


ด้วยสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะจัดเสวนาวิชาการ
“เข้าใจโรฮิงญา: ปัญหาความมั่นคงหรือวิกฤตมนุษยธรรม?”
ในวันศุกร์ที่ 8 กันยายน 2560
เวลา 8.30 - 12.00 น.
ณ ห้องประชุม 105 อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เพื่อทำความเข้าใจปัญหาโรฮิงญา รวมทั้งแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นต่างๆ ที่เชื่อมโยงกับประเทศไทย ตลอดจนเป็นเวทีสาธารณะเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านปัญหาผู้อพยพและเรื่องที่เกี่ยวข้อง อันจะเป็นประโยชน์ต่อการขับเคลื่อนงานวิชาการด้านเอเชียศึกษา
ไม่เสียค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมเสวนา
ขอปิดการลงทะเบียน online ในเวลา 19.45 น. วันที่ 7 กันยายน 2560
ด้วยความขอบคุณ และขออภัยมา ณ ที่นี้
Facebook สถาบันเอเชียศึกษา : https://goo.gl/Z7uq15
หลักการและเหตุผล
“คนไร้รัฐ” นับเป็นหนึ่งในปัญหาใหญ่และมีจ านวนเพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน คนเหล่านี้หากไม่ถูกปฏิเสธ
ความเป็นพลเมืองก็ถูกขับไล่ออกจากดินแดนของตนเอง ไม่มีที่ทางที่จะไป ไม่มีประเทศไหนอ้าแขนรับในฐานะ
พลเมือง และไม่มีประเทศที่ตนเองสังกัดอยู่ คนเหล่านี้ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ตามแคมป์ ผู้ลี้ภัยที่มีสภาพล าบาก
ยากแค้น และแทบจะมองไม่เห็นอนาคตของตนเอง กรณีที่เลวร้ายที่สุด คือ กรณีชาวโรฮิงญาในรัฐยะไข่ของ
เมียนมา พวกเขาอาศัยอยู่ในดินแดนบ้านเกิดมานานนับหลายชั่วอายุคน แต่หลังจากที่พม่าได้รับเอกราชจาก
อังกฤษ พวกเขาก็ถูกกดดันและขับออกไปจากประเทศเมียนมา ในมุมมองของรัฐบาล ชาวโรฮิงญาเป็นผู้ที่
อพยพมาจากบังกลาเทศในสมัยที่พม่าตกอยู่ภายใต้อาณานิคมของอังกฤษ ดังนั้น ประชาชนชาวโรฮิงญาจึง
ไม่ได้ถูกรวมเข้าไว้ในกลุ่มชนพื้นเมืองในรัฐธรรมนูญเมียนมา และกลายเป็นคนไร้รัฐในบ้านเกิดของตนเอง
การที่ชาวโรฮิงญาไม่ได้รับสัญชาติท าให้ไม่ได้รับการคุ้มครองใดๆ จากรัฐบาล ทั้งยังถูกคุกคามอย่าง
ต่อเนื่องมากกว่าชนกลุ่มน้อยหรือประชาชนเชื้อชาติอื่นๆ โดยเฉพาะจากความแตกต่างทางศาสนาและเชื้อชาติ
พวกเขาถูกคุกคามและเลือกปฏิบัติ ซึ่งรวมถึงสิทธิที่จะนับถือศาสนา การเข้าถึงการศึกษา สิทธิในการรักษาโรค
ถูกบังคับให้ท างานโดยไม่ได้รับค่าจ้าง และไม่สามารถเดินทางออกนอกพื้นที่เพื่อหาเลี้ยงชีพได้
ปัจจุบัน สถานการณ์ปัญหาโรฮิงญาในรัฐยะไข่เกิดความตึงเครียดอย่างมาก อันเกิดจากการสู้รบกัน
ระหว่างกองก าลังติดอาวุธชาวโรฮิงญากับต ารวจ และทหารแห่งรัฐบาลเมียนมา ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับไทย
อย่างหลีกเลี่ยงได้ยาก ด้านหนึ่งเป็นเพราะหลังจากนี้อาจมีผู้อพยพชาวโรฮิงญาทะลักเข้ามาในเขตไทยทั้งทาง
บกและทางทะเล ขณะที่เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2560 พลเอกอาวโ ุ ส มิน อ่อง ไหล่ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของ
เมียนมา เข้าพบ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รอง
นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เพื่อชี้แจงท าความเข้าใจสถานการณ์ในรัฐยะไข่ และยัง
ขอให้ไทยเรียกโรฮิงญาว่า "เบงกาลี" ซึ่งฝ่ายไทย โดย พล.อ.ประวิตร ก็แสดงท่าทีตอบรับ
ประเด็นนี้กลายเป็นเรื่องอ่อนไหว เพราะเมียนมาก าลังเคลื่อนไหวล็อบบี้องค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น)
ให้ขึ้นทะเบียนกลุ่มมุสลิมโรฮิงญาติดอาวุธ ที่ใช้ชื่อว่า Arakan Rohingya Salvation Army หรือ ARSA เป็นกลุ่ม
ก่อการร้าย การเปลี่ยนชื่อเรียก "โรฮิงญา" ชนไร้รัฐในเมียนมาเป็น "เบงกาลี" สะท้อนนัยที่ซับซ้อนที่ควรมีการ
พิจารณาและวิเคราะห์ในทางวิชาการ อันจะเป็นประโยชน์ต่อการก าหนดท่าทีของไทยในประเด็นปัญหาดังกล่าว
ใบตอบรับ+แผนที่ Download