


ผลกระทบแรงงานต่างด้าวต่อเศรษฐกิจและสังคมในประเทศไทย
ผู้ บรรยายเล่าถึงประสบการณ์การทำงานวิจัยด้านแรงงานต่างด้าวกับผลกระทบต่อ เศรษฐกิจและสังคมในประเทศไทย ซึ่งเริ่มตั้งแต่ปัญหาหรือสาเหตุสำคัญของการเข้ามาของแรงงานในไทย ปัจจัยหลักคือ ปัญหาด้านเศรษฐกิจ การว่างงาน การเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศของประเทศเพื่อนบ้าน ตามสภาวะทางเศรษฐกิจ ประการที่สอง ปัญหาทางการเมืองและสังคมซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นบนความไม่แน่นอน รวมทั้งความต้องการชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีกว่าเดิม เช่น แรงงานต่างด้าวที่หลบหนีเข้ามาในประเทศอย่างไม่ถูกต้องก็เพราะต้องการความ เป็นอยู่ที่ดีขึ้นกว่าเดิม หรือ เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศตามชายแดนที่เอื้ออำนวยต่อการเข้าออกประเทศโดย อาศัยระบบนายหน้า หรือบริษัทจัดหางานนำพาเข้ามาในประเทศ และบางพื้นที่ไม่มีเจ้าหน้าที่ดูแล ดังนั้น เพื่อให้การบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาในประเทศไทยเป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพ จึงต้องดำเนินการดังนี้
การจดทะเบียนแรงงานต่างด้าว (Registration) ซึ่งจะสามารถทำงานในประเทศไทยได้ 1 ปี แต่ปัญหาสำคัญคือ ข้อจำกัดของแรงงานต่างด้าวในกิจการบางประเภทที่ตัวแรงงานมีความยากลำบากจะ เข้ามาจดทะเบียนได้ เช่น แรงงานต่างด้าวในกิจการการประมง และหน่วยงานของรัฐมีข้อจำกัดในเรื่องของการประชาสัมพันธ์โดยใช้ภาษาของแรง งานต่างด้าวเพื่อให้แรงงานมีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการจดทะเบียนอย่างถูก ต้อง
ข้อตกลงความร่วมมือนำเข้าต่างด้าว (Memorandum of Understanding: MOU) แบบถูกต้องตามกฎหมาย 3 ประเทศด้วยกันคือ ประเทศลาว ประเทศกัมพูชา ประเทศพม่า
กระบวนการพิสูจน์สัญชาติ (National Verification: NV) เมื่อได้ใบอนุญาตแล้วสามารถทำงานได้ 2 ปี ข้อเสียคือมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง ประมาณ 7,000–8,000 บาท ปัจจุบันมีแรงงานสัญชาติพม่าที่ดำเนินการพิสูจน์สัญชาติมากที่สุด
หน่วยงานที่รับผิดชอบจะแยกตามหน้าที่รับผิดชอบต่างๆเช่น หน่วยงานที่ทำด้านการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าว นำเข้าแรงงานต่างด้าวตามข้อตกลงความร่วมมือนำเข้าต่างด้าว และการพิสูจน์สัญชาติ ได้แก่ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข หน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการออกใบอนุญาตทำงาน คือ กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน ซึ่งจะมีสำนักงานแรงงาน ประกอบด้วยศูนย์รับผิดชอบออกใบผ่อนผันอนุญาตทำงานสำหรับแรงงานต่างด้าว พร้อมทั้งมีบริการรับจดทะเบียนใบผ่อนผันอนุญาตทำงานสำหรับแรงงานต่างด้าวนอก สถานที่ด้วย หน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการตรวจสุขภาพ ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข ดูแลควบคุมเรื่องโรคติดต่อตลอดจนเรื่องของการรักษาพยาบาล หน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องของการตรวจสอบและจับกุมแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้า เมืองผิดกฎหมาย คือสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง เป็นต้น
