สรุปโครงการจัดอบรม เรื่อง
“การเขียนบทความเพื่อการตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ”
โดย ศาสตราจารย์ ดร. ผาสุก พงษ์ไพจิตร
วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 เวลา 13.00 – 16.00 น.
ณ ห้องประชุม 307 ชั้น 3 อาคารประชาธิปก-รำไพพรรณี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
*******************************************
การเขียนงานวิชาการเพื่อลงวารสารทั้งของไทยและต่างประเทศจะมีมาตรฐานและหลักเกณฑ์ค่อนข้างมาก มีกระบวนการพิจารณา และระยะเวลาในการตีพิมพ์ยาวนาน โดยปกติจะมีขั้นตอนดังนี้
1. บรรณาธิการตรวจสอบบทความ
2. ส่งต่อให้ผู้อ่าน โดยทั่วไปจะมีผู้อ่านอย่างน้อย 2 คน
3. ปรับแก้บทความตามที่ผู้อ่านแนะนำ ซึ่งใช้เวลามากพอสมควร
การเขียนบทความไม่ใช่เรื่องง่ายแม้แต่คนที่มีประสบการณ์ในเรื่องดังกล่าวแล้ว สิ่งสำคัญคือ เราต้อง
ยอมรับคำวิพากษ์วิจารณ์ได้ อาจจัดการสัมมนาภายในหน่วยงานก่อน เพื่อให้มีการพูดคุย แลกเปลี่ยนแง่คิด มุมมอง เสนอข้อคิดเห็น หลังจากนั้น จึงเชิญผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานภายนอกมาช่วยวิเคราะห์วิจารณ์
วารสารวิชาการให้ความสนใจที่จะตีพิมพ์ผลงานที่มีลักษณะดังต่อไปนี้
1. บทความนั้นมีคุณูปการกับทฤษฎีที่เกี่ยวโยงหรือไม่ ซึ่งถือเป็นเรื่องที่สำคัญมาก
2. มีข้อเสนอแนะที่เกี่ยวโยงกับปัญหาสำคัญ หรือจะช่วยแก้ปัญหาในด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมืองหรือไม่
3. กรณีที่จะเสนอเป็นทฤษฎีใหม่ อาจจะต้องมีหลายๆ ส่วนเข้ามาร่วมกันเปลี่ยนทฤษฎี
4. บทความนั้นมีคุณภาพหรือไม่ เขียนดีหรือไม่ อ่านง่าย ชัดเจน ครอบคลุมหรือไม่
5. ถ้าเป็นงานวิจัย ต้องมีการวางแผนที่ดี มีการทบทวนวรรณกรรม เนื้อหาต้องมีความทันสมัย บางครั้งเนื้อหาทันสมัยแต่บรรณานุกรมเก่าเกินไป กรณีใช้ methodology ทำ sampling มีการใช้หลักการที่เหมาะสมหรือไม่
6. หากเป็นงาน review ทำได้ได้ครอบคลุมหรือไม่ ชักชวนให้ผู้อ่านเกิดความคล้อยตามหรือเห็นชอบอย่างมีเหตุผลเพียงพอหรือไม่
ข้อควรระวังในการเขียนบทความที่ผู้อ่านมักไม่ค่อยให้ความสนใจ
1. อ่านบทคัดย่อแล้ว เนื้อหาไม่เกี่ยวโยงกับปัญหาในปัจจุบันซึ่งไม่มีใครสนใจหรือทำเรื่องประเด็นนี้
2. มีข้อมูลสถิติมีเพียงพอหรือไม่ ผู้อ่านบางคนอาจจะสนใจข้อมูลสถิติมากกว่าทฤษฎีก็ได้ การเขียนตีความหรือขยายความเกินเลยจากข้อมูลที่มีอยู่อาจทำให้คุณูปการลดน้อยลง
3. ขนาดตัวอย่างเล็กไปหรือไม่
4. บทความเขียนอ่านยากหรือไม่
5. มี table chart หรือ graphic มากไปหรือไม่ เช่น บทความชิ้นหนึ่งมี table 15 table และมีภาพ graphic 5 ภาพ เป็นต้น
