


สัมมนาวิชาการเรื่อง “การเลือกตั้ง ความหวัง และการเมืองก้าวถัดไป:จับตาประชาธิปไตยพม่าบนทางแพร่ง”
วันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน 2558
เวลา 8.30 - 12.00 น.
ณ ห้อง 202 อาคารมหิตลาธิเบศร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
*************************************************************************
รองศาสตราจารย์ ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์
เหตุการณ์และสถานการณ์พม่าในขณะนี้มีหลายประเด็นที่น่าจับตามอง ก่อนถึงเดือนมีนาคม 2016 คาดว่าจะมีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ขึ้นมาขับเคลื่อนประเทศ การเปลี่ยนแปลงอย่างแรกคือ การเปลี่ยนถ่ายอำนาจ ซึ่งขั้นตอนอาจจะเป็นแบบสันติวิธีหรือไม่สันติวิธี ทั้งนี้จะต้องไม่ลืมว่า รัฐบาลภายใต้การปกครองของกองทัพ ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบที่กองทัพปกครองโดยตรงภายใต้การนำของพรรครัฐบาล USDP ที่ปกครองพม่า ตั้งแต่ปี 1962 ถึงปัจจุบัน เป็นระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 53 ปี แต่ไม่เคยมีการเปลี่ยนถ่ายเกิดขึ้นจนกระทั่งถึงปีนี้ ทำให้เกิดความกังวลในพม่า อย่างไรก็ตาม สถานการณ์และเงื่อนไขในครั้งนี้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ขอชี้ให้เห็นบางประเด็นที่กำลังเป็นที่สนใจ
ประเด็นแรก : การเปลี่ยนผ่านแบบคิดสู้และไม่คิดสู้ เป็นเรื่องใหม่ที่เพิ่งจะเกิดขึ้น
ประเด็นที่ 2 : จะมีการจ้างวาน และรับผลประโยชน์กันอย่างไร อันนี้จะเป็นเรื่องใหม่ที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับผลประโยชน์ที่ได้จากจำนวนที่นั่งในสภา
ประเด็นที่ 3 : ถ้าพรรค NLD ขึ้นมามีบทบาท จะเกิดการถ่วงดุลกันอย่างไร เพราะว่าพรรค NLD ไม่เคยขึ้นมาบริหารประเทศ แต่คราวนี้จะต้องขึ้นมาบริหารภายใต้ความคาดหวังอันมหาศาล จะสามารถทำให้เป็นไปตามความคาดหวังของประชาชนได้หรือไม่ อย่างไร
ประเด็นต่อไป : ภายใต้การเปลี่ยนแปลงอันเกิดอย่างฉับพลัน ถ้าจะเกิดการเปลี่ยนผ่านจากมือของกองทัพที่เคยปกครองอยู่ 53 ปี ไปสู่อีกมือหนึ่ง ประเทศไทยของเราจะตั้งรับกันอย่างไร การลงทุนต่างๆ ที่เคยมี หรือความสัมพันธ์ที่เคยมีกันมาจะเป็นอย่างไร โอกาส ผลได้-ผลเสียเป็นอย่างไร เป็นประเด็นที่เป็นพื้นฐานมากที่สุด
