


เจแปนฟาวน์เดชัน สถาบันเอเชียศึกษาและศูนย์อาเซียนศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จัดการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ
เรื่อง ความสัมพันธ์ทางธุรกิจและวัฒนธรรมญี่ปุ่น-อาเซียน
วันที่ : ๒ กันยายน ๒๕๕๘
สถานที่ : อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ ห้อง ๑๐๕
ลงทะเบียนออนไลน์ที่
https://docs.google.com/forms/d/1DgS3NYbWi7e6ht_TX5VH1k9TY59ASv0iSYr1k9sJ4BE/viewform
ส่งใบตอบรับมาที่ Email: myresearch7@gmail.com, Thitikarn.P@chula.ac.th
เบอร์โทรสาร 02-255-1124
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่คุณธิติกานต์ เบอร์โทรศัพท์ 02-218-7463-4
สามารถลงทะเบียนหน้างานได้
หลักการและเหตุผล
ศตวรรษที่ ๒๑ เป็นช่วงเวลาซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม โลกมีความเด่นชัดเรื่องพหุวัฒนธรรมมากขึ้น ขณะที่เทคโนโลยีสารสนเทศได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็วจนทำให้โลกใบนี้ให้เชื่อมโยงกันได้ในหลายๆทาง ย่อมปฏิเสธไม่ได้ว่า เส้นแบ่งระหว่างรัฐแคบลง เส้นแบ่งระหว่างรัฐบาลและกิจการเอกชนก็แคบลงไปด้วย ในเวลาเดียวกัน ความสัมพันธ์ระดับประชาชนต่อประชาชนทวีความเข้มข้นขึ้นจนกลายเป็นหัวใจทางการทูตอีกรูปแบบหนึ่ง มีการเชื่อมโยงระหว่างกันในภาคธุรกิจและวัฒนธรรมเป็นตัวนำ ความสัมพันธ์ระดับนี้มีความสำคัญมากขึ้นจนภาครัฐยังต้องให้ความสนใจ
ขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่างญี่ปุ่นและกลุ่มประเทศอาเซียนกำลังเบ่งบานโดยกินระยะเวลากว่าหลายร้อยปีและจุดสนใจตกอยู่ที่ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างรัฐต่อรัฐมากกว่าอื่นใด ความสัมพันธ์ทางธุรกิจและวัฒนธรรมได้เริ่มเติบโตขึ้นพร้อมๆกันในช่วงเวลาดังกล่าว จนทุกวันนี้ ความสัมพันธ์ทางธุรกิจและวัฒนธรรมกลับได้แสดงบทบาทสำคัญในการสร้างความร่วมมือระหว่างญี่ปุ่นและอาเซียนเฉกเช่นความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐที่มีมาอย่างยาวนาน
เนื่องจากอาเซียนกำลังหลอมรวมเป็นประชาคมเดียวกัน การเพิ่มความร่วมมือกับหุ้นส่วนในเอเชียอย่างเช่น ญี่ปุ่น จีน และเกาหลีจึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ญี่ปุ่นถือเป็นกรณีศึกษาที่ดีที่สุดในด้านความสัมพันธ์ทางธุรกิจและวัฒนธรรม ด้วยเหตุที่ญี่ปุ่นได้พัฒนาความสัมพันธ์ที่ว่ากับประชาคมแถบนี้มาอย่างยาวนานจนปฏิเสธไม่ได้ว่าวัฒนธรรมญี่ปุ่นอย่างเช่น ตัวการ์ตูนโดราเอมอน นำไปสู่การร่วมมือกันทางเศรษฐกิจ อีกทั้ง ได้ช่วยสร้างประสบการณ์ร่วมกันระหว่างชาวญี่ปุ่นและอาเซียน ดังนั้น ญี่ปุ่นจึงมีคุณูปการอย่างมากต่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของอาเซียนในฐานะที่เป็นกลุ่มประชาชาติกลุ่มหนึ่ง
ในการจัดการประชุมนานานชาติครั้งนี้ ทางผู้จัดปรารถนาอย่างยิ่งว่าข้อมูลและความรู้ที่ได้จะช่วยให้เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างญี่ปุ่นและอาเซียนในระดับที่กระจ่างชัดกว่าเดิม
๐๘.๓๐ – ๐๙.๐๐ ลงทะเบียน
๐๙.๐๐ – ๐๙.๑๐ กล่าวรายงานโดย รองศาสตราจารย์ ดร. นวลน้อย ตรีรัตน์
๐๙.๑๐ – ๐๙.๓๐ กล่าวเปิดงานโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. มรว. กัลยา ติงศภัทิย์
๐๙.๓๐ – ๑๐.๑๕ “หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างญี่ปุ่น-อาเซียนในศตวรรษที่ ๒๑”
โดย ศาสตราจารย์ ยูจิ ซูซูกิ มหาวิทยาลัย Hosei ประเทศญี่ปุ่น
๑๐.๑๕ – ๑๐.๓๐ - พักทานชา/กาแฟ -
๑๐.๓๐ – ๑๑.๓๐ “ภาคธุรกิจในความสัมพันธ์ระหว่างญี่ปุ่น-อาเซียน”
โดย ศาสตราจารย์ ดร. ตรี วิโดโด มหาวิทยาลัย Gadjahmada ประเทศอินโดนีเซีย
๑๑.๓๐ – ๑๒.๓๐ อภิปราย โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ปิติ ศรีแสงนาม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พักทานอาหารเที่ยง
๑๓.๓๐ – ๑๔.๓๐ อิทธิพลของสื่อและวัฒนธรรมในความสัมพันธ์ญี่ปุ่น-อาเซียน
โดย ศาสตราจารย์ ดร. โคอิชิ อิวาบูชิ มหาวิทยาลัย Monash
๑๔.๓๐ – ๑๔.๔๕ - พักทานชา/กาแฟ –
๑๔.๔๕ – ๑๕.๔๕ อภิปรายโดย อาจารย์สุภาพร โพธิ์แก้ว จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ตารางงาน Download
ใบตอบรับ Download