


เวลา: | 08.30-12.00 น. |
สถานที่: | ห้องประชุม 105 อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้จัด: | สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะจัดการสัมมนาวิชาการ เรื่อง
“ใครกุมอำนาจเมียนมา: อองซาน ซูจี หรือกองทัพ”
ในวันที่ 26 เมษายน 2559
เพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับบทบาทของรัฐบาลพลเรือนในการเมืองพม่า รวมทั้งวิเคราะห์
บทบาทและท่าทีของกลุ่มการเมืองต่างๆ โดยเฉพาะกองทัพพม่าต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง
และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง ความมั่นคงระหว่างประเทศและภูมิภาคอาเซียน
ตอบรับเข้าร่วมได้ที่ e-mail: thitikarn.p@chula.ac.th, sornplang@hotmail.com หรือตามลิงค์ด้านล่างนี้
https://docs.google.com/forms/d/1ZYDQuHelvaE9iX4qTJ4xV0xQrrjV6WMrFzdmbZMZILs/viewform
https://www.facebook.com/สถาบันเอเชียศึกษา-จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
http://www.ias.chula.ac.th/ias/th/Seminar-Detail.php?id=39
ไม่เสียค่าใช้จ่ายในการเข้าฟัง
กรุณาลงทะเบียนตอบรัรับ ภายในวันที่ 22 เมษายน 2559
หลักการและเหตุผล
เป็นที่แน่ชัดแล้วสำหรับโฉมหน้ารัฐบาลชุดใหม่ของพม่า โดยมีชื่อ อูทินจ่อ ผู้ใกล้ชิดและภักดีต่อ อองซาน ซูจี รั้งตำแหน่งประธานาธิบดี และมีเสียงของ NLD ในสภาถึง 390 เสียง หรือคิดเป็นร้อยละ 59.36 ของจำนวนผู้แทนทั้งหมด ซึ่งแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลที่เข้มข้นของ NLD ทั้งในฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร
อย่างไรก็ดี การเมืองพม่าก็ยังเต็มไปด้วยความไม่แน่นอน เพราะนอกจากการมีรัฐบาลพลเรือนครั้งแรกหลังจากที่ปกครองโดยทหารมามากกว่า 50 ปีแล้ว รัฐบาลพลเรือนที่เกิดขึ้นนี้ยังไม่ได้มีแต่ประธานาธิบดีเป็นหัวหน้าคณะเท่านั้น หากแต่ยังมี “ผู้อยู่เหนือประธานาธิบดี” กำกับอยู่อีกทีหนึ่ง ซึ่งทำให้ประเด็นการพิจารณาเกี่ยวกับสัมพันธภาพทางอำนาจที่จะเกิดขึ้นใหม่ในโครงสร้างการเมืองพม่ามีความซับซ้อนและน่าติดตามอย่างยิ่งยวด และความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวไม่เพียงสะท้อนให้เห็นในโครงสร้างทางการเมืองเท่านั้น หากแต่ยังส่งผลอย่างลึกซึ้งต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านเศรษฐกิจ และทิศทางความสัมพันธ์กับต่างประเทศในอนาคตด้วย
สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นประเด็นท้าทายยิ่งสำหรับทิศทางการเมืองพม่าในก้าวถัดไป ซึ่งเต็มไปด้วยซับซ้อนและความไม่แน่นอน ที่ต้องการความรู้และมุมมองจากฝ่ายต่างๆ ในการร่วมคิดวิเคราะห์ สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเล็งเห็นความสำคัญในการจัดสัมมนา เรื่อง “ใครกุมอำนาจเมียนมา: อองซาน ซูจีหรือกองทัพ” เพื่อพยายามทำความเข้าใจต่อพลวัตทางการเมืองและเศรษฐกิจของพม่าที่มีความสำคัญยิ่งต่อไทยในฐานะประเทศเพื่อนบ้านที่ใกล้ชิด และเป็นส่วนสำคัญยิ่งในอาเซียนในช่วงเวลาแห่งการก้าวสู่ความเป็นประชาคม
วัตถุประสงค์
1) | เพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทของรัฐบาลพลเรือนในการเมืองพม่า |
2) | เพื่อวิเคราะห์บทบาทและท่าทีของกลุ่มการเมืองต่างๆ โดยเฉพาะกองทัพพม่าต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง |
3) | เพื่ออภิปรายและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นทางด้านเศรษฐกิจ การเมืองและความมั่นคงระหว่างประเทศ รวมทั้งในภูมิภาคอาเซียน |
ประโยชน์ที่ได้รับ
ทำให้ทราบถึงเหตุการณ์และผลการเลือกตั้งในพม่าซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่ใกล้ชิดของไทย รวมทั้ง ได้รับความรู้และมุมมองอันเป็นประโยชน์จากผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ ตลอดจนผู้เชี่ยวชาญในสายวิชาการที่หลากหลายเกี่ยวกับแนวโน้มและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมือง และความมั่นคงในอนาคต
----------------------------------------------------------------------------------------------------
powerpoint - ความสัมพันธ์จีน - เมียนมา: แนวโน้มการลงทุนจากต่างประเทศ Download