Search
Call Center : 0-2251-5199 E-Mail Facebook Page
Language
Thai Language English Language
ผลงานเผยแพร่ บทความวิชาการ สถาบันเอเชียศึกษา
ดีลขายก๊าซธรรมชาติครั้งประวัติศาสตร์
ดีลขายก๊าซธรรมชาติครั้งประวัติศาสตร์
โดย อุกฤษฏ์ ปัทมานันท์

ดีลขายก๊าซธรรมชาติครั้งประวัติศาสตร์

                                                          อุกฤษฏ์ ปัทมานันท์

          หลังจากใช้เวลายาวนานร่วมทศวรรษ รัสเซียและจีนก็ลงนามขายก๊าซธรรมชาติต่อกัน

            21 พฤษภาคม 2557 ประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดิเมีย ปูติน (Vladimir Putin) ซึ่งอยู่ที่เมืองเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีนด้วยวัตถุประสงค์หลักคือ การเซ็นสัญญาที่ต้องใช้การต่อรองยาวนานมากในการขายและส่งก๊าซธรรมชาติรัสเซียให้กับจีน สื่อมวลชนต่างเรียกการเซ็นสัญญานี้ว่า Historic Gas Deal ตามรายงานข่าวของนิตยสาร Quartz รายงานว่า รัสเซียตกลงส่งก๊าซธรรมชาติปริมาณ 38 หมื่นล้านคิวบิกเมตรต่อปีให้กับจีนเป็นเวลา 30 ปี ในเรื่องรายได้ของรัสเซียจากการขายก๊าซธรรมชาติให้กับจีนครั้งนี้ยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่มีการประมาณกันว่ารัสเซียจะมีรายได้จากดีลการขายก๊าซครั้งนี้ประมาณ 400 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ

            ในความเห็นของผม นี่เป็นดีลประวัติศาสตร์อย่างน้อย 2 แง่มุม แง่มุมแรกเป็นแง่มุมทางเศรษฐกิจ แง่มุมที่สองเป็นแง่มุมของการเมือง

            ความมั่งคั่ง

          ตามรายงานของนิตยสาร Quartz รายงานว่า ทางการจีนต่อรองอย่างหนักในเรื่องข้อตกลงนี้ทั้งในแง่ราคา แต่ที่สำคัญกว่านั้น ข้อตกลงนี้อาจทำให้จีนสัมฤทธิ์ผลทางการเมืองภายในของตนที่เป็นทั้งปัญหาพื้นฐานและเสถียรภาพทางการเมืองที่ระยะหลังมานี้ ทางการจีนถูกแรงต่อต้านจาก เขตปกครองอิสระและประชาชนที่เป็นคนต่างเชื้อชาติจากจีนทั้งในเขตปกครองอิสระมองโกเลีย และ ซินเกียงมากขึ้นเรื่อยๆ จะด้วยสังคมที่เปิดกว้างขึ้น ทั้งการไหลบ่าของข้อมูลข่าวสาร หรือความไม่พอใจของคนต่างเชื้อชาติในเขตปกครองเหล่านี้

            ในเรื่องของราคา การเจรจาเรื่องการขายก๊าซธรรมชาติของรัสเซียให้กับจีนนี้เกิดขึ้นอย่างยาวนานมาก เพราะตกลงเรื่องราคาขายกันไม่ได้ โดยพื้นฐานแล้ว มีการคำนวณอย่างคร่าวๆว่า จีนยอมจ่ายเงิน 400 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐให้กับรัสเซีย ซึ่งก็ไม่ได้เป็นราคาที่รัฐวิสาหกิจด้านพลังงานของรัสเซีย Gazprom ตกลงขายให้กับประเทศในยุโรปอยู่แล้ว

            นี่เองที่เป็นที่มาของการวิเคราะห์ว่า รัสเซียเองกำลังสูญเสียเพื่อนๆของรัสเซียที่เป็นประเทศผู้ส่งออกก๊าซธรรมชาติเข้าไปในตลาดพลังงานยุโรป

            เรื่องการเงิน และรายได้ของรัสเซียยังไปเกี่ยวพันกับความเสี่ยงด้านการลงทุนด้านการวางท่อก๊าซธรรมชาติของรัสเซียที่จะขายให้กับจีนครั้งนี้ด้วย เพราะ ดีลนี้ยังหมายถึงแผนการก่อสร้างท่อส่งก๊าซที่ยังไม่ได้สร้างเลย การก่อสร้างจะดำเนินการในบริเวณที่ถูกขนานนามว่า “ Power of Siberia” ซึ่งรัฐวิสาหกิจพลังงานรัสเซีย   Gazprom หมายถึงเส้นทางจาก Eastern Siberia ไปยัง สถานี Yakitia Gas อันอยู่ทางตะวันออกของประเทศรัสเซีย

            ดังนั้นจึงมีการประเมินเรื่อง ต้นทุนการก่อสร้างโรงงานก๊าซธรรมชาติ ซึ่งประเมินอย่างคร่าวที่สุด ต้นทุนการก่อสร้างโรงงานก๊าซธรรมชาติอาจมีต้นทุนใกล้เคียงกับการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางเรือให้กับจีน หรืออาจจะแพงกว่า นี่ยังต้องมองถึงการวางท่อก๊าซธรรมชาติที่ต้องผ่านที่ราบสูง ทะเลทรายและเขตที่อุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติ รวมทั้งผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

