


เอเชียปริทัศน์ ปีที่ 36 ฉบับที่ 2 กรกฏาคม - ธันวาคม 2558
การเคลื่อนย้ายมนุษย์กับภูมิทัศน์ใหม่ในเอเชีย
กระแสการเปลี่ยนแปลงสู่เสรีนิยมทั้งทางเศรษฐกิจและการเมืองได้กลายเป็น
แนวโน้มที่สำ คัญของเอเชียหลังการสิ้นสุดของสงครามเย็น ภายใต้กระแสดังกล่าว
ประชาชนคนธรรมดาๆ ได้กลายเป็นตัวแสดงที่มีบทบาทสำ คัญและเป็นกลไกหลัก
ในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงของภูมิภาค ในทางการเมืองนั้นประชาชนได้เข้า
มามีส่วนร่วมในหลายลักษณะ ทั้งการรวมตัวกันเพื่อต่อต้านเผด็จการและเรียกร้อง
ประชาธิปไตย รวมถึงการมีส่วนร่วมหลังการเป็นประชาธิปไตยแล้ว เพื่อผลักดัน
นโยบายต่างๆตามผลประโยชน์ของพลังทางสังคมที่มีความหลากหลายและซับซ้อน
ยิ่งขึ้น ในทางเศรษฐกิจนั้นเกิดการขยายตัวของทุนนิยมอย่างกว้างขวางและผลักดัน
ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงลักษณะโครงสร้างการผลิตของภูมิภาคให้หลอมรวมและผสาน
เป็นเนื้อเดียวกันมากขึ้น โดยประชาชนคนธรรมดาได้เข้าไปอยู่ในโครงสร้างการผลิตดัง
กล่าวแล้วไม่ว่าจะโดยจงใจหรือไม่ก็ตาม นำ ไปสู่การเคลื่อนย้ายถิ่นฐานข้ามประเทศ
ในภูมิภาค และเกิดการเปลี่ยนแปลงทัศนคติ ค่านิยมส่วนบุคคล ตลอดจนการปะทะ
ประสานระหว่างวัฒนธรรมที่แตกต่างอย่างเข้มข้น
กระแสการเปลี่ยนแปลงของภูมิภาคในปัจจุบัน จึงขับเคลื่อนโดยประชาชนคน
ธรรมดา หรือที่จะขอเรียกในที่นี้ว่าเป็นกระแสของการเคลื่อนย้ายมนุษย์ (Human
Mobility) ที่จะนำ ไปสู่การเปลี่ยนภูมิทัศน์ใหม่ของเอเชียไปอย่างถาวร ในขณะที่การ
พิจารณาบทบาทของชนชั้นนำ ในการเปลี่ยนแปลงสังคมถูกให้นำ หนักลดลง และ
ในบางกรณีกลับถูกมองว่าเป็นฝ่ายตั้งรับแรงกดดันจากประชาชน จารีตการศึกษา
พฤติกรรมของชนชั้นนำ อาทิ ความแตกแยก การร่วมเป็นพันธมิตร ทางเลือกต่างๆ
การคิดคำ นวณ รวมถึงยุทธวิธีที่ใช้ในหมู่ชนชั้นนำ จึงมีแนวโน้มลดลง และหันมาให้น้ำ
หนักกับการศึกษาประชาชนทั่วไปมากขึ้น ภายใต้แนวคิดหลากหลายอย่างแนวคิด
ประชาสังคมและขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม เป็นต้น
บทความในวารสารเล่มนี้ได้สะท้อนให้เห็นถึงกระแสดังกล่าวได้อย่างเด่นชัด
ทั้งบทบาทของประชาชนทั่วไปในการกดดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของ
ประเทศ ในบทความเรื่อง ขบวนการทางสังคมกับการเปลี่ยนผ่านประชาธิปไตย
ในเกาหลีใต้ ที่ฉายภาพขบวนการทางสังคมเพื่อต่อต้านรัฐบาลเผด็จการในเกาหลีใต้
จนส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนผ่านจากระบอบเผด็จการอำนาจนิยมไปเป็นระบอบ
ประชาธิปไตย ด้วยการมีรัฐบาลพลเรือนที่เป็นประชาธิปไตยครั้งแรกใน ค.ศ.
1987 ทำ ให้ประชาชนเกาหลีใต้มีสิทธิและเสรีภาพทางการเมืองมากยิ่งขึ้น และ
รัฐบาลประชาธิปไตยสามารถใช้กฎหมายลงโทษอดีตผู้นำ ประเทศที่เคยคอรัปชั่น
และใช้ความรุนแรงกับประชาชน เกาหลีใต้ยังมีการเลือกตั้งเสรีอย่างต่อเนื่องและมี
รัฐบาลประชาธิปไตยตลอดมาหลัง ค.ศ.1987 จนอาจกล่าวได้ว่ากลายเป็นประเทศ
ประชาธิปไตยที่มั่นคงและยั่งยืนแล้วในปัจจุบัน
นอกจากการเปลี่ยนระบอบการเมืองแล้ว กระแสเศรษฐกิจและการเชื่อมโยง
ระหว่างประเทศยังนำ ไปสู่การเคลื่อนย้ายของผู้คนข้ามพรมแดน ไม่ว่าจะเป็นนักท่อง
เที่ยว นักลงทุน แม้กระทั่งนักศึกษา และที่ส คัญก็คือแรงงานโดยเฉพาะแรงงานระดับ
ล่าง บทความเรื่อง สลามแบมือ: แรงงานพม่ากับสภาวะชายขอบในชุมชนมุสลิม
ได้แสดงให้เห็นมิติที่ซับซ้อนและมิติแห่งความขัดแย้งภายใต้การเคลื่อนย้ายผู้คนดัง
กล่าว ทั้งมิติการกดขี่แรงงาน การแบ่งแยกทางศาสนาและชาติพันธุ์ สิ่งเหล่านี้เป็น
เครื่องสะท้อนถึงความเปลี่ยนแปลงอันเกิดจากการปะทะประสานระหว่างวัฒนธรรม
ที่แตกต่าง กลายเป็นรากฐานของกระบวนการกลายเป็นชายขอบที่มุสลิมพม่าต้อง
เผชิญในไทย และสะท้อนให้เห็นถึงความย้อนแย้งในสังคมปัจจุบัน ที่ในด้านหนึ่งต้อง
การบูรณาการระหว่างกันเพื่อให้เกิดการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสันติภาพที่ยั่งยืน ใน
อกี ด้านหนึ่ง กลบั เตม็ ไปดว้ ยอคตกิ ารแบง่ แยก และการขับเนน้ ลักษณะของความแตก
ต่างระหว่างกลุ่มคน


สมัครสมาชิการวารสาร และส่งบทความลงตีพิมพ์ได้ที่ : โครงการสิ่งพิมพ์ สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาคารประชาธิปก-รำไพพรรณี ชั้น 7 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
หมายเลขโทรศัพท์ : 0-2218-7411, 0-2251-5199 / หมายเลขโทรสาร : 0-2255-1124
Website : http://www.ias.chula.ac.th / E-mail : ias@chula.ac.th
จัดจำหน่ายโดย : ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หมายเลขโทรศัพท์ 0-2218-7000, 0-2255-4433
Website : http://www.chulabook.com