู้เพื่อเตรียมพร้อม รับมือกับภัยพิบัติจนเป็นที่ประจักษ์แก่นานาประเทศ
กนกพรรณ อยู่ชา
บรรณาธิการประจําฉบับ