            จากรายงานของนิตยสาร Quart เป็นที่สังเกตว่า บรรดานักลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ต่างครุ่นคิดด้วยความระมักระวัง ไม่เหมือนกับบรรดาสื่อมวลชนรัสเซียซึ่งต่างรายงานไปในทิศทางเดียวกัน หุ้นของ Gazprom มีโอกาสทำกำไรสูงสุดคือ เพิ่มขึ้นประมาณ 2 % ในการซื้อขายช่วงกลางวัน แต่หลังจากนั้น กำไรของหุ้น Gazprom ค่อยๆลดลงเหลือต่ำกว่า 1 %

          บางทีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหลายต่างก็รู้ดีว่า ในการเจรจาตกลงครั้งประวัติศาสตร์ด้วยมูลค่าการลงทุนอันมหาศาลนี้เกิดขึ้นระหว่างรัฐบาลรัสเซียและจีน เราต้องคำนึงถึงว่า เป็น 2 รัฐบาลที่มีความโปร่งใสน้อยที่สุดในหลายๆเรื่อง

ความ (ไม่) มั่นคง

สำหรับความ (ไม่) มั่นคงนี้ ผมคิดของผมเอง มาจากการค้นคว้าแบบคนนอกวงการทั้งการเมืองระหว่างประเทศและพลังงาน อาจจะผิดก็ได้ต้องขออภัยด้วย สำหรับ ความ(ไม่) มั่นคงนี้ด้านจะมองได้สองมิติที่มีความเชื่อมโยงและเสริมซึ่งกันและกัน

ด้านแรก ความจริงแล้ว แน่นอนว่าจีนเป็นประเทศที่มีความต้องการด้านพลังงานในรูปต่างๆอย่างมาก ไม่ว่าพลังงานจากฟอสซิล เช่น ก๊าซธรรมชาติ น้ำมัน ถ่านหิน และพลังงานทางเลือกอื่นๆเช่น พลังงานจากพืชพลังงาน ได้แก่ ปาล์มน้ำมัน  ทั้งพลังงานแสงแดน พลังงานลม แต่ด้วยความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องของจีน จีนจึงมีความต้องการพลังงานในทุกรูปแบบและจีนได้ไปลงทุนด้านพลังงานเพื่อนำพลังงานมาใช้เอง รวมทั้งทำธุรกิจพลังงานเพื่อให้รัฐวิสาหกิจพลังงานของจีนคือ China National Petroleum Cooperation (CNPC) ลงทุน มีรายได้และกำไร ดังจะเห็นได้ว่า รัฐวิสาหกิจพลังงานของจีนไปลงทุนทำเหมืองถ่านหินในหลายประเทศในอัฟริกา จีนใช้รัฐวิสาหกิจก่อสร้างเขื่อนพลังน้ำไปสร้างเขื่องผลิตกระแสไฟฟ้าทั่วโลก ในบางประเทศยุโรปด้วย แต่น่าสนใจนะครับ รัฐวิสาหกิจก่อสร้างเขื่อนพลังน้ำเข้ามาลงทุนก่อสร้างเขื่อนพลังน้ำในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นทวีป Mainland Southeast Asia มากที่สุด

ดังนั้น Power of Siberia pipeline ซึ่งจะจ่ายโรงงานผลิตก๊าซธรรมชาติและสร้างท่อก๊าซเพื่อให้ก๊าซเข้าสู่ 3 มลฑลของจีนทางตอนเหนือ คือ Heilongjian, Jilin และ Liaoning อันสามารถซับพายก๊าซธรรมชาติให้กับปักกิ่งได้

แต่ที่สำคัญไม่แพ้กันคือ ท่อก๊าซและก๊าซธรรมชาตินี้จะส่งต่อเข่าไปยังเขตมองโกเลียตอนใน (Inner Mongolia) ก๊าซธรรมชาตินี้จึงเป็นได้ทั้งเพื่อความมั่นคงด้านพลังงานของจีน และแก้ปัญหาความ(ไม่)มั่นคงจากการเคลื่อนไหวของฝ่ายต่างๆในมองโกเลียใน

ความ(ไม่) มั่นคงจากการทำดีลประวัติศาสตร์ระหว่างรัสเซียกับจีนครั้งนี้จะเห็นเมื่อมองภาพใหญ่ที่กว้างออกไป ความจริงแล้ว จีนและรัสเซียมี Altai pipeline ซึ่งดำเนินการส่งก๊าซเข้าไปยังเขตซินเกียง Xinjian อยู่แล้ว โดยเข้าโดยผ่านทะเลทราย Gurbantunggut เราควรทำความเข้าใจว่า ซินเกียงมีคนชาติพันธ์ อุยกูรย์ (Uyghur) ที่ต่อต้านทางการจีนและเพิ่งลุกฮือต่อต้านในเมืองสำคัญของจีนหลายแห่ง รวมทั้งในปักกิ่งด้วย

ซินเกียง หรือ บางคนเรียกว่า Xinjian/East Turkistan จะมั่นคงสำหรับจีนหากมองในแง่รัฐบาลจีน แต่จะไม่มั่นคงและเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อคนชาติพันธ์อื่นๆที่อาศัยอยู่ที่นั่น เพราะเมื่อการก่อสร้างท่อก๊าซไปที่ไหน การปราบปรามฝ่ายต่อต้านด้วยกำลังทหารของรัฐบาลย่อมทำไปได้พร้อมๆกัน

นี่เป็นความ(ไม่)มั่นคงของใครครับ  ?

 

ปีที่ 30 ฉบับที่ 1537 [29 ม.ค.-4 ก.พ.2553]

 

ข้อมูลเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2553
เนื้อหาบทความ