การเขียนบทความแบ่งออกเป็น 7 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้
1. Original research คือการเขียนบทความวิจัยจากงานวิจัยที่ทำจริงๆ ซึ่งอาจเป็น primary research หรือเป็น documentary research บทความประเภทนี้ค่อนข้างยาว โดยทั่วไปจะมี 3,000 – 6,000 คำ บางบทความอาจยาวถึง 12,000 คำ
2. Review article มีความยาวประมาณ 3,000 – 5,000 คำ อาจจะไม่ต้องทำวิจัย แต่จะเป็นการ review literature ที่มีอยู่ หรือเป็นเรื่องใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นซึ่งอาจจะจำกัดเรื่องเวลา
3. Case studies เป็น real case studies คือต้องลงไปทำจริงๆ case studies ในที่นี้จะไม่มีการทำ sampling แต่ต้องมีกระบวนการในการเลือก case studies อย่างน้อย 2-3 cases หรืออาจเป็น special case studies ที่มีไม่เคยมีมาก่อน ซึ่งวารสารสายสุขภาพจะนิยม เพราะจะได้มีการอภิปรายหรือศึกษาต่อ สายสังคมศาสตร์ก็อาจจะมีบ้าง เพราะแต่ละสังคมก็ไม่เหมือนกัน
4. Essay types of article มีหลายประเภท แยกออกเป็น
4.1 แบบ perspective คือการ review concept หรือข้อวิจารณ์ในสาขาหรือในประเด็นเฉพาะ อาจเป็นการวิเคราะห์โดยไม่ได้แสดง opinion ล้วนๆ เพราะเป็นการวิเคราะห์ในหลายมุมมอง
4.2 แบบ commentary ของ essay type คือการเรียงความที่ไม่ได้มาจากการทำวิจัย โดย commentary เรื่องใดเรื่องหนึ่งที่สนใจ ที่ได้มาจากการอ่าน เช่น จากการอ่านข่าว หรือได้จากการฟังสัมมนา ซึ่งเอกสารวิชาการบางเล่มอาจมี commentary อยู่ข้างหลัง มักจะเชิญผู้ที่มีประสบการณ์เขียน commentary เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้ มีความยาวประมาณ 1,000 -1,500 คำ
4.3 แบบ opinion เป็นการแสดงความคิดเห็นของผู้เขียน เกี่ยวกับการตีความ ข้อโต้เถียงหรือความคิดเห็นเกี่ยว methodology ในการศึกษาในหัวข้อใดหัวข้อหนึ่งเริ่มจากข้อวิจารณ์และเสนอ evident ข้อมูลสนับสนุนหรือความคิดเห็นต่าง การเขียนในแบบ opinion อาจจะสั้น ประมาณ 1,000 - 2,000 คำ หรืออาจยาวกว่านี้ได้ขึ้นอยู่กับวิธีการเขียน
5. Book reviews เพื่อเสนอเนื้อหาหรือความเข้าใจของคนอ่านของหนังสือเล่มนั้น หรือเสนอข้อวิจารณ์หรือความเห็นเกี่ยวกับหนังสือที่ออกมาใหม่ ทั่วไปจะไม่ยาวมาก ประมาณ 500 – 1,000 คำ แต่ก็ขึ้นอยู่กับวารสารว่ามีการกำหนดคำหรือไม่ การเขียน book review ถือเป็นการเริ่มต้นที่ดีของนักวิจัยรุ่นใหม่ที่ยังไม่ได้เริ่มเขียนงานอะไรเพราะไม่ต้องคิดเอง เป็นงานเขียนที่ได้มาจากความเข้าใจ หรือค้นพบสิ่งที่ได้จากการอ่านทำให้คนที่มาอ่านบทความได้รู้จักและเข้าใจในหนังสือเล่มนี้ นอกจากนี้ การเขียนแบบ book review ยังเป็นการฝึกในเรื่องของการสรุปเนื้อหาใจความ และทำให้เรามีวิธีการเขียนที่กระชับมากขึ้น