การมองทั้ง 4 ประเด็นว่า การเปลี่ยนแปลงที่ผ่านมาเป็นอย่างไร และต่อจากนี้ไปจะเป็นอย่างไร มีพื้นฐานของความเข้าใจ แต่จะบอกว่ากองทัพถือธงนำในภาครัฐอยู่ตลอด เพราะฉะนั้น การปรับบทบาทก่อนหน้านี้ และที่จะเป็นต่อไปในอนาคตเป็นประเด็นสำคัญที่จะพูดถึง และถ้าพรรค NLD ขึ้นมา จะเกิดการถ่วงดุลทางอำนาจกันหรือไม่ อย่างไร การถ่วงดุลจะเกิดขึ้นในลักษณะไหน ที่สำคัญทิศทางและบทบาทของ NLD ภาคใต้สื่อใหม่ที่จะเกิดขึ้นจะเป็นอย่างไร ปัญหาของประเทศที่เป็นปัญหาหลักๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง การเมืองเศรษฐกิจ ความปรองดองระหว่างชนกลุ่มต่างๆ หรือสวัสดิการอื่นๆ
คุณณัฐพล ตันตระกูลทรัพย์ :
การเมืองของพม่านั้น กองทัพมีบทบาทนำมาโดยตลอด ตั้งแต่ปี 2010 เราจะเห็นว่าทหารไม่ได้มีบทบาทนำเฉพาะในการทางเมือง แต่ยังมีบทบาทนำในทางเศรษฐกิจ บทบาทนำของทหารในทางการเมืองและเศรษฐกิจเริ่มเห็นชัดเจนตั้งแต่ปี 1974 ซึ่งมีการร่างรัฐธรรมนูญอย่างเป็นทางการโดยระบุบทบาทของทหารว่า ให้มีการปกครองแบบพรรคเดียว พรรคเดียวในที่นี้หมายถึงกองทัพนั่นเอง ในขณะเดียวกัน ก็มีเศรษฐกิจเป็นแบบสังคมนิยม
ในปี 1962 กองทัพได้ทำรัฐประหารรัฐบาลพลเรือน โดยกองทัพขึ้นมาปกครองและยึดเศรษฐกิจของภาคเอกชนมาเป็นของรัฐแล้วเข้าไปบริหารแทน กองทัพจึงเป็นโครงสร้างทางการเมืองและเป็นโครงสร้างทางเศรษฐกิจตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบันนี้ อย่างไรก็ตาม การดำเนินการตามแนวทางดังกล่าวไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เพราะทำให้มาตรฐานการครองชีพของประชาชนตกต่ำลงอย่างมาก ประชาชนไม่สามารถทำงานได้ แม้ว่ารัฐบาลจะพยายามพัฒนาอุตสาหรรมในประเทศก็ไม่ประสบความสำเร็จ ในภาคเกษตรกรรม ประชาชนไม่สามารถทำการค้าได้เท่าที่ควร เพราะรัฐบาลสร้างกลไกในการจำกัดการนำเข้าและส่งออกสินค้าเกษตร สิ่งเหล่านี้กดดันภาคประชาชนเป็นอย่างมากจนนำไปสู่การประท้วงใหญ่ในปี 1988 ซึ่งสั่นคลอนการปกครองระบอบทหาร ก่อให้เกิดแนวคิดว่าควรปฏิรูปประเทศในรูปแบบใด
กองทัพเริ่มพยายามที่จะปฏิรูปในปี 1988 โดยปฏิรูปทางเศรษฐกิจก่อน หวังว่าความเป็นอยู่ของประชาชนจะดีขึ้น แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ ในขณะเดียวกัน กองทัพยังคงเป็นองค์กรนำทางการเมืองในระดับชาติอยู่ต่อไป แต่อย่างน้อย ภาพที่เราเห็นในปี 2010 รัฐบาลประธานาธิบดีเต็ง เส่งก็ยังเต็มไปด้วยบทบาทของกองทัพ ประธานาธิบดีเต็ง เส่งเคยเป็นทหารมาก่อนแล้วลาออกเพื่อมาเป็นประธานาธิบดี ในคณะรัฐบาลก็ยังคงมีรัฐมนตรีอีกหลายคนที่มาจากทหาร จะเห็นว่าที่นั่งในสภา 25% เป็นทหาร