


การสัมมนาทางวิชาการระดับชาติ
“ชายแดนใต้กับพรมแดนความรู้ใหม่และอนาคตที่ท้าทาย”
จัดโดย ศูนย์มุสลิมศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ
โครงการจัดตั้งสถาบันสมุทรรัฐเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2558 ศูนย์มุสลิมศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
และโครงการจัดตั้งสถาบันสมุทรรัฐเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีภารกิจด้านวิจัยในเรื่องพื้นที่ศึกษาและประเด็นปัญหาสำคัญในหลากหลายมิติ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวกับเอเชีย ได้เป็นเจ้าภาพร่วมกันจัดการสัมมนาทางวิชาการระดับชาติ
เรื่อง “ชายแดนใต้กับพรมแดนความรู้ใหม่ และอนาคตที่ท้าทาย”
นับเป็นครั้งแรกภายใต้ความร่วมมือทางวิชาการระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
ซึ่งถือเป็นนิมิตรหมายอันดีสำหรับการขยายเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการไปยังสถาบันการศึกษาในพื้นที่ภาคใต้อย่างเป็นรูปธรรม
ทั้งยังจะเป็นก้าวย่างสำคัญไปสู่ความร่วมมือทางวิจัย ตลอดรวมถึงความร่วมมือในรูปแบบอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อไป และที่สำคัญ
การจัดงานสัมมนาในครั้งนี้ถือเป็นเวทีทางปัญญาที่ถูกถ่ายทอดโดยบุคคลชั้นนำในระดับสากล คณาจารย์ นักวิจัย
และผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญสาขาต่าง ๆ เกี่ยวกับภาคใต้ โดยมี ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ อดีตเลขาธิการอาเซียน
กรุณาให้เกียรติมาปาฐกถาพิเศษ ร่วมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร. สุเนตร ชุตินธรานนท์ คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
และผู้อำนวยการศูนย์มุสลิมศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พล.ต.ชินวัฒน์ แม้นเดช รองแม่ทัพภาคที่ 4
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุกรี หลังปูเต๊ะ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยฟาฏอนี รองศาสตราจารย์ ดร.ชุลีพร วิรุณหะ ภาควิชาประวัติศาสตร์
คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี ผู้อำนวยการสถานวิจัยความขัดแย้ง
และความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี และผู้อำนวยการศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์
ภาคใต้ อาจารย์ ดร.รุ้งลาวัณย์ จันทรัตนา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาจังหวัดชายแดนใต้ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
และนายปกรณ์ ปรีชาวุฒิเดช รองประธานหอการค้าจังหวัดนราธิวาส เป็นต้น
ทั้งนี้การสัมมนาเรื่องดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ประการสำคัญเพื่อเปิดพื้นที่ทางวิชาการไปสู่ประเด็นปัญหาวิจัยที่ท้าทายภายใต้สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกประเทศที่กำลังมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญทั้งในทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคง
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมภายนอกประเทศในระดับภูมิภาค นั่นคือ การที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้เริ่มเข้าสู่กระบวนการการเป็นประชาคมอาเซียนมาตั้งแต่ปี 2552 และตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะดำเนินการอย่างสมบูรณ์ภายในสิ้นปี 2558 ที่ใกล้จะมาถึงนี้
วันศุกร์ที่ 30 ตุลาคม 2558 เวลา 08.15-16.30 น.
ณ ห้องน้ำพราว 2 โรงแรมซี. เอส. ปัตตานี
เป็นประธานกล่าวเปิดงาน ณ โรงแรมซี.เอส. ปัตตานี