6. Comparative studies เป็นการเปรียบเทียบทฤษฎีที่ใช้ หรือเปรียบเทียบข้อค้นพบแล้วมีการวิพากษ์วิจารณ์ในข้อค้นพบเหล่านั้นว่าเข้าไป modify ทฤษฎีที่ใช้หรือที่ไม่ได้พูดถึง หรืออาจทำ comparative studies ให้มีความกระจ่างในประเด็นที่ต้องการหรือที่มีคำถามให้ดีขึ้น
7. Clinical trials หมายถึงบทความวิจัยที่ได้จากการศึกษา Clinical trial control studies จากผู้ป่วยจำนวนมาก ส่วนใหญ่เป็นกรณีที่ทำงานศึกษาในผู้ป่วย อาจจะเป็น case studies ที่แตกต่างจากผู้ป่วยคนอื่นๆ อาจจะมีการจำกัดในเรื่องของอายุหรือเพศ กรณีที่แตกต่างทำให้เกิดความน่าสนใจว่าช่วย modify หรือปรับความเข้าใจต่อ disease ในทางการแพทย์อาจจะเป็นการขยายความหรือทำความเข้าใจกับผู้ป่วยต่างๆ อาจมีการเปรียบเทียบทฤษฎีที่ใช้หรือเปรียบเทียบข้อค้นพบ แล้วมีการวิพากษ์วิจารณ์ ในทฤษฎีนั้นๆ ก็ได้ ซึ่งในทางด้านสังคมศาสตร์ก็จะใช้วิธีการ control studies เช่นนี้เหมือนกัน
อย่างไรก็ตาม ข้อสำคัญที่เราควรตระหนักไว้คือ ถ้าเราจะเขียนงานวิจัยให้เป็นบทความวิชาการที่ดีต้องมี argument ข้อเสนอหรือข้อโต้เถียงของผู้เขียนเกี่ยวกับประเด็นที่นำเสนอ แนวความคิดหรือการตอบคำถาม โดยสามารถวิจารณ์หรือสนับสนุนงานของคนอื่นได้ หรือเป็นการเสนอแบบมี logic มีการอภิปราย ถ้าบทความไม่มีข้อเสนอเลย เป็นการบรรยายเรื่อยๆ ก็เป็นเรื่องที่ยากที่บทความนั้นจะได้รับการตีพิมพ์จากสำนักพิมพ์ต่างประเทศ
งานวิจัยนั้นเริ่มมาจากสิ่งที่เราสนใจและลงมือทำวิจัย แต่งานวิจัยจะมีคุณภาพหรือไม่ขึ้นอยู่กับกระบวนการ วิธีการวิจัย มีคำถามและมีประเด็นเกี่ยวกับการทำวิจัย มีการเลือกใช้ methodology ใน area ที่ศึกษาเพื่อให้ได้ข้อมูลมาประกอบ เราควรทำ review literature ก่อนเพื่อให้ได้ประเด็นและดูว่าที่เราสนใจหรือข้อคิดที่ได้ซ้ำกับคนอื่นหรือไม่ เมื่อได้ข้อมูลเรียบร้อยแล้วจึงมาเขียน research report โดยเขียนตามกรอบที่มีอย่างไรก็ตาม งานเขียนที่ได้ก็ยังไม่มีลักษณะก็เป็นบทความ
ขั้นตอนต่อไปคือ ปรับให้เป็นบทความ การปรับงานวิจัยให้เป็นบทความ เริ่มต้นจากดูว่า journal ที่มีอยู่มีความสนใจใน area ใดบ้าง แล้วมีการตีพิมพ์อะไรมาแล้ว มี debate และ currently อย่างไร โดยเราต้องจัดการกับข้อมูลที่เรามี แล้วปรับให้สอดคล้องกับความต้องการของวารสาร รวมทั้งการจัดรูปแบบของบทความว่าต้องการเขียนบทความยาวหรือสั้น ก็ต้องดูวารสารที่เหมาะกับงาน เพราะบางวารสารจำกัดจำนวนคำ
