Search
Call Center : 0-2251-5199 E-Mail Facebook Page
Language
Thai Language English Language
News
สรุปเนื้อหาจากงานเสวนา “เรียนรู้ระบบหนังสือ: ประสบการณ์จากอินเดีย”
สรุปเนื้อหาจากงานเสวนา “เรียนรู้ระบบหนังสือ: ประสบการณ์จากอินเดีย”

สรุปเนื้อหาจากงานเสวนา “เรียนรู้ระบบหนังสือ: ประสบการณ์จากอินเดีย” จัดโดยศูนย์เอเชียใต้ศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2561

โดย : กรณิศ รัตนามหัทธนะ

https://www.creativethailand.org/article/trend/28210/Tara-Books

สำนักพิมพ์บ้านเราพิมพ์หนังสือครั้งละ 3,000 เล่ม วางขายกันไป 5 ปีกว่าจะหมด จะพิมพ์ซ้ำหรือไม่ ต้องคิดหน้าคิดหลังให้ดี หลายแห่งหันมาพิมพ์เพียง 1,000 เล่ม หรือเปิดให้ลูกค้าสั่งจองแล้วค่อยคำนวณยอดพิมพ์

Tara Books สำนักพิมพ์เล็กๆ (มีคนทำงาน 15 คน) ในอินเดีย ก่อตั้งมา 24 ปี เป็นที่รู้จักในฐานะผู้ผลิตหนังสือทำมือ ผลิต “หนังสือภาพ” สำหรับเด็กและผู้ใหญ่ปีละ 10-12 ปก หนังสือแต่ละเล่มเน้นงานศิลป์สวยงาม กวาดรางวัลมาแล้วกว่า 60 รางวัลในระดับนานาชาติ หลายเล่มถูกซื้อลิขสิทธิ์ไปแปลเป็นภาษาต่างประเทศ ศิลปินทุกคนได้ส่วนแบ่งค่าลิขสิทธิ์ทุกครั้งที่หนังสือพิมพ์ซ้ำ และระหว่างทำงาน มีที่พักให้ด้วย ช่างดีอะไรปานนั้น

สำนักพิมพ์นี้ หนังสือหนึ่งปก พิมพ์เฉลี่ย 3,000 เล่ม ขายหมดภายในเวลาเพียงหกเดือน แถมบางครั้ง จงใจไม่พิมพ์ปกที่ขายดี เพื่อเก็บเงินทุนไว้พิมพ์หนังสือปกอื่นๆ ที่อาจขายไม่ดีเท่า แต่สำนักพิมพ์อยากนำเสนอ

Shruti Buddhavarapu บรรณาธิการและนักเขียน กับ Dhwani Shah นักวาดภาพประกอบและนักออกแบบหนังสือ สำนักพิมพ์ Tara Books แห่งเมืองเชนไน (มัทราส) อินเดีย หอบหนังสือสวยๆ มาเล่าวิธีทำงานแบบเขาให้ฟัง ในงานเสวนา เรียนรู้ระบบหนังสือ : ประสบการณ์จากอินเดีย จัดโดยศูนย์เอเชียใต้ศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สองสาวเล่าว่า ได้รับคำถามเยอะมากว่า จะทำหนังสือทำมือไปทำไมในพ.ศ. นี้ ที่การพิมพ์ระบบออฟเซ็ตมีราคาไม่แพง และพิมพ์ได้ทีละมากๆ

คำตอบโดนใจมาก “หนังสือไม่ใช่แค่ตัวอักษรเรียงกันบนหน้ากระดาษ หรือเอาภาพหลายๆ ภาพมาเย็บเล่มรวมกัน ไม่ใช่ของที่คุณจะหยิบขึ้นมาเปิดดูผ่านๆ” Shruti กล่าว “หนังสือส่งผลต่อประสาทสัมผัส คนอ่านได้สัมผัสกระดาษ ดมกลิ่นกระดาษ  การอ่านหนังสือคือประสบการณ์ หนังสือหนึ่งเล่มต้องใช้คนทำหลายคน ไม่ได้มีแค่คนเขียน”

หนังสือทำมือของที่นี่ใช้วิธีทำแบบซิลก์สกรีน (silkscreen printing) ใช้มือคนทำทีละแผ่นๆ ผึ่งให้แห้ง เรียงซ้อนกันทีละคู่ให้เป็นหนังสือ ก่อนเย็บเล่มด้วยวิธีร้อยด้าย ทั้งหมดนี้ใช้คนทำ ไม่มีเครื่องจักรช่วย จนถึงปัจจุบัน ที่นี่ผลิตหนังสือทำมือไปแล้วกว่า 4.1 แสนเล่ม หากผลิตหนังสือทำมือปกละ 3,000 เล่ม ใช้เวลาเฉลี่ย 3 เดือน

‘ช่างทำหนังสือ’ จำนวน 25 คน กินอยู่หลับนอนและทำงานในโรงงานเล็กๆ สำนักพิมพ์เป็นผู้สนับสนุนค่าที่พัก รวมถึงค่าเล่าเรียนของลูกช่างทุกคน

นอกจากหนังสือทำมือ Tara Books ยังทำหนังสือที่พิมพ์ระบบออฟเซ็ตด้วย แต่เน้นหนังสือภาพ ที่ต้องใช้ฝีมือศิลปิน โดยมักจะเป็นศิลปินท้องถิ่นในอินเดีย หรือแม้แต่ศิลปินต่างชาติก็มี

ศิลปินที่ร่วมงานกับสำนักพิมพ์มาทำงานแต่ตัว มีที่พักให้ คือชั้นบนของตึกสำนักงาน ศิลปินจะพักอยู่เป็นเวลา 3-6 เดือน จนกว่าจะทำหนังสือเสร็จ

hwani นักวาดภาพประกอบเล่าว่า ตอนแรกที่เธอมาร่วมงานกับ Tara Books ก็พักที่ตึกนี้ และได้ค่าจ้างด้วย Tara Books พยายามเสาะหาศิลปินจากทั่วทั้งประเทศ บางครั้งไปพบกลุ่มชนพื้นเมืองต่างๆ กำลังวาดภาพทางศาสนา วาดภาพสำหรับเทศกาล หรือวาดภาพเพื่อตกแต่งฝาผนังบ้าน หากถูกใจก็อาจได้ร่วมงานกัน

“ตอนแรกเรายื่นกระดาษกับแปรงให้เขาวาด เขาก็วาดแบบเกร็งๆ ไม่เหมือนงานที่เราเห็นตอนไปพบเขา” Shruti เล่า “เราเลยได้เรียนรู้ว่า ควรสร้างสภาพแวดล้อมให้ใกล้เคียงของเดิมที่สุด เพื่อให้นักวาดทำงานในสภาพที่คุ้นเคย”

ในเมื่อเขาเคยวาดบนกำแพงบ้าน Tara Books จึงจัดหาผืนผ้าใบขนาดใหญ่ที่สุด และให้ศิลปินวาดด้วยมือตามที่ถนัด ไม่ต้องใช้แปรง ได้ผลงานสวยสมใจ จากนั้นค่อยนำไปย่อขนาดเพื่อใช้ในหนังสือ

Preview
1
2
3
4
5
6