Search
Call Center : 0-2251-5199 E-Mail Facebook Page
Language
Thai Language English Language
Seminar, Conference, Training - Institute of Asian Studies Chulalongkorn University
การประชุมนำเสนอผลการพัฒนานโยบายเพื่อส่งเสริมการประมงที่ยั่งยืนและแก้ไขปัญหาประมง IUU และแรงงานบังคับ
การประชุมนำเสนอผลการพัฒนานโยบายเพื่อส่งเสริมการประมงที่ยั่งยืนและแก้ไขปัญหาประมง IUU และแรงงานบังคับ

ศูนย์วิจัยการย้ายถิ่นแห่งเอเชีย
(Asian Research Center for Migration)
จัดการประชุมนำเสนอผลการพัฒนานโยบายเพื่อส่งเสริมการประมงที่ยั่งยืนและแก้ไขปัญหาประมง IUU และแรงงานบังคับ
ณ ห้อง 105 อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2559 ศูนย์วิจัยการย้ายถิ่นแห่งเอเชีย
สถาบันเอเชีย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับคณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาสังคมวิทยา ศูนย์ยุโรปศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดการประชุมเสนอร่างข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อส่งเสริมการประมงที่ยั่งยืนและแก้ไขปัญหาประมง IUU แรงงานบังคับและการค้ามนุษย์ ณ ห้อง 105 อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย พลเรือเอกบงสุช สิงห์ณรงค์ หัวหน้าคณะทำงานภาคประมง ศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการประมงผิดกฎหมาย(ศปมผ.) เป็นประธานเปิดการประชุม เวลา 09.00 น. กล่าวรายงานการจัดประชุมโดย ดร.ใกล้รุ่ง อามระดิษ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการสถาบันเอเชียศึกษา และเวลา 15.00 น. พลเอกฉัตรชัย สาริกัลป์ยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เข้าร่วมการประชุมและให้ความคิดเห็นต่อที่ประชุม พลเรือเอกบงสุช สิงห์ณรงค์ หัวหน้าคณะทำงานภาคประมง ศปมผ. กล่าวว่า ที่ผ่านมาปัญหาการค้ามนุษย์ในกิจการประมงทะเลและปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงานและไร้การควบคุม ซึ่งเป็นผลกระทบต่อการค้า เศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคง ของชาติ ซึ่งล้วนแต่เป็นการดำเนินการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน ได้ถูกกำหนดเป็นวาระแห่งชาติเพื่อปราบปรามกระบวนการค้ามนุษย์ สำหรับด้านการประมงผิดกฎหมายขาดการรายงานและไร้การควบคุม หรือ IUU fishing ทางรัฐบาลได้จัดตั้งศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย หรือ ศปมผ. เพื่อเป็นหน่วยเฉพาะกิจนำโดยกองทัพเรือ และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องหลายฝ่ายเพื่อศึกษาแนวทางและกำหนดยุทธศาสตร์แก้ไขปัญหาที่เป็นสาเหตุหลักอันเสี่ยงต่อการถูกระงับการส่งออกสินค้าอาหารทะเลกับกลุ่มสหภาพยุโรป จากความพยายามและความมุ่งมั่นในการแก้ปัญหาของทุกฝ่าย ประมงไทยถือเป็นผลสำเร็จก้าวแรกที่เห็นว่าปัญหาการค้ามนุษย์ในไทยได้รับการแก้ไขให้ดีขั้นเป็นบางส่วน และต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อความยั่งยืนของภาคประมงทะเลของประเทศไทยในภูมิภาคอาเซียน ตลอดจนการขจัดการค้ามนุษย์และแรงงานบังคับในภาคประมงทะเล ให้แรงงานได้รับความคุ้มครองสิทธิตามมาตรฐานให้เป็นที่ยอมรับ ทั้งแรงงานไทยและแรงงานต่างด้าวตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติข้อ 10 ว่าด้วยการอำนวยความสะดวกให้เกิดการย้ายถิ่นที่เป็นปกติและปลอดภัย และข้อ 14 ว่าด้วยชีวิตใต้ผืนน้ำ และการแก้ปัญาการทำประมงที่ผิดกฎหมายทำลายล้างจนไม่สามารถดำรงความยั่งยืนไว้ได้ตลอดจนการทำให้ผู้ประกอบการรายย่อยสามารถเข้าถึงทรัพยากรทางน้ำได้