กิจการหรืออาชีพที่อนุญาตให้แรงงานต่างด้าวทำตามที่ได้ทำข้อตกลงไว้หรือ MOU ร่วมกัน 3 สัญชาติทำ คือ ประเทศลาว ประเทศกัมพูชาและประเทศพม่า ได้แก่ กิจการประมงทะเล กิจการโรงงานอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมอาหารทะเล ได้แก่ อุตสาหกรรมแกะกุ้ง กิจการการก่อสร้าง ส่วนใหญ่แรงงานจะเป็นพม่า และกัมพูชา งานรับใช้ตามบ้านที่พบมากเป็นชาวลาวซึ่งพบมากในจังหวัดสมุทรสาคร ด้านการเกษตร ส่วนใหญ่มักจะเป็นแรงงานสัญชาติไทยใหญ่ มักพบบริเวณแนวชายแดนไทย-พม่า เช่น แนวชายแดนแม่สอด แนวชายแดนระนอง แนวชายแดนยะลา และนอกจากนี้ในปัจจุบันยังพบแรงงานต่างด้าวทำกันจำนวนมาก เช่น งานในกิจการนวดแผนโบราณ ส่วนใหญ่เป็นงานที่คนไทยไม่ทำคืองานประเภท 3 D (Dangerous, Dirty, Difficult)
ทั้งหมดนี้จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยและส่งผลกระทบต่อสังคมไทยอย่างไร สามารถแยกออกเป็นข้อดีและข้อเสีย ข้อดีก็คือ ส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจ มีการขยายตัวดี ทำให้ไม่เกิดการขาดแคลนแรงงานระดับล่าง เพราะแรงงานต่างด้าวมีราคาถูก/การจ้างงานถูก นายจ้างไม่มีภาระในเรื่องของต้นทุนการผลิต ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบของการประกันสังคม ส่วนข้อเสียแรงงานต่างด้าวทำให้การเกิดแย่งงานของคนไทย นายจ้างจะเลือกจ้างคนต่างด้าวเพราะราคาถูก ควบคุมง่าย อีกทั้งไม่เป็นภาระ บางครั้งถูกสังคมมองว่าประเทศไทยละเมิดสิทธิแรงงาน มีผลให้บางกิจการเกิดการแทรกแซงหรือถูกกล่าวหาจากประเทศตะวันตก จนทำให้การส่งออกสินค้าบางประเภทเช่น สินค้าเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ทางทะเลหยุดชะงักหรือเกิดการบอยคอตจากประเทศผู้รับ สินค้าได้
ผลกระทบของแรงงานต่างด้าวต่อสังคมไทยด้านสังคมและวัฒนธรรม มีข้อดีที่เป็นประโยชน์ในด้านของเรียนรู้วัฒนธรรมของคนชาติพันธุ์ต่างๆ คือ มีการรู้เขารู้เรากันมากขึ้น ข้อเสียคือ อาจก่อให้เกิดปัญหาต่อภัยความมั่นคง โดยเฉพาะแรงงานต่างด้าวที่ไม่มีถิ่นที่อยู่แน่ชัด สามารถแทรกซึมได้ทุกพื้นที่ จนทำให้คนไทยเกิดความหวาดกลัวและหวาดระแวงต่อคนต่างด้าวที่อยู่ในชุมชนหรือ ในสังคมไทย ปัญหาในด้านการสาธารณสุขก็คือ เกิดโรคระบาดติดต่อได้ง่าย เพราะเป็นพาหะนำโรคที่ไม่มีในประเทศไทยหรือไม่เกิดขึ้นในประเทศไทยมานานแล้ว เช่น วัณโรค เท้าช้าง โรคทางเดินหายใจ และอหิวาตกโรค ปัญหาที่พบอีกประการคือ แรงงานต่างด้าวตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์หรือบังคับแรงงานเพราะขาดความรู้ และถูกหลอกจากกระบวนการนายหน้า หรือแม้แต่แรงงานเด็ก ซึ่งตรงนี้ มีการร้องขอความช่วยเหลือจาก NGO จำนวนมาก แต่ปัญหาอยู่ที่ประเทศไทยยังมีจำนวนเจ้าหน้าที่ที่ไม่เพียงพอต่อการแก้ไข ปัญหาตรงจุดนี้
สมาน เหล่าดำรงชัย