




1. ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเงื่อนไขต่างๆ ในการที่สมาชิกประชาคมอาเซียนจะปรับตัวในการพัฒนาความร่วมมือแนวใหม่ นั่นคือ หุ้นส่วนความร่วมมือในการเพิ่มผลิตภาพของกำลังแรงงานอาเซียน สู่ตลาดแรงงานภูมิภาคที่มีประสิทธิภาพเอื้อประโยชน์ต่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปสู่การใช้ประโยชน์จากโอกาสด้านการปันผลทางประชากรให้ได้มากที่สุด
2. ศึกษาและพัฒนาแนวทางกลไกระดับปฏิบัติให้อาเซียนและประเทศสมาชิกปรับตัวในการพัฒนาความร่วมมือแนวใหม่ดังกล่าวนั้น
3. ศึกษาวิจัยแนวทางเชิงยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมและพึงปฏิบัติได้ต่อเงื่อนไขต่างๆ นั้น เพื่อให้อาเซียนและประเทศสมาชิกมีแนวทางที่จะปฏิบัติร่วมกันในการใช้ ประโยชน์จากโอกาสด้านการปันผลทางประชาคมให้ได้มากที่สุด
รายละเอียดของโครงการ:
รหัสโครงการ : RDG4810007
โครงการวิจัยการเพิ่มผลิตภาพกำลังแรงงานอาเซียน มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเงื่อนไขต่าง ๆ ในการที่สมาชิกประชาคมอาเซียนจะปรับตัวในการพัฒนาความร่วมมือแนวใหม่ นั่นคือ หุ้นส่วนความร่วมมือในการเพิ่มผลิตภาพของกำลังแรงงานอาเซียน สู่ตลาดแรงงานภูมิภาคที่มีประสิทธิภาพเอื้อประโยชน์ต่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปสู่การใช้ประโยชน์จากโอกาสด้านการปันผลทางประชากรให้ได้มากที่สุด 2) ศึกษาและพัฒนาแนวทางกลไกระดับปฏิบัติให้อาเซียนและประเทศสมาชิกปรับตัวในการพัฒนาความร่วมมือแนวใหม่ดังกล่าวนั้น และ 3) ศึกษาวิจัยแนวทางเชิงยุทธศาสตร์ที่เหมะสมและพึงปฏิบัติได้ต่อเงื่อนไขต่างๆ นั้น เพื่อให้อาเซียนและประเทศสมาชิกมีแนวทางที่จะปฏิบัติร่วมกันในการใช้ประโยชน์จากโอกาสด้านการปันผลทางประชากรให้ได้มากที่สุด ทั้งนี้ โดยใช้การพิจารณาแนวทางที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน (What is?) กับ แนวทางยุทธศาสตร์เชิงนโยบายและกลไกเงื่อนไขที่ควรจะเป็นในอนาคต (What should be?) เกี่ยวกับการที่จะทำให้อาเซียนและประเทศสมาชิกปรับตัวในการพัฒนาความร่วมมือที่เหมาะสมสู่การยกระดับผลิตภาพของกำลังแรงงานอาเซียน จากมุมมองด้านตลาดแรงงาน การเคลื่อนย้ายแรงงาน/คนทำงาน คุณภาพชีวิตในการทำงาน และบทบาทของมาตรฐานความสามารถในการทำงาน
โครงการนี้ เสนอแนวทางด้านการปรับตัวเชิงยุทธศาสตร์ด้านนโยบาย และกลไก/เงื่อนไขระดับภูมิภาคของอาเซียนและประเทศสมาชิกที่ควรจะเป็นในช่วงปี 2550-2563 จำนวน 8 ยุทธศาสตร์ คือ
1) การทำให้ตลาดแรงงานในภูมิภาคอาเซียนเป็นตลาดแรงงานที่ขยายตัว ยืดหยุ่น ด้วยกำลังแรงงานที่มีu3612 .ลิตภาพ
2) การมีนโยบายระดมทุนมนุษย์ระดับภูมิภาค
3) ความร่วมมือแบบหุ้นส่วนระดับภูมิภาคในการส่งเสริมผลิตภาพกำลังแรงงานบนฐานของการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อพัฒนากำลังแรงงานให้ได้ผลิตภาพที่ใกล้เคียงกันระหว่างชาติสมาชิก
4) ความร่วมมือแบบหุ้นส่วนในการยกระดับคุณภาพชีวิตในการทำงานของกำลังแรงงานอาเซียน
5) วิสัยทัศน์สู่การเป็นภูมิภาคแห่ง Good Practice ด้านมาตรฐานความปลอดภัยในการทำงาน
6) คุณภาพชีวิตของกำลังแรงงานที่มีส่วนร่วมในตลาดแรงงานหลังเกษียณอายุ
7) วิสัยทัศน์สู่การที่อาเซียนเป็นภูมิภาคที่ปราศจาก Worst Form of Labor ภายใน 2563 และ
8) การสร้างเสริมทัศนคติด้านการเป็นประชาอาเซียนที่มีคุณค่าของความเป็นมนุษย์ นอกจากนี้ โครงการนี้ เสนอให้กระทรวงแรงงานยกระดับบทบาททั้งในความสัมพันธ์ระดับทวิภาคีและพหุภาคี ตลอดจนการกระตุ้นรัฐมนตรีแรงงานอาเซียนในการลดช่องว่างการพัฒนากำลังแรงงานที่มีอยู่ในระดับอนุภูมิภาคและภูมิภาค
คำหลัก : ประชาคมอาเซียน, ตลาดแรงงาน, ผลิตภาพแรงงาน, สังคมสูงอายุ, แรงงานคืนถิ่น, แรงงานนอกระบบ, คุณภาพชีวิตในการทำงาน, การปันผลทางประชากร