Search
Call Center : 0-2251-5199 E-Mail Facebook Page
Language
Thai Language English Language
Publication Program - Institute of Asian Studies, Chulalongkorn University
วารสารเอเชียปริทัศน์ปีที่ 36/1 (2558)  ความหลากหลายทางสังคมในเอเชีย
ชื่อวารสาร
วารสารเอเชียปริทัศน์ปีที่ 36/1 (2558) ความหลากหลายทางสังคมในเอเชีย
ผู้แต่ง
กนกพรรณ อยู่ชา บรรณาธิการ, ขนิษฐา คันธวิชัย ผู้ช่วยบรรณาธิการ
ปีที่พิมพ์
2558
ราคา
150 บาท

ความหลากหลายทางสังคมในเอเชีย

บทความที่ตีพิมพ์ในเอเชียปริทัศน์ ฉบับที่ 1/2558 ในครั้งนี้ เป็นการนำ เสนอ
บทความที่ว่าด้วย ประเด็นทางสังคมและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การเมืองและภูมิภาค
นิยมภายใต้กระบวนการภูมิภาคภิวัตน์ในเอเชีย
บทความทั้ง 5 เรื่องที่นำ มาตีพิมพ์นี้มี 3 เรื่องที่ว่าด้วย ประเด็นทางสังคมและการ
พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในมิติที่แตกต่างกัน อันได้แก่ “การศึกษาและการพัฒนาแรงงาน
เด็กต่างชาติ” ผู้เขียนได้นำ เสนอการเข้าถึงการศึกษาของเด็กต่างชาติ ซึ่งเป็นแรงงานย้าย
ถิ่น โดยชี้ให้เห็นว่า แรงงานเด็กและเยาวชนต่างชาติเหล่านี้สามารถเข้าถึงการศึกษาภาค
บังคับของรัฐไทยได้โดยไม่มีปัญหาใดๆ แต่หลักสูตรอาจจะไม่เหมาะสมสำ หรับกลุ่มคน
เหล่านี้ เนื่องจากการศึกษาที่เยาวชนและเด็กต่างชาติต้องการอาจเป็นเพียงเพื่อการสื่อสาร
เบื้องต้น การฝึกทักษะ และการศึกษาสายอาชีพที่มีรูปแบบที่หลากหลายสอดคล้องกับ
ความต้องการของตลาดแรงงาน ทั้งนื้เพื่อนำ ไปสู่ความมั่นคงทางสังคมของแรงงานย้ายถิ่น
“การพัฒนาความเป็นพลเมืองสิงคโปร์” ผู้เขียนได้แสดงให้เห็นถึง แนวคิดการปลูกฝังความ
เป็นชาติเพื่อการสร้างความเป็นพลเมืองของประเทศสิงคโปร์ ซึ่งเป็นปัจจัยสำ คัญที่ทำ ให้
ประเทศสิงคโปร์ประสบความสำ เร็จในการก้าวขึ้นมาเป็นประเทศที่พัฒนา มีเสถียรภาพทั้ง
การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมระดับประเทศชั้นนำ ของอาเซียน ปัจจัยสำ คัญที่ส่งเสริมให้
ประเทศสิงคโปร์ประสบผลสำ เร็จ ก็คือ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ด้วยความขาดแคลน
ทรัพยากรธรรมชาติ แต่ทรัพยากรเพียงอย่างเดียวที่ผู้นำ สิงคโปร์เห็นมีค่าที่สุดและเป็นกำ ลัง
สำ คัญต่อความสำ เร็จจากอดีตจวบจนปัจจุบัน ก็คือ คน ดังนั้น การสร้างชาติด้วยการปลูก
ฝังความเป็นพลเมืองสิงคโปร์ ภายใต้เงื่อนไขความเป็นพหุสังคมที่มีความหลากหลายทาง
ด้านเชื้อชาติ ภาษาและวัฒนธรรม จึงเป็นสิ่งสำ คัญ เพื่อทำ ให้แต่ละเชื้อชาติไม่รู้สึกถูกแบ่ง
แยกนึกเสมอว่าตนนั้นเป็นชาวสิงคโปร์มีความเสมอภาคและเท่าเทียมกัน โดยผ่านนการ
ศึกษาและนโยบายด้านต่างๆ ซึ่งเป็นเรื่องท้าทายสำ หรับสิงคโปร์ขณะนั้น “No Language,
No Culture, No Identity : Awareness of the Indian Diaspora in Thailand” ผู้
