


ประสบการณ์การวิจัยแรงงานเวียดนามในมาเลเซีย
ผู้ บรรยายได้ถ่ายทอดประสบการณ์ของการทำวิจัยในพื้นที่ประเทศมาเลเซียเกี่ยวกับ แรงงานเวียดนามในมาเลเซียเป็นเวลา 10.5 เดือน โดยได้รับทุนจาก Asian Public Intellectuals Fellowships Program (API)/Nippon Foundation ในระหว่างการดำเนินการวิจัยผู้บรรยายได้รับการต้อนรับและอำนวยความสะดวกจาก Universiti Kebangsaan Malaysia อีกทั้งมีโอกาสบรรยายแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับแรงงานเวียดนาม ประเด็นบางประเด็นด้านการเมือง เศรษฐกิจ การระหว่างประเทศของเวียดนาม และของอนุภาคลุ่มน้ำโขงให้กับนักศึกษาปริญญาโทและปริญญาเอกของ UKM หลายวาระ อีกทั้ง Monash University ในมาเลเซียด้วยเช่นกัน
ผู้บรรยายได้เรียนรู้ประสบการณ์หลายหลายจากการพำนักอาศัยอยู่ในมาเลเซีย นอกเหนือจากข้อมูลด้านการวิจัยแล้ว ยังได้ประจักษ์ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี มีการวางระบบ Infrastructure และวางระบบเรื่องการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำที่ดี สภาพบ้านเรือนที่อยู่อาศัยในพื้นที่ห่างไกลจากเมืองใหญ่ ความยากจนในมาเลเซีย วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในสังคมมาเลย์ โดยเฉพาะความแตกต่างระหว่างคนมาเลย์และคนจีน ความเคร่งครัดในเรื่องของศาสนาของชาวมุสลิมมาเลย์ ความแตกต่างของชาวมุสลิมระหว่างชาวมุสลิมมาเลย์และชาวมุสลิมในส่วนอื่น ๆ ของโลก เช่น ในอินโดนีเซีย ในแอฟริกาเหนือ ทั้งนี้ เป็นเพียงข้อสังเกตเท่านั้น ยิ่งกว่านั้น ผู้บรรยายยังได้ถ่ายทอดแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการใช้ชีวิตในมาเลเซียในสังคม มุสลิมมาเลย์ที่มีประเพณีปฏิบัติต่างไปจากสังคมพุทธ แม้ว่าจะเป็นช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ทั้งนี้ผู้บรรยายได้ใช้ชีวิตอยู่ในเมือง Bangi ในชุมชนมุสลิม
นอกจากนี้ ยังพบว่า ในสังคมมาเลเซีย ยังมีปัญหาการก่ออาชญากรรม ปัญหาการค้ามนุษย์ด้วย
ในเรื่องเกี่ยวกับแรงงานต่างด้าว ผู้บรรยายสังเกตเห็นว่า แรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศมาเลเซียจะมีหลากหลายสัญชาติและมี อาชีพแตกต่างกันไป เช่น ชาวมาเลเซียเชื้อสายอินเดียประกอบอาชีพขับรถแท็กซี่ หรือ แรงงานชาวเนปาล/บังคลาเทศที่เข้ามาในประเทศมักประกอบอาชีพเกี่ยวกับงานใช้ แรงงาน ขุดดิน ทำความสะอาด และส่วนใหญ่มักมีรายได้น้อย แรงงานหญิงชาวอินโดนีเซียทำงานเป็นแม่บ้าน นอกจากนี้ ทั้งแรงงานชาวเวียดนามและแรงงานต่างด้าวทั่วไปในมาเลเซียจำนวนไม่น้อย ประสบปัญหาหลายประการในมาเลเซีย เช่น การไร้ซึ่งการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ สวัสดิการและสวัสดิภาพ ความปลอดภัยในระหว่างทำงาน การถูกลิดรอนสิทธิของแรงงาน ปัญหาการถูกเอารัดเอาเปรียบจากนายจ้าง การทำงานโดยไม่มีใบอนุญาตการทำงาน เป็นต้น
ผู้บรรยายได้ให้คำแนะนำสำหรับนักวิจัยที่ต้องลงพื้นที่ทำวิจัยหรือเก็บ ข้อมูลในประเทศต่าง ๆ ด้วยว่า ควรทำความเข้าใจและหาความรู้เกี่ยวกับสังคมวัฒนธรรม ชีวิตความเป็นอยู่ ความเชื่อ ศาสนา สภาพสังคม ความปลอดภัยในสังคมในประเทศนั้น ๆ ก่อนที่จะเดินทางไปดำเนินการวิจัย
ดร. ธัญญาทิพย์ ศรีพนา