อีกประเด็นหนึ่งที่สำคัญคือ บทบาททหารยังมีอยู่มากในทุกระดับทางการเมือง ในทางเศรษฐกิจพบว่า สัดส่วนนักลงทุนทั้งภายในและภายนอกประเทศยังน้อยอยู่ ส่วนใหญ่เป็นนักลงทุนรายย่อย มีการลงทุนด้านสัมปทานทรัพยากร ซึ่งไม่ได้เป็นการลงทุนภาคผลผลิตเพราะไม่ได้สร้างรายได้ให้กับประชาชน แต่เป็นการทำร้ายทรัพยากรธรรมชาติของประเทศเป็นอย่างมาก รวมทั้งยังทำให้โครงสร้างของเศรษฐกิจผูกติดกับโครงสร้างของกองทัพ
ในการเมืองนี้ ถ้าเรากลับมาดูชัดๆ อีกทีว่า กองทัพมีบทบาทอย่างไร มีบทบาทมากอย่างเดิมอีกหรือเปล่า จะพบว่ากองทัพลดบทบาทลงในปี 2010 โดยเป็นในลักษณะการถ่วงดุล จะเน้นหนักในลักษณะของความมั่นคงในทางการเมืองมากกว่า ถือว่าบทบาทของกองทัพยังเป็นบทบาทนำ เราจะเห็นว่าหลักการพื้นฐานของรัฐธรรมนูญในหัวข้อส่วนที่มีการระบุสถานะของกองทัพไว้อย่างน่าสนใจ เช่น กองทัพมีอำนาจในการบริหารองค์กรของตนเอง และมีสิทธิในการจัดการปัญหาด้านความมั่นคงในประเทศเกี่ยวกับประชาชนทุกคน กองทัพมีหน้าที่โดยตรงในการปกป้องเอกราชและอธิปไตยของประเทศ ในหลักการพื้นฐานตรงนี้ชี้ให้เห็นว่า กองทัพจัดขอบข่ายของตนเอง ในรัฐธรรมนูญฉบับ 2008 ระบุข้อน่าสนใจหลายอย่างที่ตอกย้ำบทบาทของกองทัพ เช่น กองทัพมีสิทธิและบทบาทในการเมืองของประเทศ และจะเป็นผู้มีอำนาจตัดสินใจเกี่ยวกับการบริหารจัดการในกองทัพเอง
รองศาสตราจารย์ ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์
หลายสิ่งหลายอย่างที่เป็นมาและเป็นไปเหล่านี้มีกติกาหลักคือ รัฐธรรมนูญปี 2008 มีกระบวนการร่างและจัดทำตั้งแต่ปี 2003 และเสร็จสิ้นในปี 2008 คำถามที่จะถามต่อไปคือ ก่อนหน้าที่ไม่เกิดความพยายามที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนี้ให้สิทธิให้อำนาจของกองทัพอย่างสูง แต่นโยบายของ NLD ที่จะมานี้เป็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อเปิดพื้นที่ให้อองซาน ซูจีขึ้นมาปกครองประเทศ ถ้าเป็นรัฐบาลที่ไม่ได้ขึ้นมาจากกองทัพก็จะไม่สามารถบริหารประเทศที่สมบูรณ์ได้ ตัวนี้ปลดล็อครัฐธรรมนูญ คิดว่าจะเห็นความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด องค์ประกอบแตกต่างกันออกไป คิดว่าจะมีการปลดล็อคตัวนี้ได้มากน้อยเพียงใด การปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบมีระเบียบวินัย สิ่งที่แสดงให้เห็นว่า บทบาทของกองทัพมีการถ่วงดุลของพลเรือน พม่าเคยมีรัฐบาลประชาธิปไตย แต่ประสบปัญหาหลายประการ ตรงนี้แสดงให้ว่ากองทัพไม่อยากให้มีการแก้รัฐธรรมนูญ ในการแก้รัฐธรรมนูญต้องใช้เสียงถึง 75 % ในการแก้ไข แต่เสียงส่วนใหญ่เกิดจากการแต่งตั้งของกองทัพ ดังนั้น จะเห็นได้ว่า กองทัพไม่อยากให้เกิดประเด็นนี้ เพื่อไม่ให้เกิดการแตกแถวและไม่เป็นระเบียบเท่าที่ควร กองทัพมีอำนาจโดยตรงการในการยับยั้งการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แล้วใครจะขึ้นมาเป็นประธานาธิบดี จะขึ้นมาได้อย่างไร จะมีเงื่อนไขอย่างไร ตรงนี้เป็นประเด็นที่เราคงจะต้องติดตามและน่าสนใจ กรณีของพม่ามีกลไกสลับซับซ้อนมากเกินไป ถ้าเป็นคนของ NLD ขึ้นมาจะเป็นไปได้หรือไม่
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นฤมล ทับจุมพล :
ก่อนที่จะพิจารณาว่า NLD จะขึ้นมาได้หรือไม่นั้น มาดูกันก่อนว่า NLD ได้ที่นั่งถึง 390 ที่นั่ง เกินจาก 329 ที่นั่งที่ต้องการ รวมกับกองทัพด้วย 166 ที่นั่ง แปลว่าเราจะเห็นการเมืองพม่า NLD 390 ที่นั่ง กองทัพเสนอ 1 คน สภาร่าง 1 คน คำถามก็คือ จำนวน 2 ใน 3 จำเป็นต้องมาจาก สส. ที่มาจากการเลือกตั้งไหม เขาอาจจะเสนอบุคคลภายนอก แปลว่าพรรค NLD มีสิทธิที่จะเสนอชื่อประธานาธิบดี รวมทั้งรองอันดับหนึ่งและอันดับสอง แล้วรองประธานาธิบดี รองอันดับสองมาจากกองทัพ พรรค NLD ในปี 1988 มีเหตุการณ์ก่อนการ เลือกตั้งในปี 1990 คือ อดีตนักโทษ NLD ลงเลือกตั้งแล้วได้รับชัยชนะ คำถามคือ ใครในระบบของ NLD จะใช้คณะกรรมการพรรค เราจะไม่เห็นคนในพรรคหรือโฆษกพรรค ถ้าจะให้ประเมินในส่วนของ NLD เนื่องจากเขาได้ทำแนวร่วมกับกลุ่มชาติพันธุ์ เป็นไปได้ว่า NLD อาจหาทางออกโดยการดึงกลุ่มชาติพันธุ์มาเป็นรองประธานาธิบดี น่าจะเป็นสไตล์แบบนั้น และหลังการการเลือกตั้ง สิ่งที่นางอองซาน ซูจี ทำเป็นอันดับแรกคือ ส่งจดหมายเชิญท่านผู้บัญชาการทหารสูงสุด “เม็งตองลา” ประธานาธิบดีเต็ง เส่ง และนางอองซาน ซูจี เพื่อพูดคุยกันว่าควรมีประเด็นอะไรบ้าง ถ้าจะให้ประเมิน NLD มีข้อจำกัดด้านการขาดประสบการณ์ในการปกครองประเทศ องค์ประกอบหลักๆ ของเขาจะเป็นศิลปิน และนักกฎหมายที่ทำคดีว่าความนักโทษการเมือง ขณะที่กลุ่มที่เรามองว่าจะมาเป็นคนบริหารประเทศ เราไม่เห็นว่ากลุ่มของ NLD มีใครบ้าง แล้ว NLD เป็นฝ่ายค้านตลอดในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา สมัยประธานาธิบดีเต็ง เส่ง เราจะเห็นแค่บทบาทของนางอองซาน ซูจี ในบทบาทของสส. NLD อยู่ในรูปของกรรมาธิการ บทบาทโครงสร้างของ NLD เป็นคล้ายของคณะกรรมการ มีกรรมการกลาง ฝ่ายการศึกษา ฝ่ายกฎหมาย