เขียนได้นำ เสนอ ความตระหนักในอัตลักษณ์ของชาวอินเดียโพ้นทะเลในประเทศไทย ภาย
ใต้กระแสโลกาภิวัตน์ที่ส่งผลกระทบต่อความถดถอยของภาษาแม่และวัฒนธรรมดั้งเดิม
ด้วยเหตุนี้ ชาวอินเดียเหล่านี้จึงส่งเสริมให้ลูกหลานอินเดียโพ้นทะเลได้ตระหนักถึงความ
สำ คัญในอัตลักษณ์ทางด้านศาสนา ภาษา และวัฒนธรรมด้วยการจัดกิจกรรมต่างๆ ขึ้นมา
สำ หรับอีก 2 บทความ เป็นประเด็นความสัมพันธ์การเมืองและความมั่นคงของ
ภูมิภาคในเอเชีย ปรากฏชัดเจนในบทความ “สื่อออนไลน์กับพลวัตทางการเมืองของ
กัมพูชา” ที่แสดงให้เห็น การใช้ประโยชน์จากสื่อออนไลน์ในการสร้างพื้นที่ทางการเมือง
ของพรรคฝ่ายค้านในการเลือกตั้งปี 2013 ซึ่งเป็นช่องทางการสื่อสารที่สำ คัญในการวิพากษ์
วิจารณ์อย่างตรงไปตรงมาเรื่องวิถีการเมืองของพรรคประชาชนกัมพูชา ผลกระทบที่เกิด
ขึ้นกับพรรครัฐบาลและการสูญเสียความน่าเชื่อถือของผู้นำ กัมพูชา อันเป็นการสะท้อนให้
เห็นถึงบทบาทสื่อออนไลน์ที่ส่งผลต่อพลวัตทางการเมืองกัมพูชาอย่างมีนัยสำ คัญในอนาคต
“เอเชียใต้ในศตวรรษที่ 21 ความเป็นภูมิภาคนิยมไม่เป็นทางการกับกระบวนการภูมิภาค
ภิวัตน์” ผู้เขียนได้นำ เสนอ ความเป็นไปได้ในการสร้างความเป็นภูมิภาคนิยมของสมาคม
ความร่วมมือแห่งภูมิภาคเอเชียใต้ (SAARC) ซึ่งถูกวิจารณ์ว่าล้มเหลวในการสร้างบูรณา
การระดับภูมิภาค และวิเคราะห์กระบวนการภูมิภาคภิวัตน์ อันเป็นกระบวนการทำ งาน
อย่างไม่เป็นทางการคู่ขนานไปกับ SAARC ซึ่งเป็นการขับเคลื่อนโดยตัวแสดงที่ไม่ใช่รัฐและ
ส่งผลต่อพัฒนาการเชิงบวกของภูมิภาคนี้ ปิดท้ายวารสารฉบับนี้ ด้วยการแนะนำ หนังสือ
“อหิงสายาตรา บนเส้นทางสู่อินเดียอื่น” เขียนโดย ราชโคปาล พี.วี.ผู้ยึดมั่นในแนวทางสัตยา
เคราะห์แบบอหิงสาตามแบบอย่างมหาตมะ คานธี และผู้ก่อตั้งสภาแห่งสมานฉันท์ องค์กร
ที่ต่อต้านความอยุติธรรมและความรุนแรงด้วยพลังของความสันติ เขาได้ใช้เวลา 350 วันใน
การยาตราไปในพื้นที่ต่างๆ 24 รัฐ เพื่อได้ถ่ายทอดปัญหาและการต่อสู้ของผู้ยากไร้และกลุ่ม
คนชายขอบในการทวงขอความยุติธรรมและทวงคืนสิทธิในที่ดินทำ กินในฐานะประชาชน
อินเดียผ่านการบันทึกการเดินทางในรูปแบบ “ชนสัตยาเคราะห์สังวาทยาตรา” มีผู้คนเข้า
ร่วมยาตรากว่า 100,000 คน ในการเดินระยะทางกว่า 80,000 กิโลเมตร

ตัวอย่างเอเชียปริทัศน์
ช่องทางสมัครสมาชิกวารสาร และส่งบทความลงตีพิมพ์

สมัครสมาชิการวารสาร และส่งบทความลงตีพิมพ์ได้ที่ : โครงการสิ่งพิมพ์ สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาคารประชาธิปก-รำไพพรรณี ชั้น 7 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
หมายเลขโทรศัพท์ : 0-2218-7411, 0-2251-5199 / หมายเลขโทรสาร : 0-2255-1124
Website : http://www.ias.chula.ac.th / E-mail : ias@chula.ac.th

จัดจำหน่ายโดย : ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หมายเลขโทรศัพท์ 0-2218-7000, 0-2255-4433
Website : http://www.chulabook.com