ได้อธิบายถึงตัวอย่างบทความ How to write scientific article ว่าควรมีการวางแผนเนื้อหาก่อน- หลัง เพื่อสร้างความเข้าใจ อ่านง่ายว่าคำถามที่ต้องการคำตอบนั้นคืออะไร แล้วมีข้อสรุป มีข้อค้นพบ มี argument จากงานวิจัยอย่างไรบ้าง ก่อนเขียนต้องมีการวางแผนที่ชัดเจน ผู้อ่านสามารถตามได้ มีการวาง outline ทั่วไปเริ่มจาก
1. introduction ที่มี argument
2. เนื้อหาประกอบด้วยข้อเสนอหรือข้อมูล โดยต้องอธิบาย methodology
3. การอภิปราย
4. สรุปผลการวิจัย
บางคนอาจจะเริ่มที่ข้อสรุปก่อนหรือเริ่มจากเขียนผลการวิจัย และมี introduction ที่ชัดเจนว่าจะเขียนอะไร สำหรับคนที่ไม่มีประสบการณ์ ก็ต้องมีการพูดคุยกับผู้ร่วมงานหรืออาจจะมีการจัดสัมมนากันวงใน เมื่อวางแผนว่าจะเสนอข้อโต้เถียงอย่างไรหรือหากมี content อาจจะเริ่มเป็น draft ไว้ เมื่อมีข้อมูลหรือแนวคิดที่ต้องการเสนออะไรมาเขียนไว้ แล้วก็มาปรับให้เป็นบทความที่สมบูรณ์
อีกเรื่องหนึ่งที่ถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญของการเขียนงานวิจัย คนไทยส่วนใหญ่ไม่ให้เกียรติงานของคนอื่น หรือละเลยการให้เกียรติงานของคนอื่น และไม่มีการอ้างผลงานของใคร เมื่อต้องกล่าวอ้างงานของคนอื่นในส่วนของ references หากมีการใช้ถ้อยคำที่มาจากคนอื่นโดยตรง ควรใส่ไว้ในเครื่องหมายคำพูดและต้องบอกเลขหน้าที่มาของบทความหรือหนังสือเล่มนั้นด้วย บางคนใส่อาจจะไม่มีหน้า แต่บางคนนำมาทั้งประโยคเขียนจนเหมือนกับเป็นผลงานของตัวเอง โดยไม่ได้เขียนบอกที่มาเลยซึ่งต่างประเทศ เรียกว่า plagiarism ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่มีความผิดมากๆ
วารสารต่างประเทศที่เปิดรับบทความเกี่ยวกับ Southeast Asia มีค่อนข้างมาก เช่น
1. Journal of Southeast Asian Studies ของ Kyoto University ซึ่งเปิดรับบทความบ่อยและค่อนข้างเปิดกว้าง มี peer review
2. Asian bulletin ของ Singapore จะกว้างและเน้นด้าน Economic Politics
3. Sojourn จะเน้นด้าน Culture ไม่เน้นด้าน Economics
4. International Labour Review ของ Geneva จะเน้นเรื่องเกี่ยวกับผู้หญิง
5. Journal of Asian Business อยู่ที่ USA
6. Journal of Contemporary Southeast Asia จะเน้นเรื่อง Political Economy
7. Modern Asian Studies ที่ Cambridge เน้นเรื่อง Historical Cultural Issues ใหม่ๆ หรือที่เกี่ยวกับ Migration ก็ได้
8. The Developing Economies ที่ Tokyo จะเป็นด้าน Economics และมี Statics ด้วย
9. Asian Survey เน้นเกี่ยวกับ Politics
10. Pacific Affairs เน้นเกี่ยวกับ Politics
สรุปโครงการ Download