“นิทานคุณธรรม” ของสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นหนังสือส่งเสริมคุณธรรมในรูปแบบการ์ตูนนิทานที่แปลเรียบเรียงจากภาษาจีน โดย ศ.ดร.เขียน – นิทัศน์ ธีระวิทย์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำไปบริจาคให้แก่ห้องสมุดโรงเรียนและโรงพยาบาลของรัฐ
โครงการส่งเสริมคุณธรรม
สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
1.หลักการและเหตุผล
1.1 สังคมใดมีคนไร้คุณธรรมมาก สังคมนั้นย่อมปราศจากความสงบเรียบร้อย
1.2 คนไทยที่ไร้คุณธรรมมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นในสังคมไทยจึงมีอาชญากรรมในรูปแบบ ต่างๆ รวมทั้งการก่อการร้ายทางกายและจิตใจ (แสดงให้เห็นผ่านสื่อมวลชน) เพิ่มขึ้นอย่างมากมายและรวดเร็ว
1.3 ภัยคุกคามความสงบเรียบร้อยเช่นนี้ ปัจจุบันเรามัวแต่สาละวนแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ไม่ได้แก้ที่ต้นเหตุ ไม่มีมาตรการที่เหมาะสมในการสร้างภูมิคุ้มกันสังคมอย่างเพียงพอ โรงเรียนและสื่อมวลชนขาดความสนใจในการปลูกฝังจิตใจให้คนมีคุณธรรม
1.4 ถ้าเรายังคงเดินหลงทางเช่นนี้ต่อไป เราจะมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินลดน้อยลง แม้ประเทศจะมีผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GNP) โตขึ้นสักเท่าใด แต่ประชาชนจะมีความสุขมวลรวมแห่งชาติ (GNH) ลดน้อยลง
1.5 ณ วันนี้ ประชาชนคนไทยคงจะมีความเห็นสอดคล้องต้องกันว่าเราบอบช้ำกันมามากแล้ว ถึงเวลาที่เราจะต้องร่วมแรงร่วมใจกันหามาตรการที่เหมาะสมพัฒนาสังคมไทยให้มี ความสงบสุขมากขึ้น การลงทุนที่ประหยัดที่สุด ได้ผลคุ้มค่าที่สุด และทุกคนได้ประโยชน์ร่วมกันคือ การปลูกฝังจิตใจให้คนมีคุณธรรม อันเป็นมาตรการระยะยาวที่จะต้องเริ่มตั้งแต่เยาวชนทุกหมู่เหล่าที่กำลัง เรียนอยู่ในโรงเรียนระดับชั้นประถม มัธยม และอาชีวศึกษา
2. วัตถุประสงค์ของโครงการ
2.1 ในเบื้องต้น ช่วยส่งเสริมให้เยาวชนไทยมีคุณธรรมมากขึ้น โดยการผลิตหนังสือนิทานคุณธรรมที่อ่านสนุกๆ ให้อ่านกันฟรีๆ หรือซื้อหาไว้ในราคาถูก
2.2 มุ่งหมายจะใช้วิธีการ “ตัดไฟแต่ต้นลม” โดยปลูกฝังให้คนไทย (โดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชน) ซึมซาบคุณธรรมในด้านต่างๆ จากนิทานซึ่งจะทำให้พวกเขาคิด-พูด-ทำ ในสิ่งที่สอดคล้องกับคนมีคุณธรรมในนิทาน
