Search
Call Center : 0-2251-5199 E-Mail Facebook Page
Language
Thai Language English Language
โครงการสื่อสิ่งพิมพ์
อาเซียน สิ่งมหัศจรรย์ ผู้สร้างสรรค์สันติภาพ THE ASEAN MIRACLE A CATALYST FOR PEACE
ชื่อหนังสือ
อาเซียน สิ่งมหัศจรรย์ ผู้สร้างสรรค์สันติภาพ THE ASEAN MIRACLE A CATALYST FOR PEACE
ผู้แต่ง
Kishore Mahbubani and Jeffery Sng (ผู้เขียน) ธีระ นุชเปี่ยม และ ประพิน นุชเปี่ยม (ผู้แปล)
ปีที่พิมพ์
2561
ราคา
350 บาท

อาเซียน สิ่งมหัศจรรย์ ผู้สร้างสรรค์สันติภาพ THE ASEAN MIRACLE A CATALYST FOR PEACE

Kishore Mahbubani and Jeffery Sng (ผู้เขียน)

ธีระ นุชเปี่ยม และ ประพิน นุชเปี่ยม (ผู้แปล)

จำนวนหน้า 460 หน้า

ราคา 350 บาท ลดอีก 10% เมื่อสั่งซื้อที่ สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาฯ 02-2187411

สนับสนุนการแปลโดย มูลนิธิลีแห่งสิงคโปร์ (Lee Foundation of Singapore)

กิตติกรรมประกาศ

เราทั้ง 2 คนโชคดีที่เราสามารถมีโอกาสได้สัมภาษณ์นักสังเกตการณ์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 2 คนผู้มีความ

ลุ่มลึกและแหลมคมก่อนที่เขาทั้งสองจะจากโลกนี้ไปเมื่อเดือนสิงหาคม 2016 และเดือนธันวาคม2015

ตามลำดับ คนแรกคืออดีตประธานาธิบดีสิงคโปร์ นาย เอส. อาร์.นาธาน (S. R. Nathan) จริงๆ แล้ว

บุคคลผู้นี้ร่วมปรากฏในกรุงเทพฯ เมื่อมีการลงนามในปฏิญญากรุงเทพฯ (Bangkok Declaration)

เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1967 และมีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงในการเจรจาเกี่ยว กับการจัดทำเอกสารนี้ บุคคล

ที่สองเป็นนักวิชาการที่โดดเด่นในด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ ดร. เบน แอนเดอร์สัน

(Ben Anderson) เจฟฟรีย์เป็นผู้ที่รู้จักกับเบนเป็นอย่างดีเมื่อเขาศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัย
คอร์แนล (Cornell University) น้อยคนนักที่จะเทียบเทียมเบนได้ ในแง่ความลุ่มลึกและแหลมคม

ที่เขาได้แบ่งปันให้แก่โลกในผลงานคลาสสิกเรื่อง Imagined Communities: Reflections on

the Origins and Spread of Nationalism

คำนำผู้แปล
เมื่อได้รับการติดต่อจาก NUS Press ว่าทางสถาบันเอเชียศึกษา สนใจที่จะแปล The ASEAN Miracle:

A Catalyst for Peace เขียนโดย Kishore Mahbubani and Jeffery Sng โดยหนังสือเล่มนี้

เขียนขึ้นใน โอกาสครบรอบ 50 ปีอาเซียน และมีโครงการที่จะแปลเป็นภาษาต่างๆ ของสมาชิกอาเซียน

ทางสถาบันเอเชียได้ติดต่อผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธีระ นุชเปี่ยม นักวิชาการทางด้านประวัติศาสตร์และ

เป็นที่ปรึกษา ของศูนย์แม่โขงศึกษาของสถาบันเอเชีย ท่านอาจารย์ธีระมีความยินดีที่จะแปลเป็นอย่างยิ่ง

เพราะหนังสือเล่มนี้เขียนโดยผู้ที่มีความรู้ และมีประสบการณ์ตรงในการผลักดันความสัมพันธ์และความร่วมมือใน

อาเซียนที่สำคัญคนหนึ่ง ทางสถาบันลีกวนยู ได้ช่วยสนับสนุนทางการเงินในการจัดแปลผู้เขียนเริ่มต้นบทแรก

ด้วยคำถามที่ว่า เหตุใดเอเซียตะวันออกเฉียงใต้จึงเป็นภูมิภาคที่มีความหลากหลายมากที่สุด ผู้อ่านจะได้รับ
คำอธิบายย้อนกลับไปถึงรากฐานทางวัฒนธรรมของภูมิภาคอาเซียน ที่ดำรงอยู่อย่างยาวนานจนถึงทุกวันนี้

และอาจจะกล่าวได้ว่า เป็นแหล่งรวมอารยธรรมของโลก ไม่ว่าจะเป็น อินเดีย จีน อิสลาม และตะวันตก

อาเซียนสามารถจัดการกับการผสมผสานความแตกต่างทางวัฒนธรรมได้เป็นอย่างดีภูมิภาคหนึ่ง จึงทำให้

ภูมิภาคนี้สามารถดำรงความหลากหลาย

คำนำ
เวลาเกือบ 6 ทศวรรษแห่งมิตรภาพระหว่างเจฟฟรีย์และข้าพเจ้าผ่านไปกว่าที่ในที่สุดจะได้ร่วมกันผลิตหนังสือ

เล่มหนึ่งขึ้นมา นอกจากนั้น ยังต้องใช้เวลาเกือบ 6 ทศวรรษเช่นเดียวกันของการดำรงชีวิตอยู่ในเอเชียตะวัน

ออกเฉียงกว่าที่เราจะเข้าถึงส่วนลึกของภูมิภาคนี้ในเชิงอารยธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นมุมของโลกใบนี้

ที่มีความหลากหลายที่สุด ไม่มีภูมิภาคใดที่มีลักษณะแม้กระทั่งจะใกล้เคียง ดังนั้นจึงเป็นภูมิภาคแห่งหนึ่งซึ่ง

ยากจะเข้าใจและบรรยายออกมาได้อย่างดี โชคดีที่เจฟฟรีย์และข้าพเจ้ามีโอกาสดีที่ได้ทำความรู้จักกับสังคม

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้หลายแห่งเป็นอย่างดีเราทั้งสองคนเกิดและเติบโตในสิงคโปร์ ซึ่งเป็นรัฐที่มีประชากร
ส่วนใหญ่เป็นคนเชื้อสายจีน เรารู้จักกันเมื่อตอนที่เราเป็นเด็ก เพราะเราต่างก็อยู่ในเขตยากจนของถนนโอนัน

(Onan Road) เจฟฟรีย์เป็นคนเชื้อสายจีนฮกเกี้ยน/แคะ (Hokkien/Hakka) ส่วนข้าพเจ้าเป็นคนอินเดีย

เชื้อสายสินธี (Sindhi) กระนั้นก็ตามเราทั้งสองคนได้เรียนภาษามาเลย์ในโรงเรียน ซึ่งเป็นภาษาของประชากร

ส่วนมากของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

จัดพิมพ์โดย สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อาคารประชาธิปก-รำาไพพรรณี ชั้น 7 ถนนพญาไท
กรุงเทพฯ 10330
โทร. 0-2251-5199, 0-2218-7464-5 โทรสาร. 0-2255-1124
 

ตัวอย่างหนังสือ
ช่องทางการจัดจำหน่าย

ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ติดต่อ : 0-2218-7000, 0-2255-4433 และ http://www.chulabook.com