ฝ่ายเศรษฐกิจ เรามองไม่เห็นว่าถ้า NLD ขึ้นมา จะดึงใครขึ้นมาบริหาร เป็นโจทย์ให้ NLD จะบริหารประเทศอย่างไร สิ่งที่คนตั้งข้อสังเกต 2 เรื่อง จากนี้จนถึงเดือนธันวาคมคือ จะตกลงกันอย่างไรในเรื่องการเปลี่ยนถ่ายอำนาจ จะมั่นใจได้อย่างไรว่า NLD ขึ้นมาบริหารประเทศ สัญญาต่างๆ และนโยบายเศรษฐกิจต่างๆ อันนี้นักลงทุนเป็นกังวล สัญญาพม่าเปลี่ยนทุกๆ 5 ปี เรื่องของนโยบายเศรษฐกิจ ความคาดหวังในเรื่องปากท้อง พวกกลุ่มสหภาพแรงงาน บทบาทตรงนี้ต่างหากที่เป็นตัวตอบโจทย์ว่าจะเข้าได้ไหมกับระบบ NLD ซึ่งในแง่นี้ USDP เคยประสบปัญหา ประเด็นสุดท้ายที่คิดว่าจะเป็นโจทย์คือ ภาคประชาสังคมของพม่ามีหลายประเด็นที่เรียกร้อง เป็นอย่างมาก และ NLD จะต้องตองสนอง ในมติตรงนี้เป็นมติที่เราดูของ NLD ไม่ว่าจะเป็นที่จริง หลายคนคิดว่าหรือจะเป็นคนที่กองทัพเห็นด้วย ถ้าสมมุติว่ายังคงเป็นเต็ง เส่ง ใครก็ตามที่เป็นตัวแทนนอกปีก NLD ก็ต้องทำข้อตกลง อีกประเด็นคือ NLD เป็นฝ่ายค้านมาตลอด หลายฝ่ายคาดหวังว่า การจัดสรรความลงตัวและความเป็นเอกภาพ คำถามที่ 3 ท้ายที่สุดเมื่อ NLD ได้ขึ้นมา แต่ยังคงอยู่กลไกเดิมของกองทัพ ข้าราชการจำนวนไม่น้อยที่มี connection จะสามารถเข้าไปควบคุมกลไกเหล่านี้ได้สักแค่ไหน
คิดว่าที่แน่ๆ ประธานาธิบดีคงไม่ใช่คนเป็นรองประธานาธิบดี ดิฉันคิดว่าน่าจะเป็นคนข้างนอก ทั้งกองทัพและทหารตกลงร่วมกันว่าเป็นคนนั้น NLD เองนั้น การตั้งประธานธิบดี เช่น ประธานาธิบดีเต็ง เส่ง ตั้งคนข้างนอกขึ้นมา อีกเรื่องหนึ่งที่เราคิดว่าเราจะเห็นคนที่จะมาเป็นประธานาธิบดีจะต้องเป็นคนที่จะถูกเลือกขึ้นมา จะต้องเป็นคนที่เคยเป็นอดีตทหารหรือเปล่า ระบบการตั้งคณะรัฐมนตรีในพม่า เขาสามารถแต่งตั้งบุคคลภายนอกได้โดยจะมีกระทรวงหลักกระทรวงหนึ่ง เช่น กระทรวงวางแผนอาจจะเป็นคนที่ NLD เลือกขึ้นมา ส่วนที่เหลือ สส.ในพรรคจะมีบทบาทอย่างไร ในช่วงประธานาธิบดีเต็ง เส่ง มีใครบ้างที่ชนะการเลือกตั้งภาคใต้พรรค USDP ก็มีไม่มากนักที่เป็น สส.ในพรรค ในส่วนของการเลือกตั้งในระบบท้องถิ่นระดับชาติและระดับรัฐที่จะเกิดขึ้น อะไรบ้างที่เป็นโจทย์ที่เขาจะยอมและไม่ยอม NLD เห็นได้ชัดในเรื่องนักโทษทางการเมือง ซึ่งทางกองทัพไม่ยอมเด็ดขาด แต่แน่นอนโจทย์พวกนี้จะเป็นข้อเรียกร้อง สิ่งที่ NLD จะต้องทำ รวมทั้งการไม่ผ่อนปรนในหลายเรื่อง ดังนั้น ก็จะมีหลายเรื่องอย่างไทยเรา เช่น การอภัยโทษ อันนี้จะเป็นตัวทดสอบว่าอันไหนที่ NLD จะทำได้
คุณสุภลักษณ์ กาญจนขุนดี :