2.3 ช่วยกระตุ้นให้ภาครัฐและภาคเอกชนร่วมมือกันพัฒนาคนให้มีคุณธรรมมากขึ้นโดย ให้โรงเรียนและสื่อมวลชนจัดสรรงบประมาณ ทรัพยากรและเวลาให้แก่กิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมด้านต่างๆ อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น
2.4 ในอนาคต ถ้าเราลงทุนไปในทาง “ตัดไฟแต่ต้นลม” มากขึ้น สังคมไทยน่าจะมีความสงบสุขเพิ่มขึ้น อาชญากรรมจะลดน้อยลง งบประมาณและทรัพยากรที่จะต้องนำไปใช้ไปในการรักษาความสงบเรียบร้อย (ตำรวจ, ทหาร, อัยการ, ศาล, เรือนจำ ฯลฯ) จะลดน้อยลงไปด้วย
2.5 ในระยะยาว สังคมไทยน่าจะมีศักยภาพก้าวทันโลก มีความสุขมวลรวมแห่งชาติในอัตราส่วนสูงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
3. วิธีการดำเนินงาน
3.1 ผลิตหนังสือนิทานสนุกๆ แต่แฝงคำสอนคุณธรรมในด้านต่างๆ (ความเพียร, กิริยามารยาท, ความซื่อสัตย์, เชาวน์และไหวพริบ, พึ่งตนเอง, ใฝ่รู้-ฟังคำแนะนำ, ความโลภ-ความพอเพียง, ความเสียสละและความเที่ยงธรรม, ความสามัคคี, ความกตัญญู) มีภาพประกอบชวนอ่าน ให้ผู้อ่านซึมซาบเข้าไปในจิตใจโดยอัตโนมัติ
สถาบันเอเชียศึกษาจะทำพิธีเปิดตัวแนะนำหนังสือ โดยเชิญชวนบุคคล สำนักพิมพ์ที่ผลิตหนังสือประเภทเดียวกันมาประชุมช่วยกันรณรงค์ และทำให้การส่งเสริมคุณธรรมเป็นวาระแห่งชาติตลอด 5-10 ปีข้างหน้า
3.2 เผยแพร่ในวงกว้าง โดยอาศัยสื่อมวลชนที่มีนโยบายส่งเสริมคุณธรรมในหมู่คนไทยให้ช่วยประชาสัมพันธ์
3.3 เสนอแนะให้กระทรวงศึกษาธิการส่งเสริมการอบรมบ่มเพาะคุณธรรมในหมู่เยาวชนมาก ขึ้น เช่น กำหนดให้โรงเรียนต่างๆ ใช้เป็นหนังสืออ่านประกอบการเรียนการสอน เป็นต้น
3.4 ในเบื้องต้นนี้ เราจะพิมพ์นิทานคุณธรรมเป็น 2 ประเภท ประเภทหนึ่งวางตลาดจำหน่ายทั่วไปเหมือนหนังสืออ่านเล่นธรรมดา อีกประเภทหนึ่งจะพิมพ์แจกให้แก่ห้องสมุดของโรงเรียนชั้นประถม-มัธยม โรงเรียนอาชีวศึกษา และโรงพยาบาลของรัฐทั่วประเทศแห่งละ 1 เล่ม ประเภทหลังนี้จะต้องหาเงินบริจาคตามที่ปรากฏในงบประมาณ ข้อ 6
3.5 หนังสือที่จะเผยแพร่ตามโครงการนี้ มิได้หวังผลกำไรแต่ประการใด
4. ระยะเวลาทำงาน
4.1 หนังสือนิทานคุณธรรมที่พิมพ์ออกมาตามโครงการนี้ มี 9 หมวด รวม 60 บท แต่ละหมวดแต่ละบทมีภาพประกอบที่สอดคล้องกับสาระของแต่ละเรื่อง ใช้เวลาแปลเรียบเรียงจากภาษาจีน เขียนภาพประกอบ จัดรูปเล่ม เพิ่มงานด้านศิลปะ ประมาณ 2 ปี จากเดือนสิงหาคม 2553 ถึงเดือนสิงหาคม 2555
4.2 งานพิมพ์ครั้งแรก 5,000 เล่ม เพื่อจำหน่าย แจกจ่าย และเป็นตัวอย่างในการหาทุนบริจาค ใช้เวลาเดือนเศษจาก 15 สิงหาคม ถึง 25 กันยายน 2555
