
ศูนย์เอเชียใต้ศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ สถานเอกอัครราชทูตบังคลาเทศประจำประเทศไทย
ขอเชิญร่วมงานเฉลิมฉลอง “50 ปีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการฑูตระหว่างไทยกับบังคลาเทศ” ในกิจกรรม
เปิดตัวหนังสือแปลฉบับภาษาไทย “บันทึกความทรงจำที่ไม่สิ้นสุด” (The Unfinished Memoirs) ของท่านซีค มูญีบุร เราะฮมาน (Sheikh Mujibur Rahman) บิดาแห่งชาติบังกลาเทศ
วันที่: 25 สิงหาคม 2022
เวลา: 9:30-12:00 น.
สถานที่: ห้อง 105 อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ ประเทศไทย
Facebook Live : https://fb.watch/f8809enimn/
ที่มา facebook Book Around
“ #บันทึกความทรงจำที่ไม่สิ้นสุด” (The Unfinished Memoirs) ของท่านซีค มูญีบุร เราะฮมาน (Sheikh Mujibur Rahman) #บิดาแห่งชาติบังกลาเทศ มีการเปิดตัวฉบับแปลภาษาไทย ประเทศไทยเป็นประเทศแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่แปลงานชิ้นสำคัญเล่มนี้ โดย ศูนย์เอเชียใต้ศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ สถานเอกอัครราชทูตบังกลาเทศ ประจำประเทศไทยว่าด้วย “ความสัมพันธ์ 50 ปี ระหว่างไทยและบังกลาเทศ” และมีการเปิดตัวหนังสือวันที่ 25 สิงหาคม 2565 ณ ห้อง 105 อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เวลา 09.30 – 12.00 น.
“พ่อของข้าพเจ้า บังกาพันธุ์ ซีค มูญีบุร เราะฮมาน จำต้องใช้เวลาอันมีค่าส่วนใหญ่ของชีวิตไปในเรือนจำ ด้วยเหตุที่ท่านได้มีส่วนร่วมเคลื่อนไหวเพื่อทวงคืนสิทธิของประชาชนจากกลุ่มคนที่ฉกชิงมันไป ท่านจำต้องฝืนทนกับการถูกจองจำครั้งแล้วครั้งเล่า กระนั้น ท่านก็ไม่เคยทอดทิ้งอุดมการณ์ของตัวเอง ท่านไม่เคยประหวั่นแม้ว่าจะต้องถูกแขวนคอ ชั่วชีวิตของท่านมีแต่เรื่องการทำประโยชน์เพื่อประชาชนอยู่ในหัวใจ ความทุกข์ยากของประชาชนคือสิ่งที่ทำให้หัวใจของท่านหม่นหมอง คำมั่นหนึ่งเดียวที่ท่านยึดถือคือการนำรอยยิ้มมาสู่ดวงหน้าของชาวบังกลาที่ยากไร้และสร้างเบงกอลให้เป็นแผ่นดินทอง ท่านเชื่อว่าการเข้าถึงสิทธิพื้นฐานทางด้านอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย การศึกษา และสุขอนามัยที่ดี จะทำให้ประชาชนสามารถมีชีวิตที่มีศักดิ์ศรี #ความคิดหนึ่งที่อยู่ในห้วงคำนึงของท่านเสมอมาคือการปลดปล่อยประชาชนให้พ้นจากพันธการของความยากจน” (จากหน้า คำนำ ในหนังสือ)
ผศ. ดร.จิรยุทธ์ สินธุพันธุ์ ผู้อำนวยการศูนย์เอเชียใต้ศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงการทำงานแปล การบรรณาธิการ หนังสือเล่มนี้ ในฐานะที่เป็นหนึ่งในคณะนักแปล ได้ทำงานร่วมกับคณะทำงานเป็นเวลาหลายปี ผลงานเล่มนี้จึงมีความสำคัญต่อชีวิตและการทำงานแปล ไม่ใช่เฉพาะการแปลหรือถ่ายทอดจากภาษาหนึ่งมาสู่อีกภาษาหนึ่งเท่านั้น แต่ #บันทึกความทรงจำที่ไม่สิ้นสุด ยังมีเรื่องของความคิด อารมณ์ความรู้สึก หัวใจ และจิตวิญญาณ ปรากฏให้ผู้อ่านซึมซับรับรู้
“วันหนึ่งขณะที่นั่งอยู่ด้วยกันในห้องภายในเรือนจำ ภรรยาของข้าพเจ้าก็พูดขึ้นว่า ‘ในเมื่อตอนนี้เธอว่างอยู่ก็น่าจะลงมือเขียนเรื่องราวชีวิตของเธอได้แล้ว’ … เรณู ภรรยาของข้าพเจ้านำสมุดบันทึกมาเพิ่มให้โดยทิ้งไว้กับผู้คุมเรือนจำ ผู้คุมตรวจสอบสมุดทุกเล่มอย่างถี่ถ้วนก่อนจะอนุญาตให้ข้าพเจ้าเก็บไว้ … #เรณูย้ำกับข้าพเจ้าอีกครั้งว่าสมุดบันทึกเหล่านี้มีไว้เพื่ออะไร#วันนี้จึงเป็นวันที่ข้าพเจ้าเริ่มลงมือเขียนบันทึกความทรงจำ” (จากหนังสือ หน้า 31) .