ความสำคัญของการเลือกตั้งในคราวนี้ของสื่อมีมากเลยทีเดียว ช่วงนี้การเดินทางไปพม่าเป็นไปได้ยากมาก พม่าไม่ค่อยอนุญาตให้สื่อต่างชาติเดินทางเข้าไปทำข่าว ครั้งล่าสุด ก่อนหน้าปี 2010 ได้รับอนุญาตให้เข้าไปทำข่าวการเลือกตั้ง คราวนั้นเป็นการเลือกตั้งแบบอุปโลก แต่ครั้งนี้แตกต่างกันมาก การเมืองพม่าเราจะดูแบบการเมืองบ้านเราไม่ได้ ความพยายามที่จะจัดตั้งหรือสถาปนาอะไรขึ้นมานั้นเป็นเรื่องที่ยาก เพราะฉะนั้น สื่อเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เราคงจะต้องทดลองให้สื่อมีบทบาทมากขึ้น ที่ผ่านมา เราได้ทดลองแล้วเมื่อครั้งที่ผ่านมานี้ ได้มีการปะทะกับกองทัพ แต่สื่อพม่ามีการต่อสู้มาก สถานะสื่อในพม่าไม่ค่อยดีนักและไม่ค่อยมั่นคงเท่าไร คิดว่าสื่อมวลชนเป็นหัวหอกในการต่อต้าน แต่ถ้าถามว่าจำเป็นไหมจะต้องมีสื่อในการรายงานข่าวในการเลือกตั้ง ผมคิดว่าจำเป็นมาก การรายงานข่าวการวิพากวิจารณ์ในพม่ายังไม่ปรากฏอย่างจริงจัง ในส่วนของผมคิดว่า สื่อมวลชนในพม่ามีส่วนในการเลือกตั้งเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สะท้อนให้เห็นในการถ่ายทอดสดสถานการณ์ของประเทศเพื่อนบ้านมีมากขึ้น การพยายามเปลี่ยนผ่านทางการเมืองในการเลือกตั้งนั้นเป็นมุมมองหนึ่งในส่วนของสื่อว่า พวกเราน่าจะมีบทบาทความชอบธรรมและเสรีภาพ เสียดายที่ ไม่ได้มีการคุยกันอย่างเป็นทางการ แต่เป็นการคุยกันในสื่อมวลชนมากกว่าว่าสื่อมวลชนต้องเข้าไปมีบทบาท
บทบาทของต่างประเทศที่มองเข้าไปในการเลือกตั้งในพม่าในรอบ 25 ปีที่ผ่านมาค่อนข้างจะเสรีโดยไม่มีเงื่อนไขทางการเมืองมากนัก เมื่อบรรยากาศค่อนข้างจะดี คำถามต่อไปก็ตามมาว่า การยอมรับเป็นไปมากน้อยเพียงใด และการเปลี่ยนผ่านการบริหารโดยนางอองซาน ซูจี ราบรื่นมากน้อยเพียงใด คนที่จะเสี่ยงมากที่สุดจนอาจจะกลายเป็นเหยื่อคือ ชาวมุสลิมในพม่า ผมได้เข้าไปคุยกับชุมชนชาวมุสลิมว่า ถ้าเกิดกองทัพไม่พอใจ คนพวกนี้จะไปก่อให้เกิดความรุนแรงของชาวมุสลิมในพม่า พวกชาวมุสลิมก็จะทำการที่ยั่วยุให้เกิดการก่อการร้ายกับชาวพุทธในพม่า สื่อมวลชนหลายคนก็ทำหน้าที่ในการรายงานเรื่องนี้กันมาก ส่วนใหญ่จะเป็นสื่อมวลชนชาวต่างชาติที่เข้าไปนำเสนอ คราวนี้คำถามใหญ่สุดท้าย เมื่อนางอองซาน ซูจีได้คะแนนเสียงมากมายขนาดนี้ ผมได้เข้าไปสัมภาษณ์ เขาบอกว่า ให้ทุกฝ่ายยอมรับเจตจำนงของประชาชนให้ได้ เราเข้าใจเงื่อนไขของเขาว่า เขาไม่เคยเปลี่ยนเงื่อนไขการเมืองแบบนี้สักเท่าไร แม้กระทั่ง NLD ก็ตาม แต่ผมถามว่า