4.3 งานหาทุนเพื่อพิมพ์ แจกห้องสมุดโรงเรียนและโรงพยาบาล 37,500 เล่ม ใช้เวลา 6 เดือน จากวันที่ 1 ตุลาคม 2555 ถึง 31 มีนาคม 2556
4.4 งานพิมพ์ครั้งที่ 2 จำนวนเท่ากับจำนวนเงินที่รับบริจาค ใช้เวลา 4 เดือน จากวันที่ 1 เมษายน ถึง 31 กรกฎาคม 2556
4.5 งานส่งมอบหนังสือเป็นอภินันทนาการใช้เวลา 7 เดือน จากวันที่ 1 มิถุนายน ถึง 31 ธันวาคม 2556
5. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
5.1 โครงการเผยแพร่นิทานคุณธรรมเรื่องนี้จะสามารถเข้าถึงเยาวชนทุกเพศทุกวัย โดยอาศัยนิทานสนุกๆ เป็นสื่อ เป็นงานเสริมสิ่งพิมพ์ธรรมะซึ่งคนพิมพ์แจกเป็นของขวัญกันมาก แต่เยาวชนไม่ค่อยอ่านกัน
5.2 โครงการนี้จะพยายามเชิญชวนสื่อมวลชนเข้ามามีส่วนร่วมด้วย ถ้าสื่อมวลชนถือเป็นพันธกิจเพียงเล็กน้อย โดยแทรกเรื่องคุณธรรมเข้าไปในการเสนอข่าวหรือการวิเคราะห์ข่าว จัดกิจกรรมส่งเสริมคนดีมีคุณธรรมเพิ่มขึ้น เป็นการให้การศึกษานอกระบบโรงเรียน ถ้ารัฐบาลโดยเฉพาะอย่างยิ่งกระทรวงศึกษาธิการส่งเสริมจะเห็นผลชัดเจนและรวด เร็วยิ่งขึ้น ในที่สุด เราจะเห็นพฤติกรรมของคนในทางดีเพิ่มมากขึ้น
5.3 คาดว่าความสงบเรียบร้อยของสังคมจะค่อยๆ ปรากฏชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ จะมีผลทำให้มลภาวะเป็นพิษทางสื่อมวลชนที่บุกรุกเข้าไปทำลายความสงบสุขของคน ในครอบครัวลดน้อยลง ความสุขมวลรวมของประชาชนจะเพิ่มมากขึ้น
5.4 ในระยะยาว งานปราบปรามและกระบวนการยุติธรรมจะลดน้อยลง งบประมาณ-บุคลากร-องค์กรรักษาความสงบเรียบร้อยของตำรวจ-อัยการ-ศาล-เรือนจำ ก็คงจะลดน้อยลงได้
5.5 คนที่ยึดถือคุณธรรม 9 ประการ ดังที่กล่าวใน 3.1 นั้น ในการดำรงชีพย่อมมีความสุขมากขึ้น สังคมโดยรวมก็จะมีพลังพัฒนา ในทางสร้างสรรค์มากขึ้น และพลังอำนาจแห่งชาติในการแข่งขันก็จะมีมากขึ้น ซึ่งจะเป็นหลักประกันความมั่นคงของชาติในระยะยาว
ผู้ประสานงานโครงการ
นายสุรพล ชุ่มชูจันทร์
สถาบันเอเชียศึกษา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
โทรศัพท์ : 086-7854090, 02-2187464
โทรสาร: 02-2551124
E-mail : surapol.ch@chula.ac.th
ศาสตราจารย์ ดร.เขียน ธีระวิทย์
Khien Theeravit <khien.t@chula.ac.th>
http://www.thaiworld.org/story/60tales.php
ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ติดต่อ : 0-2218-7000, 0-2255-4433 และ http://www.chulabook.com