Mr. Radwan Mujib Siddiq หลานชายของ ท่านซีค มูญีบุร เราะฮมาน ซึ่งเดินทางจากบังกลาเทศ เพื่อมาร่วมในงานเปิดตัวหนังสือที่กรุงเทพฯ ขึ้นกล่าวแนะนำหนังสือ และเล่าถึงความทรงจำที่ไม่สิ้นสุดในฐานะหลานชาย ผ่านมุมมองของตัวเองตั้งแต่ตอนเป็นเด็ก ว่าเขาเกิดในห้าปีถัดมา (ค.ศ.1980) หลังจากที่ ท่านซีค มูญีบุรฯ #สถาปนิกผู้สร้างชาติบังกลาเทศและบิดาแห่งชาติ (จากหนังสือหน้า 27) ได้ถูกลอบสังหารโดยกลุ่มทหารกบฏที่ทะเยอทะยาน เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ.1975 หนังสือเล่มนี้จึงเป็นแนวคิดหนึ่งที่จะเชื่อมผู้คนและผู้อ่านไปยังท่านซีคฯ ซึ่งที่ผ่านมาหลายรุ่นของคนในประเทศไม่เคยได้รู้เพราะไม่ได้ต้องการให้คนเข้าถึงเรื่องราวของท่าน การจะเข้าใจบังกลาเทศได้ หนึ่งในนั้นคือการศึกษาและทำความเข้าใจชีวิตของบิดาแห่งชาติ ซึ่งเรื่องราวของท่านมีค่าต่อการศึกษาไม่เฉพาะแต่คนในครอบครัว บันทึกความทรงจำไม่สิ้นสุด เล่มนี้ยังเป็นบันทึกความทรงจำของคนหนุ่มคนสาวและคนรุ่นต่อ ๆ มา เพื่อเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของชาติและผู้ที่นำพาเอกราชมาสู่ประเทศ นี่คือบันทึกการเดินทางของชีวิต เต็มไปด้วยปรัชญาทางการเมือง ประสบการณ์ชีวิต การเสียสละ และยังมีเรื่องราวความผูกพันของคนในครอบครัว ที่ท่านมีต่อภรรยา ลูก ๆ และพี่น้อง ในฐานะสามี พ่อ พี่ชาย ชีวิตของท่านที่หมดไปกับการถูกจองจำในคุก และมีภรรยาผู้เป็นคนบอกว่าจงเขียนเรื่องของคุณออกมา .
“วันที่ 28 มกราคม ฆาตกรทั้งห้าคนถูกประหารชีวิต ผู้ลอบสังหารคนหนึ่งเสียชีวิตขณะหลบหนีคดีในต่างประเทศ อีกหกคนยังคงหลบหนีในต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ในที่สุดคำเรียกร้องให้นำกลุ่มฆาตกรมาเข้าสู่การพิจารณาคดีก็ได้ดำเนินการหลังจากที่ท่านมูญีบฺและสมาชิกในครอบครัวถูกฆาตกรรมมากว่าสามสิบห้าปี … วันที่ 15 สิงหาคม 1975 คือวันมหาวิปโยคในประวัติศาสตร์ของบังกลาเทศ เป็นวันที่คนทั้งชาติร่วมรำลึกในฐานะ ‘ #วันแห่งการไว้ทุกข์แห่งชาติ’ …” (จากหนังสือ หน้า 28) .
สามารถสอบถามสั่งซื้อหนังสือและชมการกล่าวของแต่ละท่านเพิ่มเติมได้จากเพจ ศูนย์เอเชียใต้ศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย https://www.facebook.com/CUSouthAsianStudies/videos/3350087771943252.
Reported by : Nonglak B.25.August.2022