NLD พร้อมที่จะบริหารประเทศหรือไม่ ก็ไม่พร้อม แม้กระทั่งนางอองซาน ซูจี เองก็รู้ว่า ถ้าตนเองได้คะแนนเสียงมาก็ไม่พร้อมที่จะบริหารประเทศ แต่พวกเราก็รู้ว่า นักปฎิวัติเหล่านี้คิดต่างออกไป ข้อที่ 2 การบริหารประเทศพม่าไม่คุ้นเท่าไร ข้าราชการฟังคำสั่งจาก NLD หรือนางอองซาน ซูจี เขาจะคุ้นกับคำสั่งของทหาร เข้าใจว่าการเลือกตั้งเปลี่ยนผู้นำได้ แต่เปลี่ยนการบริหารไม่ได้ เพราะฉะนั้น กลไกในการบริหารงานของ NLD ดีกว่า USDP เป็นอย่างมาก ท่านเต็ง เส่งแยกตัวออกจากพรรค USDP แล้วนั้นคือ ความสมเหตุสมผลในการเลือกตั้งพม่า เพราะฉะนั้น เราจะต้องเข้าใจว่าเกมส์ทางการเมืองของพม่ายังคงเป็นของกองทัพอยู่ เสียงในสภาการสนับสนุนจากมวลชน หรือนานาชาติเขาไม่ค่อยให้ภาพพจน์มากเท่าไร การฟอร์มทางการเมืองและเศรษฐกิจยังไม่เป็นเสรีมาก และสัญญาของชนกลุ่มน้อยในยุคของท่านเต็ง เส่งยังทำไม่เสร็จ ไม่สามารถที่จะแก้รัฐธรรมนูญในพม่านั้นได้
คุณโศภชา ดำรงปิยวุฒิ์ :
บริษัทเราไปทำธุรกิจกับพม่ามา 18 ปี พม่าเป็นเพื่อนบ้านใกล้เรือนเคียงกับเรา พม่าต้องการเรียนรู้เศรษฐกิจของประเทศไทย และยังมองไทยเป็นประเทศพี่ใหญ่ในอาเซียนนี้ การทำธุรกิจที่พม่าก็ไม่ง่าย ในส่วนของประเทศเขาเองมีการจำกัดในการนำเข้าและส่งออก ต้องเป็นสัดส่วนที่รัฐบาลกำหนด ย้อนกลับไป 18 ปีที่แล้ว การนำเข้าชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ หลังจากปี 2010 ที่เขามีการเลือกตั้งก็มีรูปแบบการประมูลชัดเจนมากขึ้น ในระหว่างนั้น ประเทศใหญ่ เช่น ยุโรป อเมริกา ไม่ได้เข้ามาร่วมประมูล
หลังจากที่มีการเปิดประเทศมีการแข่งขันมากขึ้น เราเองก็ขายอุปกรณ์เกี่ยวกับอิเล็กทรอนิกส์ที่ยังมีความต้องการสูง เราก็ขายส่งไปที่ประเทศพม่ามากขึ้น โดยเฉพาะในปี 2012 เราทำได้ดีมากเลยที่เดียว ก็ไม่ได้ความว่า เมื่อเข้าไปแล้วเราจะเข้าไปค้าขายได้ทันที ในเรื่องคู่แข่งก็มีมาก โดยเฉพาะเมื่อมีการเปิดประเทศขึ้นมา การทำธุรกิจก็ไม่ได้ง่าย คนส่วนใหญ่ในพม่าก็มีความเป็นชาตินิยมพอสมควร ส่วนใหญ่ก็จะเป็นเรื่องระบบสัมปทาน การทำธุรกิจแบบซื้อมา-ขายไปยังไม่เปิดประเทศมากเท่าไร เป็นส่วนดีของประเทศที่ไม่ค่อยมีผู้ค้ารายย่อยเท่าที่ควร แต่ถ้าบริษัทใหญ่ที่เข้าไปก็จะกลืนกันไป
