Deprecated: mysql_connect(): The mysql extension is deprecated and will be removed in the future: use mysqli or PDO instead in /var/www/vhosts/ias.chula.ac.th/httpdocs/ias/adodb5/drivers/adodb-mysql.inc.php on line 443
“หลักสูตรและการเรียน-การสอนภาษาจีนในระดับประถมศึกษา” - สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Institute of Asian Studies Chulalongkorn University)
Search
Call Center : 0-2251-5199 E-Mail Facebook Page
Language
Thai Language English Language
ผลงานวิจัย สถาบันเอเชียศึกษา
“หลักสูตรและการเรียน-การสอนภาษาจีนในระดับประถมศึกษา”
“หลักสูตรและการเรียน-การสอนภาษาจีนในระดับประถมศึกษา”
รายชื่อนักวิจัย : ดร.ทวี ธีระวงศ์เสรี
ข้อมูลเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2552
วัตถุประสงค์

รายละเอียดของโครงการ:

วัตถุประสงค์
2.1) เพื่อทราบสถานภาพปัจจุบันของหลักสูตรและการเรียน ตำราเรียน จำนวนและคุณวุฒิของครู วิธีการเรียน-การสอน คุณภาพของนักเรียนที่เรียนจบ
2.2) เพื่อทราบว่านักเรียนที่เรียนภาษาจีนจบแล้ว มีโอกาสใช้ภาษาจีนในการเรียนหรือการประกอบอาชีพต่อไปหรือไม่เพียงใด
2.3) เพื่อวิเคราะห์จุดอ่อน-จุดแข็งของระบบการศึกษาภาษาจีนในระดับประถมศึกษา เพื่อหาทางแก้ไขปรับปรุงให้ดีขึ้น
2.4) เพื่อทำข้อเสนอให้ทำการปรับปรุง (ถ้ามีจุดอ่อน) ในเรื่องระบบการบริหาร การเรียน การสอน หลักสูตร แบบเรียนหรือตำรา คุณวุฒิของครู และวิธีการเรียน-การสอนให้ดีขึ้น

บทคัดย่อ

ประเด็นคำถามที่ต้องการคำตอบ
     3.1) จำนวนโรงเรียนสอนภาษาจีนในระดับประถมศึกษามีจำนวนมากน้อยเท่าใด
     3.2) มีการสอนภาษาจีนสัปดาห์ละกี่ชั่วโมง
     3.3) มีหลักสูตรสอนภาษาจีน ภาคพิเศษหรือไม่
     3.4) บัญชีรายชื่อวิชาที่สอนของโรงเรียนต่างๆ (เฉพาะภาษาจีน)
     3.5) แบบเรียนหรือตำราที่ใช้เหมือนกันหรือไม่ และมาจากที่ใด
     3.6) คุณวุฒิของครูสอนภาษาจีน
     3.7) วิธีการสอนและอุปกรณ์การสอน
     3.8) ระยะเวลาที่ใช้สำหรับหลักสูตรภาคปกติ และภาคพิเศษ
     3.9) ความรู้ภาษาจีนที่ศึกษาจบ สามารถนำไปศึกษาต่อที่ใดได้บ้าง
     3.10) ประเด็นและข้อเสนอที่ควรปรับปรุง
วิธีวิจัย
     4.1) จัดประชุมเชิงปฏิบัติการโดยเชิญผู้แทนจากทุกโรงเรียนเข้าร่วมประชุม
     4.2) เก็บข้อมูลที่ต้องการโดยทำเป็นแบบสอบถามผ่านผู้แทนที่เข้าประชุม ส่วนที่เหลือใช้โทรศัพท์หรือส่งแบบสอบถามทาง     ไปรษณีย์
     4.3) อาจต้องเก็บข้อมูลเพิ่มเติมจากผู้บริหารหรือครูที่สอนภาษาจีนตามแบบสอบถามที่ตั้งประเด็นเพิ่มเติม
     4.4) สำรวจแบบเรียนหรือตำราเรียนที่ใช้ในโรงเรียนต่างๆ
     4.5) วิเคราะห์รายงานตามข้อเท็จจริง ระบุจุดอ่อนจุดแข็งของโรงเรียน
     4.6) เสนอข้อควรปรับปรุงเพื่อประสิทธิผลของการเรียนการสอน
     4.7) จัดสัมมนาเสนอรายงานวิจัย เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ และให้ผู้เชี่ยวชาญเรื่องภาษาและผู้บริหารการศึกษาวิจารณ์