หลังจากที่ประธานาธิบดีเต็ง เส่งได้เข้ามาบริหารประเทศ ก็มีการปรับปรุงและพัฒนามาเรื่อยๆ เพื่อจะให้นักลงทุนชาวต่างชาติเข้าไปลงทุนได้อย่างชัดเจนมากเท่าที่ควร ก็ได้เห็นความพยายามที่จะจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมซึ่งก็จะมีต่างชาติเข้าไปลงทุน พม่าเองก็ต้องการเม็ดเงินการลงทุนเป็นจำนวนมาก คิดว่าถ้าเขายังปิดประเทศไก็จะอยู่ไม่ได้เช่นกัน หลังจากนั้น ประเทศต่างๆ ที่สนใจจะเข้าไปลงทุนก็มีโอกาสเป็นอย่างมาก ประเทศพม่าก็พยายามปกป้องประเทศของตนเอง เช่น มองว่าประเทศจีนจะเข้ามาหาผลประโยชน์จากการเข้ามามากเกินไป แต่จากการที่ประเทศไทยเข้าไปลงทุน เขาจะใช้สินค้าของเราค่อนข้างมาก มีบริษัทในไทยเข้าไปลงทุน 2-3 บริษัท ในส่วนการลงทุนอื่น ๆ ในอนาคตคาดว่าจะมีตามมา ในส่วนที่เรามีไฟฟ้าแล้ว เช่น โทรศัพท์มือถือ มียอดขายเจริญเติบโตเป็นอย่างมาก สำหรับรถยนต์ตอนนี้เราจะเห็นว่า การจราจรในย่างกุ้งมีความหนาแน่นพอสมควร ตรงนี้ต้องบอกว่าน่าทึ่งที่มีการปรับตัวสูงมาก
ในภาคของนักธุรกิจเอง ไม่ว่าจะตกลงกันในสถานะใดก็ตาม หากการเปลี่ยนถ่ายอำนาจประชาชน โลกก็จะมองว่า ควรจะทำอย่างไรให้ประเทศเดินต่อไปได้ ในส่วนของการลงทุน เรามองว่ากฎเกณฑ์ระเบียบต้องมีการชัดเจนในการลงทุน แต่ความชัดเจนเหล่านั้นจะมีความชัดเจนได้มากขนาดไหน ดังนั้น การลงทุนใหญ่ๆ จึงยังไม่มีใครที่จะเข้าไปลงทุน
การขึ้นมามีบทบาทของนางอองซาน ซูจี หรือ NLD ที่ผ่านมานี้ มองว่ายกระดับช่องว่างของคนรวยกับคนจน น้ำหนักเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นไปอย่างรวดเร็วแบบนี้ นางอองซาน ซูจี ควรย้อนกลับมามองดูว่าประชาชนนั้นได้ประโยชน์มากน้อยเพียงใด การลงทุนจะมีการชะลอตัวไหม จริงๆ แล้ว มีการเลือกตั้งโอนถ่ายอำนาจได้ กลับไปให้พรรคที่ชนะการเลือกตั้ง และมีการจัดตั้งคณะรัฐมนตรีให้เสร็จสิ้น เราคิดว่าไม่มีผลกับเศรษฐกิจ นักธุรกิจในพม่าเองมีการลงทุนในประเทศสิงคโปร์ ปัจจุบัน พม่าก็มีธนาคารที่เป็นของพม่าเองจำนวนมาก และก็ยังเปิดให้ธนาคารของต่างประเทศเข้าไปดำเนินธุกิจได้ และพม่ายังเป็นตัวแทนในการประสานงานสนับสนุนกับแต่ละประเทศที่เข้าไปลงทุน หรือแม้กระทั่ง ABB ก็เพิ่งมีการอนุมัติวงเงินในส่วนของพลังงาน ในการนี้เรามองเป็นนิมิตหมายที่ดี และต้องมีการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ ทาง ABB จึงเพิ่มความมั่นใจ แสดงว่าพม่าก็ต้องปรับปรุงในเรื่องระบบไฟฟ้า ด้านอื่นๆ คิดว่าน่าจะเกิดขึ้น ในส่วนตัวคิดว่าเศรษฐกิจประเทศพม่าจะมีการขยายตัวและพัฒนาเป็นอย่างมากด้านการค้าการลงทุน
สรุปการสัมมนาวิชาการ เรื่อง “การเลือกตั้ง ความหวัง และการเมืองก้าวถัดไป: จับตาประชาธิปไตยพม่าบนทางแพร่ง” Download